Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72751
Title: | การคัดเลือกและลักษณะสมบัติของเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์จากแลคติกแอสิดแบคทีเรีย |
Other Titles: | Selection and characterization of exopolysaccharide from lactic acid bacteria |
Authors: | วรรษมน นิลสันเทียะ |
Advisors: | สุเทพ ธนียวัน สุชาดา จันทร์ประทีป |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suthep.T@Chula.ac.th Suchada.Cha@Chula.ac.th |
Subjects: | เอกโซโพลิแซ็กคาไรด์จากจุลินทรีย์ Microbial exopolysaccharides |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติของเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์จากแบคทีเรียสายพันธุ์ EN05 EN07 EN13 EN14 EP04 EP11 EP14 LAB1 LAB2 และ LAB3 พบว่า พอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตมีทั้งที่เป็นชนิดเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ และฮอมอพอลิแซ็กคาไรด์ สามารถละลายน้ำได้ดี ให้ความหนืดต่ำ พอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตจากกลุ่ม EN และ EP มีความสามารถในการอุ้มน้ำและการเป็นอิมัลซิไฟเออร์ได้ดีกว่ากลุ่ม LAB ขณะที่กลุ่ม LAB มีความเสถียรที่อุณหภูมิสูงกว่า และมีประสิทธิภาพในการผลิตพอลิแซ็กคาไรด์สูงกว่ากลุ่ม EN และ EP 4-5 เท่า จากการทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้นพบว่า กลุ่มที่มีรหัส EN และ EP เป็นแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae ขณะที่กลุ่ม LAB เป็นแบคทีเรียในกลุ่มแลคติกแอสิดแบคทีเรียซึ่งเป็นเชื้อไม่ก่อโรค จึงคัดเลือกกลุ่ม LAB มาศึกษาสมบัติเพิ่มเติม พบว่า พอลิแซ็กคาไรด์จาก LAB1 LAB2 และ LAB3 มีประจุเป็นกลาง มีความสามารถในการเป็นสเตบิไลเซอร์และเป็นสารก่อการจับกลุ่มได้ แต่ไม่มีความสามารถในการเกิดเจล โดยพบว่าพอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตได้จากแบคทีเรียสายพันธุ์ LAB1 มีลักษณะสมบัติที่ดีกว่าที่เหลือจึงคัดเลือกแบคทีเรียสายพันธุ์ LAB1 มาพิสูจน์เอกลักษณ์ของแบคทีเรียทางอนุกรมวิธานซึ่ง พบว่าเป็นแบคทีเรีย Weissella confusa (Lactobacillus confusus) จากนั้นหาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตพอลิแซ็กคาไรด์จากสายพันธุ์ LAB1 ในอาหาร MRS สูตรดัดแปลงใหม่ ที่ประกอบด้วย ซูโครสความเข้มข้น 5.0% และอัตราส่วน Yeast extract : Proteose peptone : Beef extract มีค่าเท่ากับ 0.5 : 0.5 : 1 เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนตามลำดับ ภายใต้ภาวะที่ปรับค่าความเป็นกรดเบสเริ่มต้นเท่ากับ 6.0 ภาวะการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในระดับขวดเขย่าอัตราเร็ว 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 18 ชั่วโมง พอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตได้มีค่าเท่ากับ 13.78 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร |
Other Abstract: | In the present study, characterization of exopolysaccharides (EPSs) from bacteria strain EN05 EN07 EN13 EN14 EP04 EP11 EP14 LAB1 LAB2 and LAB3 were performed. Polysaccharides from these strains were of either heteropolysaccharide or homopolysaccharide in nature with good water solubility and low viscosity. Polysaccharides from EN and EP groups have higher water holding and emulsifying activities than LABs. However, LAB group is more stable at high temperature and gave EPSs yield of 4-5 times that of EN and EP. Morphological characteristics and biochemical studies revealed EN and EP groups as Enterobacteriaceae and LAB as Lactic acid bacteria, a non-pathogenic organism. Further study and analysis of LAB polysaccharides showed that those from strains LAB1 LAB2 and LAB3 displayed a neutral characteristic, able to use as either stabilizer or flocculant while unable to use as gelling agent with LAB1’s polysaccharide showed superior characteristics as compare to that of LAB2 and LAB3. Based on above result, strain LAB1 was selected for further study. Taxonomic studies and 16SrDNA analysis classified strain LAB1 as member of Weissella confusa (Lactobacillus confusus). When grew in the modified MRS medium consist of 5% (w/v) sucrose, 0.5% (w/v) yeast extract, 0.5% (w/v) proteose peptone and 1% beef extract at optimum conditions of initial pH at 6.0 , at 200 rpm, 30°C for 18 hours strain LAB1 was able to produced the polysaccharide at 13.78 mg/ml. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72751 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5072449423.pdf | 94.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.