Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73136
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพิดา หิญชีระนันทน์-
dc.contributor.authorศุภณัฐ พุ่มประดิษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-04-21T04:21:12Z-
dc.date.available2021-04-21T04:21:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73136-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนของเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (fatty acid methyl ester, FAME) ที่ได้จากน้ำมันปาล์ม ถูกศึกษาโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล (Ni) บนตัวรองรับซิลิกาสองชนิด คือ ซิลิกาแบบเม็ด (silica commercial ball, SB) และซิลิกาแบบเส้นใย (silica fiber, SF) ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งแบบต่อเนื่องที่อุณหภูมิ 100-250 °ซ ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจนที่ความดัน 1-4 บาร์ และอัตราการป้อน FAME ที่ 0.3-0.7 มล./นาที เนื่องจากองค์ประกอบของ FAME ได้แก่ เมทิลลิโนลิเนต (methyl linolenate, C18:3) และเมทิลลิโนลิเอต (methyl linoleate, C18:2) มีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันต่ำ ดังนั้นโครงสร้างแบบเมทิลโอลิเอต (methyl oleate, cis-C18:1) จึงเป็นองค์ประกอบเป้าหมายเพราะมีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน และสมบัติการไหลที่อุณหภูมิต่ำที่ดี จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับ SB (Ni/SB) และนิกเกิลบนตัวรองรับ SF (Ni/SF) มีช่วงอุณภูมิรีดักชันของนิกเกิลออกไซด์ (NiO) ที่ 350–450 °ซ โดยปริมาณการดูดซับแก๊สไฮโดรเจน และความสามารถในการรีดักชัน (reducibility) ของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF สูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SB แสดงให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนมากกว่า ซึ่งเป็นผลมา จากมีการถ่ายโอนมวลสารที่ดีกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาแบบรูพรุน และพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 30%Ni/SF ที่ 200 °ซ ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจนที่ความดัน 1 บาร์ และอัตราการป้อน FAME ที่ 0.5 มล./นาที ให้ค่าการเปลี่ยนแปลง C18:2 และองค์ประกอบโครงสร้างแบบ cis-C18:1 ที่ 71% และ 41% ตามล้าดับ อย่างไรก็ตามพบโครงสร้างเมททิลอิไลเดต (methy elaidate, trans-C8:1) ที่ 3% เท่ากับการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 30%Ni/SB ที่สภาวะเดียวกัน แต่เมื่อปริมาณ Ni เพิ่มเป็น 40-50% และอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเพิ่มเป็น 250 °ซ ปริมาณ trans-C18:1 ของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อน้าตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF มาผ่านการฟื้นฟูสภาพพื้นผิวen_US
dc.description.abstractalternativeThe partial hydrogenation fatty acid methyl ester (FAME) derived from palm oil catalyzed was examined by using nickel (Ni) catalysts supported on two type of silica: commercial silica ball (SB) and silica fiber (SF) in a continuous fixed-bed reactor in temperature range of 100-250 °C under hydrogen atmosphere at 1-4 bar with FAME flow rate of 0.3-0.7 mL/min. Since the composition in FAME was consisted of methyl linolenate (C18:3) and methyl linoleate (C18:2) having poor oxidation stability, the methyl oleate (cis-C18:1) was desired due to its balance in term of oxidation stability and cold flow properties. The results showed that Ni/SB and Ni/SF catalyst had reduction temperature of nikel oxide (NiO) in range of 350-450 °C. It was observed that the H2 consumption and reducibility of Ni/SF catalyst was higher Ni/SB catalyst indicating that the Ni/SF catalyst had higher hydrogenation activity, due to the lower mass transfer limitation than porous catalysts. Moreover, the use of the 30%Ni/SF catalyst at 200 °C under 1 bar H2 pressure and the FAME floe rate of 0.5 mL/min provided C18:2 conversion and cis-C18:1 selectivity at 71% and 41%, respectively. However, the methyl elaidate (trans-C18:1) was found as 3%. This was equal that of the Ni/SB catalyst system at the same reaction condition as 3%. When the spent Ni/SF catalyst was regeneration for 5 times, the hydrogenation activity of this catalyst was decrease 28% possible due to the sintering effect of Ni particles or the loss of Ni particle.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.562-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไฮโดรจีเนชัน-
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซล-
dc.subjectตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล-
dc.subjectHydrogenation-
dc.subjectBiodiesel fuels-
dc.subjectNickel catalysts-
dc.titleการผลิตไฮโดรจิเนเตดไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนแบบต่อเนื่องโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลen_US
dc.title.alternativeHydrogenated biodiesel production via continuous partial hydrogenation catalyzed by nickel catalystsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.562-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sci_5872149923_Thesis_2018.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.