Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7287
Title: รูปแบบการวางแผนครอบครัวเพื่อควบคุมโรคธาลัสซีเมียและพาหะ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Family planning model for thalassemia control
Authors: รัตนา สินธุภัค
ปิยลัมพร หะวานนท์
อรอุมา ซองรัมย์
เขมิกา ยามะรัต
ไพลิน ศรีสุโข
กัลยาณี ตันศฤงฆาร
วนิดา กมลฉ่ำ
สมเกียรติ อรุณภาคมงคล
บุษบา เตชาชัยนิรันด์
Email: Ratana.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
khemika.y@chula.ac.th
Pailin.S@Chula.ac.th
Kalayanee.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธาลัสสีเมีย
การวางแผนครอบครัว
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษารูปแบบการวางแผนครอบครัวเพื่อคุมกำเนิดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อลดอัตราเกิดของผู้เป็นพาหะ และโรคธาลัสซีเมีย สถานที่ที่ทำการศึกษา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 4 ราชบุรี สถานีอนามัย 35 แห่ง ในกิ่ง อ.บ้านคา อ.สวนผึ้ง อ.เมือง และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ได้ทำการศึกษา อาสาสมัครหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ ที่เป็นญาติพี่น้องของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งยังต้องการมีบุตร จำนวน 488 คน รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิธีการศึกษา ทำการศึกษาที่ 35 สถานีอนามัย จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีอุบัติการณ์ของธาลัสซีเมียสูง ให้ความรู้และให้การศึกษาด้านสุขภาพกับประชาชน โดยเฉพาะเครือญาติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งง่ายต่อการสร้างความตระหนัก ให้การปรึกษาถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และตรวจคัดกรองเลือดด้วยความสมัครใจ (OF และ DCIP) หลังการตรวจเลือด ให้บริการวางแผนครอบครัว ตามความเหมาะสม และด้วยความสมัครใจ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลแม่และเด็ก เพื่อตรวจละเอียดหาชนิดของฮีโมโกลบินด้วยวิธี HPLC (High Performance Liquid Chromatography) และการวิเคราะห์ด้วย PCR (Polymerase Chain Reaction) ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่ให้ผลเลือดบวกและต้องการที่จะมีบุตร ผลการศึกษา อาสาสมัครวัยเจริญพันธุ์ทั้งชายและหญิงจำนวน 488 คน ได้เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ภายหลังการให้ความรู้และให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ อาสาสมัครได้ยินยอมให้ตรวจเลือด พบว่า 312 คน (ร้อยละ 64) ให้ผลตรวจคัดกรองเป็นบวก การตรวจคัดกรองเลือดสามารถทำได้โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยซึ่งมีพื้นฐานการทำงานด้านป้องปฏิบัติการเพียงเล็กน้อยหลังผ่านการฝึกปฏิบัติเพียงครึ่งวัน และการให้การปรึกษาด้วยวิธีสำเร็จรูป ก็สามารถทำได้เช่นกัน เมื่อได้รับคำแนะนำเพียงสั้นๆ ผู้รับบริการพอใจการให้บริการนี้ พบว่าร้อยละ 94 เข้าใจง่ายหรือพอเข้าใจการให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ และร้อยละ 91 สามารถที่จะอธิบายต่อให้ผู้อื่นได้อย่างแน่นอนหรือพอได้ สำหรับผู้ให้บริการ พบว่ารูปแบบการให้บริการนี้ง่ายสามารถนำมาทำร่วมกับงานประจำที่ทำอยู่แล้ว และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ การตรวจเลือดเพื่อคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยวิธี OF และ DCIP ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ (IHR) ได้พัฒนา และให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยดำเนินการตรวจเลือดเอง ผลที่ตรวจมีความเชื่อถือได้สูงเกินร้อยละ 70 สรุป รูปแบบการควบคุมโรคธาลัสซีเมียที่ครบวงจรประกอบด้วย 1) การเผยแพร่ความรู้เรื่องธาลัสซีเมีย 2) ศึกษาในกลุ่มญาติพี่น้องของผู้ป่วย 3) ให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ พร้อมกับให้ความรู้ด้านสุขภาพ 4) ตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ 5) ให้การปรึกษาอย่างเหมาะสม และบริการวางแผนครอบครัว 6) การรู้จักวางระบบการส่งต่อ
Other Abstract: Objective: Study on family planning model for thalassemia control at specific target population in order to decrease infant birth rate of thalassemia and carriers. Settings: Health Promotion Centre, Region 4, Ratchaburi, 35 Health Centres from 3 Districts and Institute of Health Research, Chulalongkorn University. Subjects: Volunteers (488 cases) from the relatives of the patients at reproductive age with both sex who still need more children. Design: Operational Research. Methods: The study was carried out at 35 collaborating primary health care centres in Ratchaburi Province which has a high prevalence for thalassemia. Information and health education were given to the villagers, particularly to the relatives of known thalassemic cases who are to a certain degree aware of the consequences of the disease. Genetic counseling was offered and followed by voluntary blood tests (OF and DCIP). If required, appropriate family planning services could be given readily. Necessary arrangements were made to refer those who had a positive blood test for further study, e.g. a haemoglobin typing by HPLC and / or a polymerase chain reaction analysis, at a tertiary health care centre. Results: Four hundred and eighty eight (488) men and women were enrolled into the study. After a thorough education and genetic counseling, all clients volunteered for blood tests. Three hundred and twelve cases (64%) had positive screening tests. Blood tests could be accurately done by a person with little laboratory background after a half day training session. The genetic counseling kit was also proved to be simple and could be implemented by a low level staff member after a short instruction. All clients were satisfied with the service, 94% of them found the genetic counseling to be easily or fairly understandable and 91% can certainly or fairly explain to the others. The responsible health care providers found the whole service easily to carry out in addition to their normal routines and was highly appreciated by their customers. Blood thalassemia screening (OF and DCIP), developed by the Institute of Health Research (IHR), carried out by provincial health staffs showed reliability higher than 70%. Conclusion: The complete full cycle of thalassemia control compose of 1) dissemination of thalassemia knowledge 2) tracing the relatives of known thalassemic cases 3) genetic counseling and relevant health education 4) voluntary blood tests 5) giving suitable counseling for clients and family planning service 6) knowing how to work with referring system.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7287
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattana_family.pdf16.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.