Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72583
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลทางการเรียนกับทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู
Other Titles: Relationship between academic achievement and maternal attitudes toward child rearing practices
Authors: กัลยา แก่นใน
Advisors: วัชรี ทรัพย์มี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wacharee.S@Chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย
มารดา -- ทัศนคติ -- ไทย
Academic achievement -- Thailand
Mother -- Attitudes -- Thailand
Child rearing
Issue Date: 2515
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลทางการเรียนกับทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูโดยใช้วิธีสัมภาษณ์มารดาแต่ละคนตามแบบวิจัยทัศนคติมารดา (A Parental Attitude Research Instrument : PARI) กลุ่มตัวอย่างประชากรคือมารดานักเรียนชั้นประถมปีที่ ๗ โรงเรียนพญาไท ปีการศึกษา ๒๕๑๔ จำนวน ๑๐๐ คน กลุ่มตัวอย่างประชากรแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงจำนวน ๕๐ คนเป็นมารดานักเรียนชาย ๒๕ คนและหญิง ๒๕ คน นักเรียนเหล่านี้มีอายุระหว่าง ๑๑ ถึง ๑๕ ปีและได้คะแนนรวมจากการสอบภาคกลางปีการศึกษา ๒๕๑๔ อยู่ในระหว่างเปอร์เซ็นไตล์ที่ ๗๔ ถึง ๙๙ สำหรับกลุ่มมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ จำนวน ๕๐ คนเป็นมารดานักเรียนชาย ๒๕ คนและหญิง ๒๕ คน นักเรียนเหล่านี้มีอายุระหว่าง ๑๑ ถึง ๑๕ ปีและได้คะแนนรวมจากการสอบภาคกลางปีการศึกษา ๒๕๑๔ อยู่ในระหว่างเปอร์เซ็นไตล์ที่ ๑ ถึง ๒๔ วิธีการทางสถิติใช้การทดสอบค่าที (t – test) ผลการวิจัยมีดังนี้ ๑. มารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบความคุมพฤติกรรมของเด็ก การละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๒. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๓. มารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๔. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบความคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๕. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กและการละเลยทอดทิ้งเด็กไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ แต่มารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่ามารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๘
Other Abstract: The purpose of this study was to find the relationship between academic achievement and maternal attitudes toward child rearing practices. A parental Attitude Research Instrument (PARI) was used for individual interviewing of 100 mothers (50 mothers of high – achievers and 50 mothers of low – achievers.) The points from the second term of the fifty high – achievers (25 boys, 25 girls) fell between the 74{uE0182} ͭ ͪ to the 99 ͭ ͪ percentile rank, and the points of the fifty low -–achievers (25 boys, 25 girls) fell between the 1 ̾ ͭ to the 24 ͭ ͪ percentile rank. These pupils, aged between 11-15 years, and studying in Pratom 7 at Phyathai School during 1971 academic year. The t – test was employed in this study. The major results of the study are as follows: 1. The mothers of high – achievers and the mothers of low – achievers did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility Rejection, and Democratic Attitude (at the .05 level). 2. The mothers of high achieving boys and the mothers of low achieving boys did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 3. The mothers of high achieving girls and the mothers of low achieving girls did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 4. The mothers of high achieving boys and the mothers of high achieving girls dis not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 5. The mothers of low achieving boys and the mothers of low achieving girls did not differ significantly on Authoritarian – Control and Hostility – Rejection (.05 level), but the mothers of low achieving girls had higher scores for Democratic Attitude than did the mothers of low achieving boys (significant at the .20 level).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72583
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1972.8
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1972.8
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanlaya_ka_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_ch1_p.pdfบทที่ 12 MBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_ch2_p.pdfบทที่ 2996.64 kBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_ch3_p.pdfบทที่ 31.82 MBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_ch4_p.pdfบทที่ 41.06 MBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_ch5_p.pdfบทที่ 5785.47 kBAdobe PDFView/Open
Kanlaya_ka_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.