Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72276
Title: | การศึกษากิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ของพยาบาลประจำการระดับวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | A study of nursing activities of professional staff nurses concerning health promotion, disease prevention, curative and rehabilitation of patients in hospital and medical center, Northeastern region |
Authors: | สุชาดา เสตพันธ์ |
Advisors: | ประนอม โอทกานนท์ ประพิม ศุภศันสนีย์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Prapim.S@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) การพยาบาล -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โรงพยาบาล -- บริการส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) Nurses -- Thailand, Northeastern Nursings -- Thailand, Northeastern Hospitals -- Health promotion services -- Thailand, Northeastern |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ของพยาบาลประจำการระดับวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอย่างประชากรคือพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรม อายุรกรรม สูติ-นรีเวชกรรม และกุมารเวชกรรม ของโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยกำหนดจำนวนพยาบาลร้อยละ 50 ในแต่ละแผนกของแต่ละโรงพยาบาล ทำการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ได้จำนวนตัวอย่างประชากร 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลตรวจสอบความตรงเชิงประจักษ์ ค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาอัตราส่วนร้อยละ และตรวจสอบความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi - squre) ปรากฏผลดังนี้คือ 1. การปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยของพยาบาลประจำการระดับวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ พยาบาลส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเรื่องต่าง ๆ ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และพยาบาลจำนวนมากที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลในเรื่อง "การดูแลความสะอาดปากและฟันของผู้ป่วย" "การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตนขณะอยู่โรงพยาบาล" "การให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกในวิถีทางที่เหมาะสม" ด้านการป้องกันโรค พยาบาลจำนวนมากที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเรื่อง "การกระตุ้นและชักจูงให้ผู้ป่วยและญาติร่วมมือปฏิบัติอย่างถูกต้องในเรื่อง "การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการทำลายเชื้อ " และพยาบาลจำนวนน้อยที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเรื่อง "การมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ" ด้านการรักษาพยาบาล พยาบาลจำนวนมากที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเรื่อง "การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากผู้ป่วยอย่างมีระบบ" และพยาบาลจำนวนน้อยที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล เรื่อง "การวางแผนการพยาบาลตามลำดับความสำคัญของปัญหา" ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย พยาบาลจำนวนมากที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล เรื่อง "การกระตุ้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน" และพยาบาลจำนวนน้อยที่สุดปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเรื่อง "การจัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้ป่วยได้แสดงความสามารถและความถนัดให้ปรากฎแก่คนทั่วไป" 2. การปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ของพยาบาลประจำการระดับวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ทำงาน และแผนกที่ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งสนองสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ที่กล่าวว่า "การปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยของพยาบาลประจำการระดับวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ทำงานและแผนกที่ปฏิบัติงาน" 3. ปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการรักษาพยาบาล คือปริมาณผู้ป่วยมาก ปริมาณงานมาก และขาดบุคลากร ปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการป้องกันโรค คือพยาบาลไม่เข้าใจวิธีการสร้างมาตรฐานการพยาบาล" ส่วนปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย คือพยาบาลขาดความรู้ ความชำนาญทางการสอนและจัดกิจกรรมบำบัดให้แก่ผู้ป่วย" |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the nursing activities in health promotion, disease prevention, curative and rehabilitation aspects. The samples of this study were ninety staff-nurse from surgical, medical, obstetric and pediatric departments of four hospital and medical center in the northeastern region. They were selected by simple random sampling techniques. The instrument for data gathering was a structure interview developed by the researcher. The face validity and the reliability were carried out. The reliability equals to .89 the data were analyzed by using percentage and chi-Square. The major findings: 1. Nursing activities of the professional staff-nurses concerning health promotion, disease prevention, curative and rehabilitation of the patients. In health promotion aspect, most of the professional staff-nurses performed three activities namely improving the patient's oral hygiene, enlightment the patients for their daily activities and appropriate emotional expression. In disease control aspect, most of the professional staff-nurses performed activity in "encouraging the patients and their relatives to participate in nosocomial infection control". The minimal number of the professional staff-nurses performed activity in "participation in establishing nursing standard for the patients with infectious diseases". In curative aspect, most of the professional staff-nurses performed activity in "Systematic data collection". The minimal number of the professional staff-nurses performed activity in "planning the nursing care through setting the patient's needs priority". In rehabilitation aspect, most of professional staff-nurses performed activity in "motivate the patients to perform their daily activities". The minimal number of the professional staff-nurses performed activity in "encouragement of the patient potentiality". 2. There was no statistical significant relationship at the level of 0.05 between nursing activities namely health promotion, disease control, curative and rehabilitation aspects with their working experiences and their working department. 3. The problems listed in the health promotion and curative aspects were "the large number of patients" and "the shortage of personnel". In addition, the problem in aspect of disease control was "insufficient knowledge to establish nursing standard”. While, in the aspect of rehabilitation, the problem was "incompetency in providing the occupational therapy". |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72276 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.131 |
ISBN: | 9745673307 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.131 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchada_se_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 917.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 831.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchada_se_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.