Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72471
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งศรี กุลปรีชา-
dc.contributor.advisorวาสนา โตเลี้ยง-
dc.contributor.authorอติพล บุญเรืองถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-03-01T06:50:18Z-
dc.date.available2021-03-01T06:50:18Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743469616-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72471-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ และเพิ่มการผลิตโฮโมพอลิเมอร์ พอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทิเรต หรือ PHB ด้วยเทคนิคกระบวนการเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์ BA-019 เป็นสาพันธุ์ที่แยกใหม่ และจัดจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการนี้ จากสมมติฐานเมื่อเพิ่มความหนาแน่ของเซลล์ ปริมาณของพอลิเมอร์ที่ได้โดยปริมาตรสารอาหารคงที่ (ในรูปกรัมต่อลิตร) จะเพิ่มขึ้น และสิ่งที่ตามมาคือ อัตราการผลิตของพอลิเมอร์เพิ่มสูงขึ้นเวลาการเลี้ยงเชื้อจะลดลง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเติบโต และการเพิ่มการผลิต PHB ของ Bacillus sp.BA-019 ได้แก่ องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อ ได้แก่ แหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจน และแร่ธาตุ ภาวะในการเลี้ยงเชื้อที่ศึกษาได้แก่ pH อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนละลาย และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนในอาหารเลี้ยงเชื้อ ผลการวิจัยพบว่า Bacillus sp.BA-019สามารถเติบโตพร้อมกับการผลิต PHB ได้ดี โดยใช้กากน้ำตาล และยูเรียซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนที่มีราคาถูก เมื่อเปรียบระหว่างการใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลทรายเป็นแหล่งคาร์บอน กากน้ำตาลให้ผลการเติบโตของเซลล์และความเข้มข้นของ PHB ดีกว่าน้ำตาลทรายเท่ากับ 2.5 และ 4.0 เท่าตามลำดับ พบว่า Bacillus sp.BA-019 สามารถใช้ยูเรียเพื่อการเติบโตและการผลิต PHB ได้ดีกว่าการใช้แอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน การเติมกรดซิตริกโดยใช้ความเข้มข้นของกรดซิตริกที่เหมาะสมเท่ากับ 0.75 กรัมต่อลิตร ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เติบโตได้เพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณ PHB ที่ผลิต ได้เพิ่มขึ้นด้วย แร่ธาตุในสารละลาย trace element สูตรที่ศึกษามีผลให้การเติบโตของเซลล์และการผลิต PHB เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ภาวการณ์เลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม คือ ปริมาณกล้าเชื้อเท่ากับ 0.3 กรัมต่อลิตร pH เท่ากับ 6.0ปริมาณออกซิเจนละลายเท่ากับ 60 % ของอากาศอิ่มตัว และใช้อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 25โมลต่อโมล ได้สึกษาการเลี้ยงเชื้อโดยวิธี fed-batch เพื่อให้ได้ทั้งความหนาแน่นของเซลล์ และอัตราการลิตพอลิเมอร์สูงขึ้น จากการศึกษาการเลี้ยงเชื้อ Bacillus sp.BA-019 แบบ fed-batch ที่มีการควบคุมการป้อนสารอาหารด้วยวิธี pH-stat พบว่าเมื่อใช้สารอาหารป้อนเข้าที่ประกอบด้วยแหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจน และแร่ธาตุ ให้ผลการเติบโตของเซลล์อย่างรวดเร็ว และมีการผลิต PHB เพิ่มอย่างชัดเจน โดยผลการทดลองที่ได้ดีกว่าการใช้สารอาหารป้อนเข้าที่ประกอบด้วยแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน หรือใช้แหล่งคาร์บอนเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาพบว่าการใช้กากน้ำตาลที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลรวมเท่ากับ 400กรัมต่อลิตร และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 10 โมลต่อโมลในสารป้อนเข้า มีผลให้เพิ่มการผลิต PHB และความหนาแน่นของเซลล์ โดยได้ความเข้มข้นของเซลล์ปริมาณสูงขึ้นมาก (72.57) ได้ปริมาณของ PHB เท่ากับ 30.52 กรัมต่อลิตรหรือคิดเป็น 42% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้งที่เวลา 24 ชั่วโมง และมีอัตราการผลิต PHB เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 1.27 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมงen_US
dc.description.abstractalternativeThis investigation is aimed at increasing cell density and a homopolymer poly (3-hydroxybutyrate) (PHB) production by Bacillus sp.BA-019 using cultivation process technic. The strain BA-019 was newly isolated and identified in our laboratory. Based on the hypothesis of increasing the cell density, larger amount of polymer with the fixed volume of culture broth (in term of g/l) would be obtained. Consequently, when the productivity of polymer become higher the cultivation time was shortened.The composition of culture medium e.g. carbon source, nitrogen source and trace elements affected the growth rate and the increasing PHB production. The cultivation conditions studied were pH. Temperature, dissolved oxygen and C/N molar ration of culture medium. The results showed that Bacillus sp.BA-019 could grow well and the PHB production was increased by using cane-molasses and urea which are inexpensive raw materials. When cane-molasses and refined cane sugar were compared : it was shown that higher cell growth and PHB concentration was observed in cane-molasses by 2.5 and folds respectively. Urea was found to support growth and PHB production as a better nitrogen source than of (NH4)2SO4. Supplementation with 0.75 g/l citric acid in the culture medium enhanced both growth and PHB yields. Improved formula of trace elements in this study also promoted the production of PHB compared to that of control experiment. The optimal cultivation conditions in 5-L fermenter were as followed size: 0.3 g/l. pH;6.0 % of air saturation, C/N molar ration;25. Fed-batch cultivation was performed in order to achieve both high cell density and polymer productivity. In fed- batch culture of Bacillus sp.BA-019 with pH-stat feeding control, cell growth and PHB production was remarkably increased when feeding solution containing a mixture of C-source, N-source and trace elements, compared to the feeding of only C-source or C and N-sources. It was exhibited that the suitable total suitable total sugar concentration at 40 g/l and C/N ratio of 10 mol/mol in feeding solution resulted in enhancing PHB production and the cell density. A larger amount of cell density (72.57 g/l) was produced with a high PHB content (30.52 g/l or equivalent to 42% of the PHB by cell dry wt.) at 24 and the PHB productivity was significantly increased up to 1.27 g/l-h.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพอลิ 3-ไฮดรอกซีบิวทิเรตen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectขยะen_US
dc.subjectอะลูมินัมไฮดรอกไซด์en_US
dc.subjectPHB productionen_US
dc.subjectpH-STATen_US
dc.subjectFed-batchen_US
dc.subjectBucillus sp.en_US
dc.subjectcell densityen_US
dc.titleการผลิตพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทิเรต)โดยการเพาะเลี้ยง Bucillus sp.BA-019 แบบป้อนเป็นงวด ภายใต้การกำจัดปริมาณไนโตรเจนen_US
dc.title.alternativePoly(3-hydroxybutute) producttion by fed-batch culture of Bucillus sp.BA-019 under nitrogen limitationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSongsri.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atipol_bo_front_p.pdf873.34 kBAdobe PDFView/Open
Atipol_bo_ch1_p.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Atipol_bo_ch2_p.pdf853.49 kBAdobe PDFView/Open
Atipol_bo_ch3_p.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Atipol_bo_ch4_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Atipol_bo_back_p.pdf999.7 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.