Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72480
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราณี อ่านเปรื่อง-
dc.contributor.authorรัตนา จินดาพรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-03-01T07:17:52Z-
dc.date.available2021-03-01T07:17:52Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741303661-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72480-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตสารให้ฟองจากโปรตีนถั่วเขียวสกัด โดยการย่อยสลายอย่างจำกัดด้วยโบรมีเลน โดยทำการสกัดโปรตีนจากแป้งถั่วเขียว พบว่าโปรตีนถั่วเขียวที่สกัดได้มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบร้อยละ 79.25 โดยน้ำหนักแห้ง และจากการทดลองพบว่าระดับการย่อยสลายมีความสัมพันธ์กับปริมาณ Nitrogen solubility เป็นอย่างมาก (r² =0.987) สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถูกควบคุมที่ระดับการย่อยสลายร้อยละ 17.44 โดยใช้โปรตีนถั่วเขียวสกัดเข้มข้นร้อยละ 6.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาณ ที่ pH 6.0 อุณหภูมิ 60℃ ความเข้มข้นของเอนไซม์ 1.25 มิลลิกรัม/100 มิลลิกรัมของโปรตีนสกัด หรือคิดเป็นอัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสับเตรท 1/80 เท่า เวลาในการย่อยสลาย 15 นาที หยุดปฏิกิริยาด้วยความร้อนอุณหภูมิ 90℃ เวลา 10 นาที เหวี่ยงแยกส่วนที่ไม่ละลายออก ส่วนของโปรตีนที่ละลายนำไปทำให้เข้มข้น 10 0 Brix อุณหภูมิ 60℃ และทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง พบว่าสารให้ฟองดังกล่าวมีค่ากำลังการเกิดฟองและความคงตัวของฟองเพิ่มขึ้น โดยมีค่า Nitrogen solubility ที่ pH 4.5 ร้อยละ 91.84 และสามารถละลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ pH 7.0 คำนวณร้อยละของผลผลิตได้เท่ากับ 46.30 ต่อมาพบว่าการเติมคาร์บอกซีเมทธิวเซลลูโลส 0.2 กรัม/100กรัม ของโปรตีนไฮโดรไลเซท (dry basis) ร่วมกับการให้ความร้อนอุณหภูมิ 85℃ ก่อนทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ส่งผลให้ทั้งค่ากำลังการเกิดฟองและความคงตัวของฟองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ( p ≤ 0.05 ) สุดท้ายเป็นการทดลองใช้สารให้ฟองที่ผลิตได้ โดยทดลองเติมสารให้ฟองซึ่งมีโปรตีนร้อยละ 82.28 โดยน้ำหนักแห้ง ในแองเจิลฟูดเค้กร้อยละ 2.07, 1.67, 1.27 และ 0.87 โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบกับการใช้ไข่ขาวผงร้อยละ 4.0 โดยน้ำหนัก จากผลการทอสอบทางด้านประสาทสัมผัส พบว่าการเติมสารให้ฟองผงร้อยละ 1.27 โดยน้ำหนัก ตัวอย่างมีการขยายตัวและการยุบตัวใกล้เคียงกับตัวอย่างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ( p ≤ 0.05 )en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study optimal condition for the production of foaming agent by limited hydrolysis of mungbean protein with bromelain. Mungbean protein was extracted from mungbean flour. It has 79.25% protein (dry basis). It was found degree of hydrolysis showed good correlation with nitrogen solubility (r² =0.987). Optimal condition was controlled at 17.44% degree of hydrolysis by 6.0% (w/v) protein solution, 1.25% (mg/100mg protein isolate) enzyme concentration, pH 6.0, temperature 60℃, reaction time 15 min. Bromelain was inactivated by at 90℃ min., insoluble fraction was removed by centrifugation, and soluble protein fraction was concentrated to 100 Brix and lyophilized. Results showed that foaming capacity and foam stability were improved. Moreover, foaming agent has nitrogen solubility 91.84% at pH 4.5 and 100% at pH 7.0. The yield was about 46.30%. Results on adding 0.2 g/100g protein hydrolyzed (dry basis) carboxymethylcellulose with heating 85℃ to protein hydrolyzed solution before lyophilized. Results showed that both foaming capacity and foaming stability s were increased with significantly different at p ≤ 0.05. Finally, to study application of foaming agent in angel food cake by varying content of foaming agent at 2.07, 1.67, 1.27 and 8.87% by weight compare to compare to control which was added egg albumen 4% by weight. Sensory evaluation showed that adding foaming agent 1.27% by weight. The samples have expansion and collapse the most nearly control with significantly at p ≤ 0.05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารให้ฟองen_US
dc.subjectโปรตีนถั่วเขียวen_US
dc.subjectเอนไซม์en_US
dc.subjectFoaming agenten_US
dc.titleการผลิตสารให้ฟองจากโปรตีนถั่วเขียวโดยใช้เอนไซม์en_US
dc.title.alternativeProduction of foaming agent from mungbean protein by enzymeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPranee.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_ch_front_p.pdf745.7 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch1_p.pdf255.34 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch2_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch3_p.pdf680.91 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch4_p.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch5_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_ch6_p.pdf223.54 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_ch_back_p.pdf822.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.