Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72637
Title: การเปรียบเทียบการใช้อ๊อกซิย์เจ็นของร่างกายในขณะออกกำลังในอากาศร้อนแห้งและร้อนชื้น
Other Titles: Comparison of oxygen consumption during exercises in hot-dry and hot-humid conditions
Authors: ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Advisors: อวย เกตุสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ออกซิเจนในร่างกาย
การออกกำลังกาย
Oxygen in the body
Exercise
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบปริมาณการใช้อ๊อกซิย์เจ็นของร่างกายในขณะออกกำลังในอากาศร้อนแห้ง (อุณหภูมิ ๔๐°ซ., ความชื้นสัมพัทธ์ ๕๕%) และในอากาศร้อนชื้น (อุณหภูมิ ๔๐°ซ., ความชื้นสัมพัทธ์ ๘๕%) โดยให้นิสิตชายที่มีสุขภาพสมบูรณ์จำนวน ๙ คน ออกกำลังด้วยการถีบจักรยานวัดงานในอากาศแวดล้อมแต่ละแบบเป็นเวลา ๙ นาทีขณะถีบจักรยานวัดปริมาตรอากาศหายใจออก อัตราการเต้นของชีพจร อุณหภูมิทวารหนัก เก็บอากาศหายใจออกในขณะออกกำลัง ๓ ระยะๆ ละ ๓ นาทีมาวิเคราะห์หาเปอร์เซนต์อ๊อกซิย์เจ็นและเปอร์เซนต์คาร์บอน ไดอ๊อกไซด์ เพื่อคำนวณปริมาณการใช้อ๊ออกซิย์เจ็นในอากาศแวดล้อมทั้งสองผลปรากฎว่าปริมาณการใช้อ๊อกซิย์เจ็นของร่างกายในขณะออกกำลังในอากาศร้อนแห้งและร้อนชื้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .๐๑) และจากการศึกษาอื่นๆ ปรากฎว่าในการออกกำลังในอากาศร้อนชื้น อัตราการเต้นของชีพจร อุณหภูมิทวารหนักและน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่า แต่สมรรถภาพการจัดอ๊อกซิย์เจ็นสูงสุดต่ำกว่าขณะออกกำลังในอากาศร้อนแห้งอย่างมีนัยสำคัญ (ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .๐๑) สรุปได้ว่าในการออกกำลังหนักปานกลางเป็นเวลา ๙ นาทีในอากาศร้อนแห้งและร้อนชื้นปริมาณการใช้อ๊อกซิย์เจ็นของร่างกายไม่แตกต่างกันแต่ข้อมูลอื่นๆ เช่นอัตราการเต้นของชีพจร อุณหภูมิทวารหนัก การลดของน้ำหนักตัว (ปริมาณการหลั่งเหงื่อ) แสดงว่าในอากาศร้อนชื้น ผู้ออกกำลังมีความเหน็ดเหนื่อยมากกว่าและมีสมรรถภาพในการทำงานน้อยกว่าในอากาศร้อนแห้ง
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the oxygen consumption during exercised under hot-dry (40°C., 55 % R.H.) and hot-humid (40°C., 85% R.H.) conditions. The indirect open circuit calorimetry method was used in this experiment. The subjects, 9 healthy male students, exercised in each atmosphers for 9 minutes. The gas volume was collected and analyzed in 3 periods, each lasting 3 minutes. The pulse rate and the rectal temperature were recorded. It was found that there was no significant difference (at the .01 level) between the oxygen consumption during exercised in the two ambient conditions (hot-dry and hot-humid), but the pulse rate, rectal temperature and loss in body weight significantly higher and the maximum oxygen uptake lower in the hot-humid than in the hot-dry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72637
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1974.3
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1974.3
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapat_la_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ919.4 kBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_ch1_p.pdfบทที่ 11.35 MBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_ch2_p.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_ch3_p.pdfบทที่ 3970.76 kBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_ch4_p.pdfบทที่ 41.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_ch5_p.pdfบทที่ 5761.62 kBAdobe PDFView/Open
Prapat_la_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.