Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72343
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอานนท์ วรยิ่งยง-
dc.contributor.advisorทัสสนี นุชประยูร-
dc.contributor.authorอรนุช อธินันทน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.coverage.spatialจังหวัดนครราชสีมา-
dc.date.accessioned2021-02-22T06:05:13Z-
dc.date.available2021-02-22T06:05:13Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741309988-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72343-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ระบบบริการทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 634 คน จาก 63 โรงเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งเขตสถานที่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2543 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2544 สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ Chi-square ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Mann Whitney บ test และ Kruskal-wallis H test ผลการศึกษา พบว่า ครูร้อยละ 67.5 เป็นหญิง ร้อยละ 32.5 เป็นชาย ร้อยละ 56.6 อยู่ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 55.2 มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยประจำตัว ร้อยละ 57.5 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 3.5 มีภาวะอ้วน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร ครูร้อยละ 94.6 มีการปฏิบัติในระดับกลางและระดับสูง ยกเว้น การดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว ที่ครูร้อยละ 42.5 มีการปฏิบัติในระดับต่ำ ด้านการออกกำลังกาย ร้อยละ 25.2 มีการปฏิบัติสมํ่าเสมอ ร้อยละ 74.8 ปฏิบัติไม่สมํ่าเสมอ โดยมีสาเหตุจากไม่มีเวลา (ร้อยละ 85.9) ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 11.2) และความไม่อยากทำ (ร้อยละ 10.2) ด้านการใช้ระบบบริการทางสุขภาพ ร้อยละ 53.1 ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป ร้อยละ 52.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ในภาวะเจ็บป่วย ครูเลือกรับบริการ จากสถานบริการที่ใกล้หรือสะดวก (ร้อยละ 48.1) จากสถานบริการทีเคยไปรับบริการ(ร้อยละ 30.3) และจากสถานบริการที่พึงพอใจ (ร้อยละ 21.6) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมส่งเสรีมสุขภาพของครูระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และไม่เช้าร่วมโครงการฯ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P > 0.05 ) ในทุกรายด้าน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครู ได้แก่ เพศ รายได้ของครอบครัว การรับรู้ประโยชน์การรับรู้ความสามารถปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แก่นักเรียน ได้แก่ การสนับสนุนจากกลุ่มบุคคล และ การรับรู้บทบาทหน้าที่ ผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดทำโครงการสุขภาพของครู ให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this cross-sectional survey study was to determine health promoting behavior of teachers in pnmary school under the jurisdiction of Nakhonrachasima provincial primary education office.particularly in eating habits,physical exercise and use of health care system. The study sample was 634 teachers from 63 primary schools that selected by multistage cluster sampling. The data were collected with self- administered questionnaire during November 2000 to February 2001. Chi-square, Mann Whitney U test and Kruskal-Wallis H test were used to analyze the relationship among the studied variables. The result revealed that 67.5 % were female, 32.5 % were male. The teachers were in Health promoting school project (56.6 %), had chronic illness (55.2 %), normal body mass index (57.5%) and obesity(3.5 %). Regarding eating habits, 94.6% of teachers were in middle and high level practice except in 'drinking milk 1cup/day' activity that 42.5% were in low level practice. Regarding physical exercise, regular practice (25.2%), irregular practice (74.8%) due to 'lack of time' (85.9%), 'health problem' (11.2%) and 'unsatisfaction’(10.2%). In aspect of use of health care system, 53.1% of all teachers had physical health checked-up and oral cavity checked-up (52.6%). Regarding illness condition the teachers first selected health service from 'near/comfortable health center' (48.1 %), 'previous used health center '(30.3%) and 'satisfaction health center'(21.6%).There were no statistically significant difference of health promoting behavior between the teachers in Health promoting school project and the others (p > 0.05).The factors which related to health promoting behavior were sex, family income, perceived benefits and perceived self-efficacy. The factor supporting from person and perceived role in health promotion were significantly related to health promoting behavior for student. The results should be emphasized in the implementation of health program behavior for teachers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectครูประถมศึกษาen_US
dc.subjectHealth promotionen_US
dc.subjectSchoolsen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeHealth promoting behavior of teachers in primary school under the jurisdiction of Nakhonrachasima Provincial Primary Education Officeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArnond.V@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranoot_ad_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ913.03 kBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_ch1_p.pdfบทที่ 1871.55 kBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_ch2_p.pdfบทที่ 21.43 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_ch3_p.pdfบทที่ 3867.29 kBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_ch4_p.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_ch5_p.pdfบทที่ 5975.01 kBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ad_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.