Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72330
Title: การศึกษาเปรียบเทียบผลของการถอดแบรกเกตโดยประเมินจากค่าเออาร์ไอ
Other Titles: Comparative study of bracket removal effect evaluated by ARI
Authors: พาชื่น ทิพย์สุนทรชัย
Advisors: พรทิพย์ ชิวชรัตน์
วันดี อภิณหสมิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Porntip.C@chula.ac.th
Wandee.A@Chula.ac.th
Subjects: Orthodontic Appliances, Removable -- Adverse effects
Orthodontic Brackets
Dental Enamel
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การถอดแบรกเกตเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน โดยนิยมใช้แรง 3 ชนิด ได้แก่ แรงเฉือน แรงปอกและแรงดึงในการถอด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเปรียบเทียบผลของการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกต่อการสูญเสียผิวเคลือบฟัน ในตัวอย่างฟันกรามน้อยจำนวน 120 ซี่ โดยติดแบรกเกตที่มีฐานแบบร่องบนผิวฟันด้วยวิธีไดเรกบอนด์และใช้แอดฮีซีฟเรซินชื่อ Conside® ได้ทำการถอดแบรกเกตด้วยคีมตัดลวดโดยครึ่งหนึ่งของตัวอย่างฟันใช้แรงเฉือนและที่เหลือใช้แรงปอก หลังจากนั้นศึกษาปริมาณแอดฮีซีฟเรซินที่เหลือค้างบนผิวเคลือบฟันและประเมินตามค่าเออาร์ไอด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือกลุ่มที่มีค่าเออาร์ไอเท่ากับ 0, 1, 2, และ 3 ตามลำดับ แล้วศึกษาลักษณะของผิวเคลือบฟันที่แตกหักติดอยู่บนพื้นที่ผิวของแอดฮีซีฟเรซินบนฐานแบรกเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และคำนวณพื้นที่การสูญเสียผิวเคลือบฟันด้วยกระบวนการวิเคราะห์ภาพสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นอกจากนี้ยังใช้ระบบการวิเคราะห์ธาตุด้วยรังสีเอกซ์เรื่องแบบอีดีเอสในการยืนยันตำแหน่งของผิวเคลือบฟันในภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และหาอัตราส่วนระหว่างธาตุแคลเซียมกับฟอสฟอรัสซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวเคลือบฟัน ผลการวิจัยพบว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกได้ค่าเออาร์ไอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 โดยการใช้แรงเฉือนจะมีจำนวนฟันที่มีค่าเออาร์ไอต่ำกว่ามากกว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอก ส่วนการใช้แรงปอกมีจำนวนฟันที่มีค่าเออาร์ไอสูงมากกว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือน เมื่อศึกษาพื้นผิวของแอดฮีซีฟเรซินที่ติดบนฐานแบรกเกตโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกมีลักษณะผิวเคลือบฟันแตกหักติดบนแอดฮีซีฟเรซินแตกต่างกัน โดยจากการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนมีผิวเคลือบฟันแตกหักออกมาเป็นชั้นๆ เรียงตัวเหมือนเกล็ดปลาซ้อนกันทอดตามแนวเส้นของเรทเซียสอย่างชัดเจนในบางตำแหน่ง และเป็นวงโค้งตามแนวร่องของเพอริคัยมาตา ส่วนการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอกมีการแตกหักของผิวเคลือบฟันจำนวนน้อยกว่าแต่กระจายเป็นบริเวณกว้างกว่า ลักษณะผิวของแอดฮีซีฟเรซินส่วนใหญ่ค่อนข้างเรียบ บางตำแหน่งพบรอยขีดข่วน และบางแห่งมีลักษณะคล้ายร่องเพอริคัยมาตา รวมทั้งพบรอยร้าวในแอดฮีซีฟเรซินร่วมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันตำแหน่งผิวเคลือบฟันในภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ด้วยระบบการวิเคราะห์ธาตุด้วยรังสีเอกซ์เรืองแบบอีดีเอสโดยการแจกแจงรายละเอียดแบบแผนที่ ในการหาค่าเฉลี่ยอัตราส่วนระหว่างธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเท่ากับ 2.08 ± 0.04 ซึ่งค่าอยู่ในช่วงที่เป็นอัตราส่วนของทั้งสองธาตุในผิวเคลือบฟันปกติ และจากการคำนวณพื้นที่การสูญเสียผิวเคลือบฟันด้วยกระบวนการวิเคราะห์ภาพสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของการถอดแบรกเกตทั้งสองวิธี ในกลุ่มที่ให้ค่าเออาร์ไอเท่ากัน พบว่าในค่าเออาร์ไอเท่ากับ 0 และ 1 การถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนมีการสูญเสียผิวเคลือบฟันเฉลี่ยร้อยละต่อหน่วยพื้นที่ของแอดฮีซีฟเรซินที่ติดอยู่บนฐานแบรกเกต เท่ากับ 54.27 ± 2.2 และ 46.11 ± 4.84 ซึ่งมากกว่าค่าที่เกิดจากการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 ( 20.90 ± 2.17 และ 14.94 ± 2.27 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนทำให้เกิดการสูญเสียผิวเคลือบฟันมากกว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
