Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72658
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ ปัทมาคม-
dc.contributor.authorธรรมรงค์ บุญสนอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-05T08:00:10Z-
dc.date.available2021-03-05T08:00:10Z-
dc.date.issued2516-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72658-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516en_US
dc.description.abstractความมุ่งหมายการวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาการทดลองใช้ภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรสอนการประดิษฐ์ตัวอักษรในวิชาโสตทัศนศึกษาเปรียบเทียบกับการสอนแบบบรรยายในระดับอุดมศึกษา การดำเนินงานคัดเลือกกลุ่มนิสิตที่มีความสามารถและพื้นฐานความรู้ทางโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาตรีเท่าๆ กัน 4 กลุ่มๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 2, 3, 4 เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมเรียนแบบบรรยายเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตัวอักษรทั้ง 3 เรื่อง กลุ่มทดลองเรียนวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจากการดูภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตร กลุ่มละเรื่องหลังจากนั้นให้ทุกคนตอบแบบทดสอบก่อนและทำงานภาคปฏิบัติ สำหรับกลุ่มที่เรียนจากภาพยนตร์ให้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนจากภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบและจากงานภาคปฏิบัตินำไปคำนวณ-ตามวิธีทางสถิติหาผลต่างของคะแนนเฉลี่ยและคิดเป็นร้อยละ ผลของการวิจัยจากผลการเรียนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญแสดงว่าภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรเป็นอุปกรร์ที่สามารถใช้สอนแทนครูได้และเหมาะสำหรับใช้ในการฝึกทักษะ จากแบบสอบถามความคิดเห็นนิสิตส่วนใหญ่ชอบเรียนด้วยภาพยนตร์และช่วยให้มีความเข้าใจได้เร็วและดีขึ้น ข้อเสนอแนะภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรเป็นอุปกรณ์การสอนที่มีประสิทธิภาพและมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรที่นักการศึกษาและนักบริหารการศึกษาจะพิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิตและการนำเอามาใช้ในวงการศึกษาของไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรประกอบการสอนวิชาและระดับชั้นต่างๆ อย่างถูกต้องและให้มีคุณค่าทางการศึกษาอย่างแท้จริง-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับการเมืองที่จัดพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 จำนวน 94 เล่มเพื่อศึกษาแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองหลังวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งออกมาในรูปหนังสือ วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีอ่านหนังสือที่เป็นตัวอย่างประชากรจำนวน 94 เล่มโดยแยกหนังสือออกตามประเภทผู้จัดพิมพ์และผู้แต่งรวม 6 กลุ่มด้วยกันการอ่านหนังสือเพื่อสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาตามตารางวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านลัทธิการเมือง 4 ลัทธิและหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 41 ข้อคือลัทธิประชาธิปไตยประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 11 ข้อ ลัทธิฟาสซิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 9 ข้อ ลัทธิสังคมนิยมประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 6 ข้อและลัทธิคอมมิวนิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 15 ข้อ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีขีดรอยคะแนนลงในตารางวิเคราะห์รวมรอยคะแนนเป็นความถี่แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่เฉลี่ยและหาค่าร้อยละของจำนวนหนังสือที่บรรจุเนื้อหาแต่ละเรื่อง สรุปผลการวิจัย 1. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองของหนังสือซึ่งแบ่งตามประเภทผู้จัดพิมพ์พบว่าหนังสือกลุ่มที่จัดพิมพ์โดยนิสิตนักศึกษาทั้งหมด 39 เล่มมีหนังสือ 2 กลุ่มที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการรวม 29 เล่มคิดเป็นร้อยละ 74.36 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ส่วนหนังสืออีกกลุ่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มหรือร้อยละ 25.64 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยสำหรับหนังสือที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือกลุ่มหนึ่งที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 31 เล่มคิดเป็นร้อยละ 56.37 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยและอีก 24 เล่มหรือร้อยละ 43.63 ที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการเน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ 2. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์เป็นนิสิตนักศึกษาจำนวน 39 เล่มมีหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชน ความถี่เฉลี่ย 11.4 รองลงมาคือเรื่องหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 10.2 และ 6.9 ตามลำดับหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 17 เล่ม เน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 4.71 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นความถี่เฉลี่ย 4.41 และ 4.05 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 12 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงความถี่เฉลี่ย 8.67 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยมและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความถี่เฉลี่ย 5.87และ4.67 ตามลำดับ 3. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือจำนวน 31 เล่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องหลักเสรีภาพมากที่สุดความถี่เฉลี่ย 8.42 รองลงมาคือเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชนและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 5.29 และ 3.61 ตามลำดับ หนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 19 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 3.89 รองลงมาคือหลักการแห่งระบอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 3.47และ 2.67 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 5 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องการปฏิบัติของ วี.ไอ.เลนิน ความถี่เฉลี่ย 6.0 รองลงมาคือเรื่องรัฐและการสูญสิ้นไปของรัฐและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 5.8 และ 5.0 ตามลำดับ 4. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นของหนังสือซึ่งแบ่งออกตามประเภทของผู้แต่งพบว่าหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิประชาธิปไตยมากที่สุดหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุดและหนังสือแปลมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุด 5. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นจากลักษณะเนื้อหาและจุดประสงค์ของหนังสือทั้งหมด 94 เล่มพบว่าหนังสือจำนวน 41 เล่มคิดเป็นร้อยละ 43.62 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสม์และวิเคราะห์วิจารณ์ระบบสังคมตามแนวปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือจำนวน 27 เล่มหรือร้อยละ 28.72 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ลัทธิประชาธิปไตยพร้อมกับวิเคราะห์ปัญหาการเมืองของไทยหนังสือจำนวน 14 เล่มหรือร้อยละ 14.89 มีเนื้อหาว่าด้วยลัทธิต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเป็นกลางหนังสือจำนวน 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่สนับสนุนลัทธิสังคมนิยมและอีก 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์-
