Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72841
Title: คุณสมบัติของวัสดุผงต่อระดับความเข้มที่เหมาะสมในการผสมคอนกรีต
Other Titles: Properties of powder on optimum mixing intensity for concrete mixing
Authors: คม บัวคลี่
Advisors: บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Boonchai.S@Chula.ac.th
Subjects: คอนกรีต -- การผสม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการผสมคอนกรีตถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพของคอนกรีต จากการศึกษา พบว่า ระดับความเข้มของการผสมซึ่งเป็นผลรวมระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผสมกับระยะเวลาการผสมจะส่งผลอย่างมากต่อคุณสมบัติของคอนกรีตโดยเฉพาะค่าการยุบตัว โดยการผสมที่ค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมจะทำให้คอนกรีตมีค่าการยุบตัวมากที่สุด งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของคุณสมบัติของวัสดุผงที่เกี่ยวกับรูปร่างและความละเอียดรวมไปถึงผลของสารลดน้ำอย่างมากที่มีต่อระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมในการผสมคอนกรีต โดยเลือกใช้วัสดุผง 5 ชนิดคือ ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 ซีเมนต์ผสม ฝุ่นหินปูนและเถ้าลอยจากแม่เมาะที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาดและใช้สารลดน้ำอย่างมากชนิดเมลามีนฟอร์มัลดีไฮต์คอนเดนเสท สำหรับผลของคุณสมบัติของวัสดุผง พบว่า การใช้วัสดุผงที่มีรูปร่างกลมจะช่วยลดทั้งพลังงานการผสมและระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมลงได้ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่างที่กลมจะช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างอนุภาครวมไปถึงมีความสามารถในการกระจายตัวที่ดีกว่ารูปร่างที่เป็นเหลี่ยมมุม ในด้านผลของความละเอียด พบว่า วัสดุผงที่มีรูปร่างเหมือนกันแต่มีความละเอียดมากขึ้นจะทำให้ค่าพลังงานการผสมมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ค่าระดับ ความเข้มของการผสมที่เหมาะสมจะไม่ขึ้นกับปริมาณน้ำในส่วนผสมแต่จะเป็นสัคส่วนโดยตรงกับรูปร่างของวัสดุผงที่ใช้งานวิจัยนี้จึงเสนอแบบจำลองที่ใช้ทำนายค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมจากผลของรูปร่างของวัสดุผงดังนี้ Ein = (2.44 -1.44)Ein.sphere โดย Ein.sphere จะเป็นค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมที่ตํ่าที่สุดที่ได้จากวัสดุผงรูปร่างกลม เช่น เถ้าลอยซึ่งมีค่าเท่าคับ 2.10 วัตต์-ชั่วโมงต่อปริมาตรของแข็งของวัสดุผสมที่มี หน่วยเป็นลิตร นอกจากนี้ยังเสนอแบบจำลองที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งให้ผลที่ใกล้เคียงกับผลการทดลองจริง สำหรับผลของสารลดน้ำอย่างมาก จากการศึกษาพบว่า การใส่สารลดน้ำอย่างมากจะช่วยลดทั้งพลังงานการผสมและระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมลงได้ โดยจะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ชนิดและปริมาณสารลดน้ำอย่างมาก คุณสมบัติของวัสดุผงที่ใช้รวมไปถึงปริมาณน้ำอิสระในส่วนผสม สำหรับค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมของมอร์ตาร์และคอนกรีตทั้งที่ใส่และไม่ใส่สารลดน้ำอย่างมากพบว่าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับสัดส่วนปริมาตรวัสดุผงต่อปริมาตรของแข็งทั้งหมดและค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมที่ได้จากเพสต์ แต่ในกรณีของคอนกรีตจะมีผลของการเคลื่อนที่ของหินที่จะช่วยกระจายอนุภาควัสดุผงได้อีกทางหนึ่งซึ่งลดค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมได้อีกประมาณ 20% ค่าระดับความเข้มของการผสมที่เหมาะสมที่ได้นี้ไม่ขึ้นกับชนิดของเครื่องผสม ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้เป็นดัชนีวัคคุณภาพการผสมได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตที่จะสามารถควบคุมกระบวนการผสมได้อย่างเป็นประสีทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: Mixing process is a major factor that greatly influences to the quality control of producing concrete. The previous research found that mixing intensity which is the total electrical power consumed by mixer greatly affects to the properties of ordinary concrete after mixing especially the slump value. Mixing at optimum intensity will produce the greatest slump. This research will study on the effects of properties of powder on optimum mixing intensity of concrete with and without HRWRA. Five types of powder have been used in this study which are cement Portland type I, cement Portland type III, mixed cement, limestone powder and three sizes of Mae-Moh fly ash. For the effects of powder properties, the study has shown that powder with spherical shape can reduce both mixing energy and optimum mixing intensity this is because it shows less friction between particles and has ability to be easier dispersed than angular shape. In case of the same shape, particles with higher fineness tend to increase mixing energy. The optimum mixing intensity of mixture without HRWRA is independent to the water-cement ratio but is greatly dependent on the shape of powder. This research will propose the experimental model for predicting optimum mixing intensity from the effect of powder shape that is Ein = (2.44 y /- 1.44) Ein.sphere where Ein.sphere is the lowest optimum mixing intensity given by spherical shape such as Mae-Moh fly ash and equals to 2.10 watt-hour per solid volume of mixture in litre unit. The other prediction models from this study have also shown good agreement with corresponding experimental results. For the effect of HRWRA, it has been found that HRWRA will reduce both mixing energy and optimum mixing intensity which depends on many factors such as type and quantity of HRWRA, type of powder and free water content in the mixture. The study has also indicated that the optimum mixing intensity of mortar and concrete both with and without HRWRA vary linearly to the ratio of solid volume fraction of powder to total solid volume in the mixture and the optimum mixing intensity of paste. But in case of concrete, the optimum mixing intensity will reduce about 20% because of the movement of coarse aggregate during mixing. The optimum mixing intensity does not depend on type of mixer therefore it can be used as an indicator to specify the mixing adequacy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72841
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.242
ISBN: 9740313469
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.242
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khom_bu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1 MBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_ch1_p.pdfบทที่ 11.37 MBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_ch2_p.pdfบทที่ 22.12 MBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_ch3_p.pdfบทที่ 32.09 MBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_ch4_p.pdfบทที่ 41.85 MBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_ch5_p.pdfบทที่ 5710.74 kBAdobe PDFView/Open
Khom_bu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก937.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.