Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7289
Title: การศึกษากลุ่มอาการที่มีร่วมกับประจำเดือน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Study on associated menstrual symptoms
Authors: รัตนา สินธุภัค
เอกพันธ์ ฤทธา
ไพลิน ศรีสุโข
เขมิกา ยามะรัต
เอื้อมพร คชการ
จงกล ตั้งอุสาหะ
บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์
Email: Ratana.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Pailin.S@Chula.ac.th
khemika.y@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ระดู
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการในรอบประจำเดือน และกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยทั่วไป 2. ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และ 3. ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ เพื่อให้อาสาสมัครเกิดทักษะในการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในรอบเดือนของตนเอง และเกิดความตระหนัก รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบพรรณนาโดยเก็บข้อมูลแบบตัดขวาง (Crossectional study) ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2541-2543 สถานที่ทำการศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างที่ทำการศึกษา สตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 11-45 ปี จำนวน 1,630 คน เป็นนิสิต / นักศึกษา ข้าราชการ บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พนักงานโรงงาน ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ครู อาจารย์ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และโรงเรียนหัวหิน โรงเรียนวังไกลกังวล ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิธีการศึกษา ใช้แบบสอบถามเป็นแบบตอบเอง (Self report questionnaire) ลักษณะเป็นแบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือน 7 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย กลุ่มอาการทางอารมณ์ และประสาท อาการระบบทางเดินอาหาร อาการทางกำลังกาย อาการคั่งของน้ำ อาการปวด / เมื่อย และอาการอื่นๆ ผลการศึกษา พบว่าอาสาสมัครที่ตอบแบบสอบถามมีอาการก่อนมีประจำเดือนสูงกว่า ระหว่างและหลังมีประจำเดือน คือร้อยละ 17, 11 และ 1 ตามลำดับ อาการที่มักเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ หงุดหงิด ปวดศีรษะ เจ็บตึงหน้าอก อยากอาหารเหมือนคนแพ้ท้อง ปวดท้อง มีสิว และตกขาว สรุป อาการก่อนมีประจำเดือนที่เป็นอุปสรรคมากหรือน้อยในการดำเนินชีวิต มีส่วนมากปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านองค์ประกอบส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสตรีเองมักไม่ค่อยได้ให้ความสนใจเนื่องจากเป็นปัจจัยที่ใกล้ตัว หรืออาจคิดไม่ถึง ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะงานที่ทำ ลักษณะอาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การมีปัญหาสุขภาพทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรให้ความรู้ในการดูแลตนเองทุกกลุ่มอายุ และระดับการศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
Other Abstract: Objective To study the factors that affect menstrual symptoms and premenstrual syndrome (PMS) in reproductive women. The study examined three factors: 1) general factors; 2) health behavioral factors and; 3) general health status factors. The goal of this study was to help women develop observational skills and raise awareness of PMS and its related symptoms. Design: Survey research: Two year crossectional study (1998-2000) Setting: Institute of Health Research, Chulalongkorn University Subjects: Volunteer women of reproductive age (between 11-45 years), n = 1,630. The sample was composed of students, government service workers, personnel of Chulalongkorn University, factory workers in central and boundary areas of Bangkok, students in secondary schools and teachers from Samutprakarn and Prachuap kiri khan provinces. Methods: The questionnaire was designed and pilot-tested. The questionnaire used self-report methods to examine 7 PMS related factors: mood, autonomic, gastrointestinal, energy level, fluid retention, pain and miscellaneous symptoms. Results: The comparative study of all symptoms before, during and after menstruation found that most of the symptoms: the mood syndromes (irritability), autonomic syndromes (headaches), gastrointestinal syndromes (increased appetite, food cravings), and fluid retention syndromes (breast tenderness, pain, or swelling) occurred before menstruation. Conclusion: The results indicate that premenstrual syndrome exists in reproductive women with symptoms ranging from mild to severe and interfering more or less with daily functioning. The symptoms were influenced by various factors including general factors (weight, education), health behaviors and general unrelated health problems) and (inappropriate) life style behavioral factors which were identified as least important to the women themselves. The complete results and discussion will be shown in the paper.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7289
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratana.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.