Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์-
dc.contributor.authorประเสริฐ ชาติกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-04T10:03:30Z-
dc.date.available2021-03-04T10:03:30Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9740300014-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72611-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้เพื่อศึกษาความเป็นไปในการปนพันธุ์ถั่วเหลืองจำลองพันธ์สู่ระบบการปลูก และศึกษาผลกระทบของพืชจำลองพันธ์ต่อสิ่งแวดล้มบางประการในพื้นที่ศึกษาเขตภาคกลางตอนบนและภาคเหนือของประเทศไทย (จ.เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย เลย เชียงใหม่) โดยอาศัยแนวคิดนำชุดตรวจสอบอย่างง่ายบนพื้นฐานของการตรวจยีนในบริเวณแกนหลักของ CaMV 35S โปรโมเตอร์ มาประยุกค์ใช้ในการสำหรับใช้ตรวจสอบการไหลเวียนของยีนจากพืชจำลองพันธุ์ไปสู่พืชตระกูลถั่วชนิดที่พบในแปลงปลูก ทดสอบการแพร่กระจาย ตลอดจนอายุของละอองเรณูที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมการไหลเวียนของยีนจากพืชจำลองพันธุ์ไปสู่จุลชีพในลำไส้ผึ้งและแมลงในกลุ่ม Pollinator อื่นๆ การไหลเวียนของยีนจากพืชจำลองพันธุ์ไปสู่จุลินทรีย์ในดินและเชื้อไรโซเบียมในระบบพึ่งพาอาศัยในปมราก ตลอดจนความคงตัวอยู่ของพลาสมิด DNA ในชุดดินตัวแทน 5 ชุดดิน ได้แก่ ชุดดินกำแพงแสง ชุดดินทรายบางบอน ชุดดินรังสิต ชุดดินวาริน และชุดดินชัยบาบาล ภายใต้สภาพแวดล้อมกึ่งปิด เมื่อนำเทคนิคการทดสอบชิ้นส่วนดีเอ็นเอ ณ บริเวณ 35S โปรโมเตอร์มาประยุกต์ใช้ พบถั่วเหลืองที่จำหน่ายในท้องตลาดในกรุงเทพฯ เป็นถั่วเหลืองนำเข้าและเป็นถั่วเหลืองจำลองพันธุ์ ที่มีอัตราการงอกแปรผันอยู่ระหว่าง 20.8-70.8% จึงมีโอกาสปนพันธ์สู่ระบบผลิต การตรวจสอบการปนพันธุ์ถั่วเหลืองในพื้นที่ปลูกในเขตภาคกลางตอนบนและภาคเหนือตอนล่างพบการปนพันธุ์ผลการศึกษาพบว่าชุดตรวจสอบอย่างง่ายในการศึกษาพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบแกนหลักของยีนจากพืชจำลองพันธุ์สามารถตรวจสอบได้เป็นอย่างดีและเมื่อนำชุดตรวจสอบมาใช้ทดสอบตัวอย่างถั่วเหลือง ในเขตภาคกลางตอนบนและภาคเหนือพบว่าปัจจุบันถั่วจำลองพันธุ์มีการกระจายตัวไปสู่มือเกษตรกรทั้งในรูปผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ พบถั่วเหลืองจำลองพันธ์มีการปนเปื้อนอยู่ในตลาดเมล็ดพันธ์และแปลงปลูกของเกษตรกรจำนวน 38 ตัวอย่าง โดยถั่วเหลืองดังกล่าวมีอัตราการงอกสูงสามารถใช้หมุนเวียนในระบบการผลิตได้ ในเบื้องต้นพบความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนพันธุ์โดยคนและแมลงผสมเกสรจำพวกผึ้งการศึกษาการไหลเวียนของยีน พบว่าชิ้นส่วนดีเอ็นเอจากถั่วเหลืองจำลองพันธุ์สามารถถ่ายทอดไปสู่แบคทีเรียในดิน แบคทีเรียในปมราก ในลำไส้ผึ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผงถั่วเหลืองจำลองพันธุ์บดละเอียด และสามารถตรวจสอบการคงสภาพของดีเอ็นเอในชุดดินทั้ง 5 ชุด (ชุดดินทรายมาบบอน ชุดดินชัยบาดาล ชุดดินวาริน ชุดดินกำแพงเพชร ชุดดินรังสิต) เป็นเวลาอย่างน้อย 84 วันen_US
dc.description.abstractalternativeThe studies on the feasibility of mingling of soybean seeds and grain with genetically modified soybean, the integration of those soybeans with the soybean production system and the effect of genetically modified soybean to environment were carried out at sites located in upper central part and northern part of Thailand (Petchaboon, Nakornsawan, Sukhothai, Loei and Cheangmal). These were done based on the application of a simple PCR technique of detecting of DNA element in cauliflower mosaic virus 35S promoter for the monitoring of the gene flow from genetically modified soybeans to plant and legume and their pollen and pollen distribution, to bacteria in digestive tract of some insect pollinators, to soil bacteria and the symbionts, and to the stability of DNA molecule in 5 representative soils, Khampaengsaen, Bangborn, Rungsit Varin and Chaibadan in plastic pots. When the DNA detection technique was applied, results showed that soybean grain from markets were imported one and were mingling with genetically modified soybean with their germination ration varied from 20.8 to 70.8%. This indicated the feasibility of these grain integrating into the agricultural system. The investigation of soybean seeds and grain from planting area in upper central and northern part revealed the mingling of genetically modified one of 25 samples from 38 samples with their high germination ratio enough to be circulated within the soybean production system. It was possible that the mingling of the genetically modified soybean was due to the inappropriate handling by human or the natural crossing among varieties by insect pollinators. In gene flow studies, The DNA bands corresponding with 35S DNA fragment were identified in soil bacteria, in nodule bacteria, in bacteria living in digestive tract of bee fed with the genetically modified soybean powder. DNA bands were also remained in the representative soil series at 84 days after application.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยีนen_US
dc.subjectดินen_US
dc.subjectจุลชีพen_US
dc.titleการประเมินความเสี่ยงของการไหลเวียนของยีนจากพืชจำลองพันธุ์ไปสู่พืชและจุลชีพในดินen_US
dc.title.alternativeRisks assessment of gene flow from transgenic plants to plants and soil microoganismsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPiyasak.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_ja_front_p.pdf753.89 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_ch1_p.pdf569.68 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_ch2_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_ch3_p.pdf923.89 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_ch4_p.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_ch5_p.pdf649.37 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_ja_back_p.pdf932.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.