Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72509
Title: การเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณอาหารของปลาทูตามฤดูกาลในอ่าวไทยในระยะปี 2507-09
Other Titles: Seasonal variations of food in the stomach contents of Rastrelliger neglectus (van Kampen) in the Gulf of Thailand, during the year, 1964-66
Authors: อำพัน เหลือสินทรัพย์
Advisors: เทพ เมนะเศวต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปลาทู -- อาหาร
Rastrelliger neglectus -- Food
Issue Date: 2510
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารของปลาทูนั้นต้องทราบว่าปลาทูกินอาหารโดยวิธีใดและกินอาหารชนิดใดบ้างเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละฤดูกาลโดยตรวจวิเคราะห์อาหารในกระเพาะปลาทูซึ่งมีขนาดความยาวเหยียด ๑๓-๒๑๕ เซ็นติเมตรและน้ำหนักปลา ๒๖-๑๑๐ กรัมจากเขตการประมง I, II, และ IV ซึ่งมีน้ำลึกตั้งแต่ ๔-๓๔ เมตรของทุกๆ เดือนตลอดทั้ง ๓ ปี (๒๕๐๗-๒๕๐๙) โดยวิธีชั้งหาน้ำหนักอาหารและหาปริมาณร้อยละของอาหารแต่ละชนิดพร้อมทั้งคำนวณค่าปริมาณอาหารที่ควรมีเต็มกระเพาะของปลาทูแต่ละขนาดในแต่ละเขตการประมงผลการศึกษาปรากฎว่าปลาทูกินอาหารแบบกรอง (filter feeding) ซี่เหงือกของปลาทูมีลักษณะเรียวยาวและถี่ซึ่งมีจำนวน ๑๙+๓๖ ซี่หรือ ๕๔ ซี่เป็นส่วนมากส่วนชนิดของอาหารที่ตรวจพบในกระเพาะปลาทูจำนวน ๒๗๘๘ กระเพาะซึ่งสุ่มตัวอย่างในระหว่าง ๒๕๐๗-๒๕๐๙ พบว่ามีแพลงตอนจำพวกพืช ๑๔๐ ชนิดเป็นจำนวนสูงถึง ๗๙.๒๕% และแพลงตอนจำพวกสัตว์ ๘๘ ชนิดเป็นจำนวน ๒๐.๗๕% ส่วนปริมาณอาหารที่ปลาทูจะกินมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับสิ่งประกอบหลายประการคือความอุดมสมบูรณ์ของทะเลของแต่ละเขตการประมงในแต่ละเดือน วัยของปลาและฤดูวางไข่สำหรับปริมาณอาหารที่ควรมีเต็มกระเพาะ (Fm) ของปลาทูที่คำนวณได้ของแต่ละเขตการประมงในแต่ละปีจะมีค่าแตกต่างกันเช่นปลาที่มีขนาดความยาวที่เท่ากันคือ ๑๕-๑๘.๕ เซ็นติเมตรของปี ๒๕๐๗ มีค่า Fm ของปลาทูในเขตประมงI, IIและ IV ดังนี้ ๐.๕๕-๐.๙๒, ๐.๗๐-๑.๐๘ และ๐.๗๕-๐.๙๒ กรัมตามลำดับส่วนในปี ๒๕๐๘ ค่าFm ของปลาทูในเขตการประง I, II, และ IV มีดังนี้ ๐.๖๔-๑.๑๒, ๐.๖๗-๑.๑๘ และ ๐.๖๐-๑.๐๗ กรัมตามลำดับและในปี ๒๕๐๙ ค่า Fm ของปลาทูขนาดความยาว ๑๘-๒๐ เซ็นติเมตรในเขตการประมง I, II, และ IV มีดังนี้ ๑.๑๒-๑.๓๒, ๑.๐๐-๑.๒๘, และ ๑.๐๐-๑.๑๕ กรัมตามลำดับจะเห็นว่าค่า Fm ของปลาแต่ละเขตในปีเดียวกันนั้นมีความแตกต่างกันซึ่งทั้งนี้จะขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของน้ำทะเลแต่ละเขต
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2510
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72509
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1967.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1967.2
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampan_Lh_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ984.1 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_ch1_p.pdfบทที่ 1758.56 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_ch2_p.pdfบทที่ 21.13 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_ch3_p.pdfบทที่ 33.82 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_ch4_p.pdfบทที่ 41.15 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_ch5_p.pdfบทที่ 51.01 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Lh_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.