Other Abstract: The bracket removal is an important step in the orthodontic treatment. The brackets can be removed by using shear, peel and pull forces. The objective of this study was to compare the enamel loss affected by using either shear or peel forces in bracket removal. One hundred and twenty premolar teeth were attached with groove base brackets by the adhesive Consise® using the direct bonding technique. All brackets were debonded by a ligature cutter. Sixty brackets were removed by using the shear force while the rest were removed by using the peel force. The tooth surfaces were examined under the stereo microscope by using adhesive remnant index (ARI). There were classified as level 0, 1, 2 and 3. Then, the bracket surfaces were investigated under the conventional scanning electron microscope for the morphology of mineral like particles attaching to the adhesive fracture surfaces. These particles were analyzed by an energy dispersive x-ray spectrometer for their calcium/phosphorus ratios and by an image analysis of scanning electron microscopic micrographs for measurements of their areas. The result showed that there were significant differences in ARI (p<0.05) between shear and peel force removals. Amount of teeth with low ARI were higher in the shear force removal than those in the peel force removal. In the peel force removal, amount of teeth with high ARI were higher than those in the shear force removal. The scanning electron microscopic examination showed different characters of the enamel detachments on adhesive fracture surfaces of the shear force and peel force removals. In the shear force removal, there were the terraces of enamel detachments on the adhesive fracture surfaces. Their arrangement had the appearance of fish scales locating along the striae of Retzius in some areas and distributing on the horizontal groove of perikymata in the others. The enamel detachments caused by the peel force were less in quantity but distributed in wider areas than those caused by the shear force. Most adhesive resin surfaces of the peel force removal were quite smooth with a few scratches in some areas. Cracks and perikymata-like structures were also present. The position of enamel particles located in scanning electron microscopic micrographs were confirmed by using x-ray mapping. The mean of calcium/phosphorus ratios of all particles was 2.08 ± 0.04 which was in the range of calcium/ phosphorus ratios of normal enamel. The mean percentage of total enamel particle areas related to the total adhesive resin areas was determined by image analysis. In ARI 0 and 1 of the shear force removal, they were 54.27 ± 2.2 and 46.11 ± 4.84 which were significantly higher than those of the peel force (20.90 ± 2.17 and 14.94 ± 2.27), respectively (p < 0.05). The results suggested that the bracket removal by using the shear produced enamel loss more significant than by using the peel forces (p < 0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72330
ISBN: 9746381598
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pachuen_th_front_p.pdf820.46 kBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_ch1_p.pdf902.71 kBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_ch2_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_ch3_p.pdf514.91 kBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_ch4_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_ch5_p.pdf819.07 kBAdobe PDFView/Open
Pachuen_th_back_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.