Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7312
Title: | การเสพสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The consumption of pornographic materials by university students in Bangkok metropolis |
Authors: | นรบดี นิดรกูล |
Advisors: | นิเทศ ตินณะกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nithet.T@Chula.ac.th |
Subjects: | นักศึกษา ลามกอนาจาร สื่อลามกอนาจาร |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการเสพสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การเสพสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษารวมถึงศึกษาทัศนคติต่อสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 325 คน เป็นนิสิตนักศึกษา ในระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวนทั้งสิ้น 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ และ ค่าไคแสควร์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนของนักศึกษาหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกับนักศึกษาชาย ส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ด้วยกัน แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา มีรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเอน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยเสพสื่อลามกอนาจาร เริ่มเสพสื่อลามกอนาจาร ครั้งแรกตอนมัธยมศึกษาตอนปลาย เสพสื่อลามกอนาจารประเภทแรกคือ หนังสือและนิตยสาร เริ่มต้นเสพสื่อลามกอนาจารเพราะเพื่อนชวน สื่อลามกอนาจารที่กลุ่มประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่เสพมากที่สุด คือ วีซีดี ส่วนใหญ่ได้สื่อลามกอนาจาร โดยการคัดลอกหรือยืมจากผู้อื่น โดยเสพสื่อลามกอนาจารในช่วงกลางคืนในห้องส่วนตัวมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีการแพร่กระจายของสื่อลามกอนาจารในกลุ่มนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพบว่ากลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลในการชักชวนกับเสพสื่อลามกอนาจาร นอกจากนี้ยังพบว่า เพศและสภาพการพักอาศัยมีผลต่อการเสพสื่อลามกอนาจารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คณะที่นิสิตนักศึกษาศึกษาอยู่และทัศนคติต่อสื่อลามกอนาจารมีผลต่อการเสพสื่อลามกอนาจารอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This research was conducted to find out the behavior of the consumption of pornographic materials by university students in Bangkok metropolis, factors affecting their behavior and social attitude of university students about pornographic consumption. This study used questionnaires to collect data from a sample of 325 undergraduate students from Ramkhamhaeng University and used in-depth interviewing to collect data from 10 undergraduate students. Percentage and chi-square test were employed for data analysis. Research results showed the numbers of female sample were close to male sample. Most of the parents live together but respondents did not live with their parents. The family average income was lower than 15,000 baht per month. Most of them had seen pornography for the first time in high school and obtained pornographic materials from friends. VCD was the most popular form of pornographic consumption. When the hypotheses were tested, it was found that there was consumption of pornographic materials by university students in Bangkok. Most of samples were influenced by their peers. In addition, gender and living status had a significant impact on the consumption of pornographic materials at .05 level. On the contrary, their faculty affiliation and attitude toward pornographic materials had no significant impact on the consumption of pornographic materials at .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7312 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.415 |
ISBN: | 9741423624 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.415 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narabodee.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.