dc.description.abstractalternativeTo study the effectiveness of teaching lettering with 8 millimetre filmloops as compared to conventional teaching at the undergraduate student level. ProcedureUndergraduate students equal in ability and basic knowledge of audio-visual education, were selected and divided into four groups, ten in each group. The first group was control, the second, the third and the forth were experimental. The control group learned three topies about techniques of lettering from lectures. The experimental groups learned one topie about the techniques of lettering from 8 millimetre filmloop. The students were given tests and allowed to practice by themselves. During the test, student in experimental groups were asked about opinions regarding their study of lettering techniques from 8 millimetre filimloops. Results of the written tests and practices were statistically computed to find mean and percentages. ResultsThere was no significant difference between the control and experimental groups. However it was shown that 8 millimetre filmloops can be used in practicing skills in the classrooms. It was also found that studying by 8 millimetre filmloops yields better learning experiences. The students also expressed their desire to study other subjects from 8 millimetre filmloops.-
dc.description.abstractalternativeThe major purpose of this study was to analyze the content of Thai books on politics published from October 14, 1973 to January 26, 1975. Methods and Procedures: The research was conducted by reading a group of ninety-four books divided according to the publishers and authors. A content analysis table was constructed which consisted of four main categories of political ideologies, namely, democracy, fascism, socialism and communism, and of forty-one sub-categories. The collected data were thereafter analyzed on mean and percentage basis. Conclusions: 1. Of thirty-nine books published by students, twenty-nine (73.36%) emphasized communism, and ten (25.64%) democracy. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one (56.37%) emphasized democracy, and twenty-four (43.63%) communism. 2. Of thirty-nine books published by students, ten were written by scholars who concentrated on government by consent (mean=11.4), freedom (mean=10.2) and equality (mean=6.9). Seventeen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=4.71), Mao’s theory of revolution (mean=4.41) and the theory of class struggle (mean=4.05). Twelve translated books emphasized Mao’s theory of revolution (mean=8.67), imperialism (mean=5.87) and the theory of class struggle (mean=4.67). 3. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one were written by scholars dealing with freedom (mean=8.42), government by consent (mean=5.29) and equality (mean=3.61). Nineteen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=3.89), common ownership (mean=3.47) and Mao’s theory of revolution (mean=2.67). Five translated books principally discussed Lenin’s theory of revolution (mean=6.0), the withering away of the state (mean=5.8) and Mao’s theory of revolution (mean=5.0). 4. A comparison of book content as categorized by types of authors showed that books written by scholars mostly discussed democracy, while those by non-scholars, as well as translated ones, mainly concentrated on communism. 5. Concerning writing styles and objectives, of the total of ninety-four books, forty-one (43.62%) aimed at publicizing communism, analyzing and discussing social systems from Marx’s theory of historical materialism. Twenty-seven books (28.72%) were written to publicize democracy as well as to analyze Thai political problems. Fourteen books (14.89%) objectively talked about different political theories. Six books (6.38%) were in favor of publicizing socialism whereas another six (6.38%) were anti-communist.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1973.5-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตัวอักษรประดิษฐ์ -- การสอนด้วยสื่อ -- ไทยen_US
dc.subjectภาพยนตร์เพื่อการศึกษา -- ไทยen_US
dc.subjectTeaching -- Aids and devices -- Thailanden_US
dc.subjectMotion pictures in education -- Thailand-
dc.subjectCalligraphy-
dc.titleการทดลองสอนการประดิษฐ์ตัวอักษรในวิชาโสตทัศนศึกษาโดยใช้ภาพยนตร์แบบลู้พ 8 มิลลิเมตรen_US
dc.title.alternativeExperiment of teaching lettering techniques by 8 millimetre filmloopsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1973.5-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thumrong_bo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ972.69 kBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_ch1_p.pdfบทที่ 11.68 MBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_ch2_p.pdfบทที่ 22.68 MBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_ch3_p.pdfบทที่ 3777.83 kBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_ch4_p.pdfบทที่ 4802.76 kBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_ch5_p.pdfบทที่ 5823.59 kBAdobe PDFView/Open
Thumrong_bo_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.