Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72970
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ | - |
dc.contributor.advisor | วรรณชัย บุญบำรุง | - |
dc.contributor.author | มณิยาภรณ์ ระตินัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-29T04:58:17Z | - |
dc.date.available | 2021-03-29T04:58:17Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72970 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | หลักฟังความสองฝ่าย (Audi alteram partem) เป็นลักทฤษฎีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมและมีฐานะเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการต่อสู้คดีสำหรับคู่ความ หลักการนี้กำหนดห้ามมิให้ศาลจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่ความ หากมิได้รับฟังและมิได้ให้โอกาสแก่เขาในอันที่จะชี้แจงแสดงเหตุผลก่อน รวมทั้งกำหนดให้ศาลจะต้องเอื้ออำนวยให้คู่ความทุกฝ่ายได้รับสิทธิต่างๆ ที่จะช่วยให้เขาสามารถโต้แย้งต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เช่น การจัดให้คู่ความได้รับทราบข้อกล่าวหาหรือเรื่องที่ฟ้อง รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับคดีภายในระยะเวลาอันสมควร การให้โอกาสอย่างเพียงพอสำหรับโต้แย้งคัดค้าน ในอดีต หลักฟังความสองได้รับยึดถืออย่างเคร่งครัด แต่ต่อมาเนื่องจากการบังคับใช้หลักฟังความสองฝ่ายอย่างเคร่งครัดก่อให้เกิดข้อขัดข้องในทางวิธีพิจารณา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงไปของแนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมสมัยใหม่ที่จะต้องประกอบไปด้วยมิติแห่งความยุติธรรม 3 ประการ คือ การได้มาซึ่งคำพิพากษาที่ถูกต้อง ความรวดเร็วในการดำเนินคดี และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม จึงทำให้หลักการนี้มีข้อยกเว้นมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาทำให้สรุปได้ว่า ปัจจัยที่จะนำมายกเว้นต่อหลักฟังความสองฝ่ายได้โดยอย่างเหมาะสม ได้แก่ ความรวดเร็วในการดำเนินคดี การรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ความไม่สุจริตของคู่ความ ความฉุกเฉิน การดำเนินกระบวนพิจารณาโดยลับ การรักษาพยานหลักฐาน ความคุ้มค่าในการดำเนินคดี เละเมื่อพิจารณาถึงข้อยกเว้นหลักฟังความสองฝ่ายที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่าข้อยกเว้นหลักฟังความสองฝ่ายที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยได้ยกเว้นต่อหลักฟังความสองฝ่ายอย่างเหมาะสมแล้ว | en_US |
dc.description.abstractalternative | The principle of Audi Alteram Partem is a part of a civil procedural law theory. This principle is considered as a symbol of justice and as a guarantee of fundamental rights of disputing parties in litigation. Based on this principle, no court shall make any judgment or order that may affect the rights of disputing parties without admission and giving an opportunity for disputing parties for any explanation and the court shall also serve all disputing parties to have rights for objection and litigation without limitation ; making an arrangement for each disputing party to acknowledge the charge or the subject of the plaint including all detail about the case within the appropriate time, and giving an adequate opportunity for disputing. In the past, the principle of Audi Alteram Partem was strictly observed. However, later on, the strict observation causes difficulties in the pragmatic respect of procedure. Besides, the modern justice concept is changed and shall include three-dimension mandatory components of justice; acquisition of proper judgment (the dimension of truth), speed of justice (the time dimension), and the proper cost of justice (the cost dimension). This new concept has generated more exceptions against the principle. This study found that the reasonable facts causing the exception against the principle of Audi Alteram Partem are speedy, the procedure problems, interfering with the court, the dishonest of disputing parties, urgency, secrecy, protection of witness and evidence and the worthiness of litigation. After focusing on the exception of the principle of Audi Alteram Partem in present Thailand, we found that the exceptional practices against the principle is observed appropriately. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วิธีพิจารณาความแพ่ง | en_US |
dc.subject | การฟังคู่กรณีทุกฝ่าย | en_US |
dc.subject | Civil procedure | en_US |
dc.subject | Audi alteram partem | en_US |
dc.title | หลักฟังความสองฝ่ายในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง | en_US |
dc.title.alternative | The principle of audi alteram partem in civil procedure | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Maniyaporn_ra_front_p.pdf | 956.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_ch1_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_ch2_p.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_ch3_p.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_ch4_p.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_ch5_p.pdf | 844.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maniyaporn_ra_back_p.pdf | 870.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.