Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72293
Title: ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในพยางค์เสียงหนักและพยางค์เสียงเบาในภาษาเวียดนาม
Other Titles: Acoustic characteristics of tones in vietnamese stressed and unstressed syllables
Authors: เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Theraphan.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาเวียดนาม -- เสียงวรรณยุกต์
ภาษาเวียดนาม -- สัทศาสตร์
ภาษาเวียดนาม -- การใช้ภาษา
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในภาษาเวียดนามอันเนื่องมาจากอิทธิพลของการลงเสียงหนักเบา 3 ลักษณะ คือ รูปลักษณ์เชิงกลของค่าความถี่มูลฐาน ( Fo curve ) พิสัยค่าความถี่มูลฐาน ( Fo range ) และค่าระยะเวลา ( Duration ) ของวรรณยุกต์ในพยางค์ไม่กัก 6 หน่วยเสียงและในพยางค์กัก 2 หน่วยเสียงจำนวน 2,400 คำทดสอบโดยปรากฏในกรอบประโยคทดสอบ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการบันทึกเสียงของผู้บอกภาษาซึ่งเป็นชาวเวียดนามถิ่นเหนือจำนวน 10 คน การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลกระทำโดยโปรแกรม WinCECIL, Microsoft Excel Version 5.0a และ SPSS for Windows ผลจากการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์แสดงให้เห็นว่าระดับการลงเสียงหนักเบามีอิทธิพลต่อการแปรของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาเวียดนามดังนี้ 1. รูปลักษณ์เชิงกลของค่าความถี่มูลฐานของวรรณยุกต์ในพยางค์เสียงเบาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนกับในพยางค์เสียงหนักทั้งในแง่ทิศทาง ( Fo direction ) และระดับเสียง ( Fo height ) 2. พิสัยค่าความถี่มูลฐานของวรรณยุกต์ในพยางค์เสียงเบาจะมีพิสัยแคบกว่าในพยางค์เสียงหนักทั้ง 2 ปริบท 3. ค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์ในพยางค์เสียงเบาทั้งในพยางค์ไม่กักและพยางค์กักมีค่าระยะเวลาสั้นกว่าในปริบทพยางค์เสียงหนักทั้ง 2 ปริบทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 นอกจากนี้ จากผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา ( ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ, 1977 ; Shen, 1993 ) กล่าวคือ ค่าระยะเวลาเป็นเครื่องบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างการลงเสียงหนักเบาที่สำคัญที่สุดในภาษามีวรรณยุกต์
Other Abstract: The objective of this research is to investigate the acoustic characteristics of Vietnamese tones influenced by stress in 3 aspects : fundamental frequency curves ( Fo curve ) , fundamental frequency ranges ( Fo range ) and the durations of the fundamental frequencies of the 6 tones in non-checked syllables and of the 2 tones in checked syllables from the 2,400 test tokens spoken in a sentence frame. The data was collected from 10 Northern Vietnamese subjects, analyzed instrumentally by using the WinCECIL and processed by computer using the Microsoft Excel version 0.5a and SPSS for Windows. The acoustic analysis revealed that stress has an influence on the 6 Vietnamese tones as reported below : 1. The Fo curves of unstressed syllables are clearly different from those of stressed syllables in both Fo direction and Fo height. 2. The Fo ranges of unstressed syllables are narrower than those of the stressed syllables in the two-context. 3. The durations of unstressed syllables are significantly (p < 0.01) shorter than those of the stressed syllables in the two-syllables context, both in non-checked syllables and in checked syllables. In addition, the findings of this study agree with previous studies (Luangthongkum, 1977 ; Shen, 1993), i.e., duration is the most important stress cue in signaling the distinction between stressed and unstressed syllables in tone languages.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72293
ISBN: 9746390708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kriengkrai_wa_front_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch1_p.pdf540.62 kBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch2_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch3_p.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch4_p.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch5_p.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_ch6_p.pdf786.15 kBAdobe PDFView/Open
Kriengkrai_wa_back_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.