Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72844
Title: ผลของกระบวนการความร้อนเชิงกลต่อการกัดกร่อนบริเวณขอบเกรนของเหล็กกล้าไร้สนิม 304
Other Titles: Effect of thermomechanical processing on stress corrosion cracking susceptibility of 304 stainless steels
Authors: กิติศักดิ์ โกศลวรรณธนะ
Advisors: วิศิษฐ ทวีปรังษีพร
เดโช ทองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Decho.T@Chula.ac.th
Subjects: เหล็กกล้าไร้สนิม
เหล็กกล้าไร้สนิม -- กระบวนการความร้อน
การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ การตรวจสอบผลของกระบวนการความร้อนเชิงกลที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนการอบให้ความร้อนที่ 900℃ ประมาณ 1 ชม. จากนั้นให้ความเครียดประมาณ 3% แล้วนำไปอบอีกครั้งที่ 900℃ ในระยะเวลา 3 นาที ต่อการกัดกร่อนอันเนื่องมาจากผลของความเค้นบริเวณขอบเกรนของเหล็กกล้าไร้สนิม 304 ด้วยเครื่องมือให้อัตราความเครียดช้า ประมาณ 1.75 x 10-6 ต่อวินาที ในสภาวะจำลองการกัดกร่อนด้วยสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟตและสารละลายผสมระหว่างโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไทโอซัลเฟต และกรดซัลฟิวริกที่อุณหภูมิห้องพบว่าพฤติกรรมการแตกร้าวอันเนื่องมาจากผลของความเค้นบริเวณขอบเกรนถูกควบคุมโดยปริมาณการเชื่อมต่อของขอบเกรนที่มีการตกตะกอนของโครเมียมคาร์ไบด์ ถ้าปริมาณของ ขอบเกรนที่มีการเชื่อมต่อกันของคาร์ไบต์ประมาณ 89% จะก่อให้ เกิดการแตกร้าวบนขอบเกรนได้ในทันที ซึ่งในสภาวะที่ถูกเซนซิไทซ์เหล็กกล้าไร้สนิม 304 ที่ผ่านกระบวนการความร้อนเชิงกลจะมีความต้านทานต่อการผุกร่อนที่ขอบเกรนมากกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม 304 ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการความร้อนเชิงกล ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม 304 ที่ผ่านการเซนซิไทซ์ที่ 650℃ นาน 8 ชม.เกิดการแตกร้าวขึ้นที่บริเวณขอบเกรนอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ค่าคุณสมบัติเชิงกลที่ตรวจวัดได้นั้น มีค่าลดตํ่าลงมากเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่นๆในสภาวะที่ถูกเซนซิไทซ์แตกต่างกันไปในขณะที่ลักษณะของการแตกตามขอบเกรนไม่ปรากฏในชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม 304 ที่ผ่านกระบวนการความร้อนเชิงกลในสภาวะที่ถูกเซนซิไทซ์และการทดสอบเดียวกัน
Other Abstract: The objective of this research was to determine the effect of thermomechanical processing, consisting of heat treating the as-received specimen at 900℃ for 1 hr followed by 3% reduction in thickness and heat treated again at 900℃ for 3 min, on intergranular stress corrosion cracking susceptibility of 304 stainless steel using slow strain rate tensile test at 1.75 x 10-6 s-1 in aggressive environment at ambient temperature. It was found that the intergranular cracking behavior was controlled by the influence of carbide linkage at sensitized grain boundary. The as-received specimen with 89% of carbide linkage failed rapidly by intergranular stress corrosion cracking after 8 hr of sensitization. In general, the thermomechanically processed specimens have a higher resistance to sensitization, and thus intergranular corrosion and cracking than those as-received specimen. The result was substantiated by the reduction in mechanical strength in as-received specimen as compared to thermomechanically processed specimens.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72844
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.241
ISBN: 9740311091
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.241
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittisak_ko_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ846.77 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1805.29 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3905.56 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch4_p.pdfบทที่ 4995.95 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5974.59 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_ch6_p.pdfบทที่ 61.91 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.