Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72927
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิราพร ณ ถลาง | - |
dc.contributor.author | อภิลักษณ์ เกษมผลกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-25T08:36:02Z | - |
dc.date.available | 2021-03-25T08:36:02Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72927 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทยทั้งในแง่การสร้างสรรค์และบทบาท ผู้วิจัยได้รวบรวมตำนานพระศรีอาริย์ในทุกภูมิภาคของสังคมไทย ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์และข้อมูลมุขปาฐะจำนวน 149 เรื่อง ผู้วิจัยได้จำแนกตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทยออกตามเนื้อหาของตำนานเนื้อหาตำนานพระศรีอาริย์ได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเรื่องประวัติพระพุทธเจ้า 2) กลุ่มเรื่องพระมาลัย 3) กลุ่มเรื่องพญากาเผือก 4) กลุ่มเรื่องบุพกรรมของพระศรีอาริย์ 5) กลุ่มเรื่องพระศรีอาริย์เป็นพระเกจิชื่อดัง 6) กลุ่มเรื่องพระโคดมพระศรีอาริย์เสี่ยงทายดอกบัว 7) กลุ่มเรื่องพระยาธรรมิกราช 8) กลุ่มเรื่องคำพยากรณ์ ผู้วิจัยได้จำแนกและวิเคราะห์วิธีการสร้างสรรค์ตำนานพระศรีอาริย์ ออกเป็น 2 ลักษณะคือ ตำนานที่สร้างสรรค์โดยการปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากคัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งมีการเพิ่มเติมเนื้อหาใน 3 แบบ ได้แก่ เพิ่มการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพระอดีตพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้ากับพระศรีอาริย์ ผ่านแนวคิดเรื่องกรรม เพิ่มการอธิบายรายละเอียดของพระศรีอาริย์ในอดีตชาติ เพิ่มรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยุคสมัยที่พระศรีอาริย์มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ในขณะที่ ตำนานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในสังคมไทยที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา มีการสร้างสรรค์ใหม่ 4 แบบ ได้แก่ การสร้างเรื่องใหม่โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพระโคตมพุทธเจ้ากับพระศรีอาริย์ การสร้างเรื่องใหม่โดยการสร้างอดีตชาติเพิ่มผนวกเข้ากับโครงสร้างชีวิตเดิม การสร้างเรื่องใหม่โดยการจินตนาการสภาพสังคมในยุครอยต่อระหว่างศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ รวมถึงการสร้างเรื่องใหม่โดยการเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ซึ่งจากการวิเคราะห์การสร้างสรรค์ตำนานพระศรีอาริย์ข้างต้น ทำให้พบว่าเมื่อนำตำนานพระศรีอาริย์ทั้งหมด มาจัดเรียงตามลำดับระยะเวลาตั้งแต่ชาติก่อนพุทธกาลจนถึงเกิดเป็นพระพุทธเจ้าศรีอาริย์ ทำให้ได้โครงสร้างชีวิตของพระศรีอาริย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งช่วงชีวิตที่ปรากฏในโครงสร้างถูกนำมาใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ โดยกลุ่มคนหลากหลายสถานภาพ ในการวิเคราะห์บทบาทของตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทย ผู้วิจัยพบว่าตำนานพระศรีอาริย์มีบทบาทสำคัญในฐานะตำนานศาสนา ในการสร้างระบบความเชื่อเรื่องพระอนาคตพุทธเจ้าและโลกอุดมคติ เป็นกลไกตอบสนองความปรารถนาทางใจแก่พุทธศาสนิกชน สร้างมาตรฐานทางศีลธรรม และสร้างคำอธิบายเรื่องที่มาของพิธีกรรมทางศาสนา มีบทบาทในทางการเมืองในการการสร้างคำอธิบายสถานภาพ และความชอบธรรมทางการเมือง และสร้างกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติให้แก่สมาชิกในสังคม รวมถึงบทบาทในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทั้งทางด้านประติมากรรม จิตรกรรม และคีตกรรม ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนให้เห็นความแพร่หลาย และบทบาทของตำนานพระศรีอาริย์ในหลากหลายมิติในสังคมไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | To study Phra Sri An myths in Thai society concerning their creation and roles. The 149 stories of Phra Sri An were gathered from every region of Thailand, both written and oral versions. Phra Sri An myths in Thai society can be classified into 8 subgroups. They are 1) the Buddha’s life history stories, 2) the Phra Malai stories, 3) the Chief white crow stories, 4) Phra Sri An’s previous karma stories, 5) the Venerable monks as Phra Sri An Bodhisattva stories, 6) the Lotus scheme stories, 7) the Dammikkaraj Kings stories and 8) the Prophecy stories. The creation of Phra Sri An myths is categorized into 2 groups. The first group, the myths created by the adaptation from Buddhist scripture, is modified by adding the relationship between Gotama Buddha and Phra Sri An which is based on the concept of Karma, adding the description of Phra Sri An’s previous lives, and adding the details of Phra Sri An’s era. Whereas the second group, the myths newly created in Thai society, is composed with an intention to explain the linkage between Gotama Buddha and Phra Sri An, combine Phra Sri An’s previous lives into his life structure, describe the imagined social states in the religious gap, and connect the story to Thai localities. Putting all the myths from the time before Gotama Buddha’s era to the time of his enlightenment enhances the complete life structure of Phra Sri An. Various stories of Phra Sri An are used in many aspects by many people from different social status. The analysis of the roles of Phra Sri An myths in Thai society reveals that these myths play the significant role as religious myths. Concerning the religious function, the myths construct the systematic belief about the future Buddhas and the ideal world, provide the wish–fulfillment mechanism for the Buddhists, enforce the moral standard, and justify the rituals. Regarding the political function, they establish not only the explanation for people’s social status and their politic rights but also social rules for people in the society. Moreover the myths have function in art, they are the inspiration for the creation of sculptures, paintings and music. All of these functions confirm the popularity of Phra Sri An myths and their roles in various aspects in Thai society. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.183 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมพุทธศาสนา -- ตำนาน | en_US |
dc.subject | พระศรีอาริย์ -- ตำนาน | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนากับสังคม | en_US |
dc.subject | ตำนาน | en_US |
dc.subject | ความเชื่อ | en_US |
dc.subject | ไทย -- ภาวะสังคม | en_US |
dc.subject | Buddhist literature -- Legends | en_US |
dc.subject | Legends | en_US |
dc.subject | Belief and doubt | en_US |
dc.subject | Thailand -- Social conditions | en_US |
dc.title | ตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทย : การสร้างสรรค์และบทบาท | en_US |
dc.title.alternative | Myths of Phra Sri An in Thai society : creation and roles | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.183 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aphilak_ka_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 7.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 10.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Aphilak_ka_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.