Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72514
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี ศิริโชติ-
dc.contributor.authorบุหงา วัฒนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-02T06:49:18Z-
dc.date.available2021-03-02T06:49:18Z-
dc.date.issued2515-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72514-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่กับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่โดยมีตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลางซึ่งเรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่เป็นกลุ่มทดลองได้แก่นักเรียนโรงเรียนพญาไท พิบูลอุปถัมภ์และวัดเวตวันธรรมาวาส รวมทั้งสิ้น 131 คนและใช้นักเรียนของโรงเรียนกรมสามัญศึกษา สังกัดจังหวัดพระนครซึ่งไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่เป็นกลุ่มควบคุมได้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดมหาบุศย์กับวัดชนะสงคราม รวมทั้งสิ้น 138 คนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างประชากรได้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยของนางสาวดวงเดือน อ่อนน่วม เมื่อปีการศึกษา 2513 ว่าด้วยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ระหว่างนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่กับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่” ซึ่งใช้คะแนนจากแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนที่นางสาวดวงเดือน อ่อนน่วม สร้างขึ้นมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อถือได้ 0.74 มาเป็นเกณฑ์ในการนำนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบวัดความสามรถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อถือได้ 0.85 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่กับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่ใช้การทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างมัชฌิมเลขคณิตของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยการคำนวณอัตราส่วนวิกฤติ จากผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่กับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่กับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันถึงแม้จะพิจารณาแยกตามชนิดของปัญหาและแยกตามเพศแล้วก็ตามแต่เมื่อได้นำตัวอย่างประชากรส่วนหนึ่งของทั้ง 2 กลุ่มที่มีครูผู้สอนวุฒิเท่ากันและมีประสบการณ์ในการสอนใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบปรากฏว่านักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่และเมื่อพิจารณาแยกตามชนิดของปัญหาปรากฏว่านักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่ ส่วนความสามารถในการหาวิธีการในการแก้ปัญหาและการคำนวณหาคำตอบปรากฏว่ามีความสามารถไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือควรให้นักเรียนทั้งที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่และที่ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่ได้มีโอกาสรับการฝึกหัดให้พิจารณาและสรุปวิธีการแก้ปัญหาให้เป็นไปตามลำดับขั้นด้วยตนเองโดยมีครูเป็นครูเป็นผู้แนะนำและแก้ไขให้ถูกต้องในที่สุดเพื่อจะได้มีความสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to compare the mathematical problem solving abilities of Prathom Suksa 3 students who are trained in modern mathematics and those who are not. The result of this study will be used for the improvement of modern mathematics program and traditional mathematics program. One hundred and thirty one of Prathom Suksa 3 students trained in modern mathematics at Payatai School, Piboolupatham School and Wat Vetawanthanmavas School were used as the experi- mental group. One hundred and thirty eight of Prathom Suksa 3 students not trained in modern mathematics at Wat Mahabuts School and Wat Chanasongkram were used as the control group. The random sampling in experimental group and control group were the same as in Miss Duangduen Onnaum's study in Academic Year 1970. Her thesis title was "A Comparative Study of the Mathematical Problem Solving Abilities of Second Graders with Training in Modern Mathematics and those without." She constructed the readiness and number concept test to measure the level of mathematical ability of students and to be used as the criterion for a comparison. The problem solving test was used for this study. The reliability coefficient of the test was 0.85. This was designed to measure the mathematical problem solving ability of students. All the problem solving test done by the students had been assessed in order to compare the mathematical problem solving abilities between two groups by using the significance of dif- ferences between means of each group which was found by computing the critical ratio at the level of significance .05. The result of this study showed that there were no signi- ficant differences in problem solving abilities, finding the process, analysing the problem and finding the solution between students who recerived modern mathematics teaching and traditional mathematics teaching, as well as between boys and girls. When each matched group had a qualified and experience teacher teaching them, the results of the study proved that the students trained in modern mathematics acquired CKOR VE more problem more problem solving abilities than the students not trained that way. The students trained in modern mathematics acquired more power in analysing the problems than the student not trained in modern mathematics but in finding the process and solution there was no significant difference between the two groups. The recommendation is that the students trained and not trained in modern mathematics should have the opportunity to solve mathematical problems by themselves. Teacher's role is to quide, correct, and foster the student's problem solving ability.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1972.1-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์ในเด็ก -- ไทยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- ไทย-
dc.subjectMathematical ability in children -- Thailand-
dc.subjectMathematics -- Study and teaching (Elementary) -- Thailand-
dc.titleความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่en_US
dc.title.alternativeMathematical problem solving abilities of prathom suksa 3 students trained in modern mathematicsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1972.1-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bu-nga_wa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.2 MBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_ch2_p.pdfบทที่ 2923.49 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_ch3_p.pdfบทที่ 3957.16 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_ch4_p.pdfบทที่ 4923.39 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_ch5_p.pdfบทที่ 5842.86 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_wa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.