Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73073
Title: การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูประถมศึกษาในจังหวัดลพบุรี
Other Titles: The receptivity to educational innovations of elementary school teachers in Lop Buri provinc
Authors: ชูชาติ บุญชู
Advisors: แรมสมร อยู่สถาพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ramsamorn.y@chula.ac.th
Subjects: ครู -- วิจัย
นวัตกรรมทางการศึกษา
ครูประถมศึกษา
Teacher -- Research
Educational innovations
Elementary school teachers
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจและเปรียบเทียบการยอมรับวัตกรรมทางการศึกษาโดยทั่วไปและการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันของครูประถมศึกษาในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์วิชาชีพและขนาดโรงเรียน สมมติฐานในการวิจัย คือ การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูหญิงและครูชาย ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี กับครูที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี ครูที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพน้อยกว่า 5 ปี ตั้งแต่ 5-10 ปี และ 10 ปีขึ้นไป และครูที่สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ กลางและเล็ก แตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูประถมศึกษาในจังหวัดลพบุรี จำนวน 408 คน จาก 24 โรงเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูประถมศึกษาซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยแบบสอบถาม Teacher Receptivity to Change Measure ของบริดจ์ส (Bridges) แบบสอบถามการสำรวจปัญหาและเจตคติของครูในเอเชียที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา และจากหลักการเรียนรู้และสร้างสื่อการเรียนการสอนและวิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในหน่วยการเรียนต่าง ๆ ของโครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) แบบสอบถามแบ่งออกเป็นสองตอนคือ แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบัน ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้จากการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Coefficient Alpha) ของครอบบาช (Cronbach) เท่ากับ .9929 ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยการห่าค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) ข้อค้นพบ ผลที่ได้จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูประถมศึกษาในจังหวัดลพบุรีในระดับสูง ในด้านการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษา โดยทั่วไปนั้นพบว่าการยอมรับอยู่ในระดับสูงมากที่สุดในกรณีที่นวัตกรรมทางการศึกษาที่จะนำเข้ามาใช้ในโรงเรียนนั้น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและหน่วยการเรียนการสอน และถ้าครูได้มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมสัมมนา รับทราบแนวความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมั่นใจในด้านที่เกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรทางการศึกษาที่ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบันนั้นพบว่าการยอมรับแบบเรียนสำเร็จรูปอยู่ในระดับสูงสุด ในด้านการเปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาดังกล่าวพบว่า ครูประถมศึกษาที่แตกต่างกันในด้านเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์วิชาชีพมีการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาโดยทั่วไปและที่ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบันไม่แตกต่างกันที่ระดับความีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ครูประถมศึกษาซึ่งสอนอยู่ในโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่มีการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่มีการยอมรับนวัตกรรทางการศึกษาที่ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบันมากกว่าครูในโรงเรียนขนาดกลาง ครูประถมศึกษาซึ่งสอนอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง กับโรงเรียนขนาดเล็กมีการยอมรับนวัตกรรมทางการกศึกษาโดยทั่วไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูในโรงเรียนขนาดกลาง มีการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาโดยทั่วไปมากกว่าครูในโรงเรียนขนาดเล็ก
Other Abstract: The purposes of this research were to survey and compare the degree of receptivity to educational innovations in general and to educational innovations used nowadays of the elementary school teachers in Lop Buri province according to sex, educational attainment, Teaching experiences, and school sizes The research hypothesis was the receptivity to educational innovations among teachers with the following attributes was different: male and female teachers; teachers with educational attainment lower and higher than bachelor degree; teachers with teaching experiences lesser than 5 years, between 5-10 years and more than 10 years; and teachers in large, middle, and small size schools. The subjects, obtained by stratified random sampling, were 408 elementary teachers from 24 schools. The instrument was a kind of rating scale question naire, constructed by the researcher, based on Bridges’ Teacher receptivity to Chang Meausure, the questionnaire on a survey of problems and attitudes of teachers in Asia towards the application of educational innovations at the elementary level, and from learning principles, media and teaching techniques used in teaching units of the Reduced Instructional Time Project (RIT). The questionnaire’s reliability tested by Cronbach’s Coefficient Alpha, was at .9929. The data were analyzed by percentages, mean, stan dard deviation, t-test and one way analysis of variance Findings: The research results reveal that overall the degree of the receptivity to educational innovations of the elementary school teachers was high. On the aspect of the receptivity to educational innovations in general, the teacher’s receptivity was at the highest level in case that educational innovations correlating with the aims of the curriculum and the teaching and learning units and if the teacher had a chance to participate in seminars, understand and were able to use that educational innovations confidently. On the aspect of the receptivity to educational, innovations used nowadays, the result indicated that the Programme Instruction was regarded as the highest accepted one. On the aspect of the comparison on the receptivity to educational innovations of the elementary school teachers according to sex, educational attainment, teaching experiences, the finding reveals on significant different at the .05 level The receptivity to educational innovations used nowadays of the elementary school teachers in the middle size schools and large size school were significantly different at the .05 level. The teachers in large size schools have more receptivity to education innovations used nowadays than the teachers in small size schools. The receptivity to educational innovations in general of the elementary school teachers I the middle size schools and small size schools were significantly different at the .05 level. The teachers in middle size schools have more receptivity to educational innovations in general than the teachers in small size schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73073
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.1
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1982.1
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanchai_ch_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ6.27 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_ch1.pdfบทที่ 14.24 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_ch2.pdfบทที่ 25.04 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_ch3.pdfบทที่ 39.32 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_ch4.pdfบทที่ 48.63 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_ch5.pdfบทที่ 53.85 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_ch_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก54.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.