Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72592
Title: พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของเสียงสระ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย ในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : นัยสำคัญต่อทฤษฎีกำเนิดวรรณยุกต์
Other Titles: Fundamental frequency behaviour of vowels influenced by initials and finals in southeast asian languages : implications for tonogenesis theories
Authors: อมร ทวีศักดิ์
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Theraphan.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -- การออกเสียง
ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -- สัทศาสตร์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของเสียงสระอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้น และเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาละเวือะ ภาษามลายูถิ่นปัตตานี ภาษาเลอูรักลาโว้ย ภาษาชาวเลมอเก็น ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไม่มีลักษณะน้ำเสียง และภาษาขมุ ภาษาโซ่ ภาษาบรุ ภาษามอญ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษามีลักษณะน้ำเสียง โดยวัดค่าความถี่มูลฐานจากคำที่ใช้ในภาษา แต่ละภาษา จำนวนระหว่าง 16-22 คำ และแต่ละภาษาจะใช้ผู้บอกภาษา 5 คน และออกเสียงคำตัวอย่างคำละ 4 ครั้งตามรายการคำศัพท์ที่จัดทำขึ้น ผลการศึกษาพบว่าทั้งในกลุ่มภาษาไม่มีลักษณะน้ำเสียงและกลุ่มภาษามีลักษณะน้ำเสียง ค่าความถี่มูลฐานจากอิทธิพลพยัญชนะต้นชุดเสียงอโฆษะมีค่ามากกว่าความถี่มูลฐานของสระจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นชุดเสียงโฆษะ โดยพบค่าความแตกต่างสูงสุดถึง 62.25 เฮิรตซ์ในภาษาชาวเลมอเก็น แต่ค่าความแตกต่างระหว่างค่าความถี่มูลฐานจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นชุดเสียงอโฆษะกับเสียงโฆษะในกลุ่มภาษามีลักษณะน้ำเสียงจะมีค่าน้อยกว่าค่าดังกล่าวในกลุ่มภาษาไม่มีลักษณะน้ำเสียงกล่าวได้ว่าผลการศึกษาเกี่ยวกับค่าความถี่มูลฐานของสียงสระอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นในงานวิจัยนี้สนับสนุนสาระในทฤษฎีกำเนินวรรณยุกต์ในกรณีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างของลักษณะความก้องของเสียงพยัญชนะต้นกับการกำเนินวรรณยุกต์ สำหรับพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของเสียงสระอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะท้าย พบว่าทั้งในกลุ่มภาษาไม่มีลักษณะน้ำเสียงและกลุ่มภาษามีลักษณะน้ำเสียงพยัญชนะท้ายกักที่เส้นเสียง (-?) ทำให้เส้นแสดงค่าความถี่มูลฐานของสระที่มาข้างหน้ามีรูปลักษณ์เป็นเสียงตกและเสียงขึ้น-ตก ซึ่งเป็นรูปลักษณะที่ตรงกันข้ามกับสาระที่กล่าวไว้ในทฤษฎีกำเนิดวรรณยุกต์ส่วนเสียงพยัญชนะท้ายเสียดแทรกที่เส้นเสียง (-h) ทำให้เส้นแสดงค่าความถี่มูลฐานของสระที่มาข้างหน้ามีรูปลักษณ์เป็นเสียงตกและเสียงขึ้น–ตกซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เสนอไว้ในทฤษฎีกำเนิดวรรณยุกต์ กล่าวได้ว่างานวิจัยนี้สนับสนุนสาระของทฤษฎีกำเนิดวรรณยุกต์ในกรณีที่ว่าด้วยอิทธิพลของเสียงพยัญชนะท้ายเสียดแทรกที่เส้นเสียง แต่ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับทฤษฎีกำเนิดวรรณยุกต์ในประเด็นที่ว่าด้วยอิทธิพลของเสียงพยัญชนะท้ายกักที่เส้นเสียง นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบการทำงานของเส้นเสียงในลักษณะต่างๆ (phonation type) ซึ่งได้แก่ลักษณะพ่นลม (aspiration) และ ลักษณะน้ำเสียง (register) มีนัยสำคัญต่อการกำเนิดวรรณยุกต์อย่างเห็นได้ชัดที่น่าสนใจคือผู้วิจัยพบว่าภาษาขมุถิ่นน่านได้แสดงพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของเสียงสระอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นและเสียงพยัญชนะท้ายอันโดดเด่นจนโน้มน้าวให้เชื่อได้ว่าภาษาขมุถิ่นนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนเป็นภาษามีวรรณยุกต์
Other Abstract: The study aims at investigating the behavior of the vowel fundamental frequency value in 8 Southeast Asian Languages – 4 non-register languages: Lavue, Pattani Malay, Urak Lawoi’, and Moken: and 4 register languages: Khum, So, Bru, and Mon. A wordlist was constructed for each language consisting consisting of 16-22 words. Five speakers per language were interviewed and each was pronounced 4 times. Analysis results show that voiceless initials yield higher fundamental frequency value than voiced initials. The finding supports the related proposal in the tonogenesis theory theory. As far as finals are concerned, glottal stop causes both falling and rising-falling contour. This contradicts what the tonogenesis theory proposes. Final glottal fricative yields falling and rising-falling contour. The supports the tonogenesis theory. This study confirms that both aspiration and register related to tonogenesis. There is strong evidence in this study showing that the Nan variety of Khmu is in the process of becoming a tone language.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72592
ISBN: 9743470859
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amon_th_front_p.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch1_p.pdf554.68 kBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch2_p.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch3_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch4_p.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch5_p.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch6_p.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_ch7_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Amon_th_back_p.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.