Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73146
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สุคนธทรัพย์-
dc.contributor.authorภัทรชา แป้นนาค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2021-04-21T08:19:49Z-
dc.date.available2021-04-21T08:19:49Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73146-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม และศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่า "ที" (t-test) และค่า "เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ แต่ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.23 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ โดยวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมีความรู้ และพฤติกรรมตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อยู่ในระดับสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to study and relationship among knowledge, attitude and behavior on 3E's health care principle of overweight adolescent in Bangkok. This research was a descriptive study. Sample sizes consisted of 400 Thai adolescent, both male and female, between 12 - 14 years old who study on lower secondary school in Bangkok. A questionnaire, created by the researcher, was used as a research tool. Data were analyzed by percentile, mean, standard deviation, t-test, F-test, and multiple comparisons by using Scheffe's method and set P-value at the 0.05 level. The relationship between media exposure, knowledge, attitude and behavior in obesity prevention was examined by Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The results of this study were as follows: There was no relationship between knowledge and attitude on 3E's health care principle but there was a significant relationship between attitude and behavior (p<0.05), the correlation coefficient was in the low level (0.23). The knowledge and behavior of Thai adolescent people on 3E's health care principle showed a moderate level while attitude showed a high level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1114-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง-
dc.subjectบุคคลน้ำหนักเกิน-
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ-
dc.subjectทัศนคติต่ออนามัย-
dc.subjectSelf-care, Health-
dc.subjectOverweight persons-
dc.subjectHealth behavior-
dc.subjectHealth attitudes-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe relationship of knowledge, attitude and behavior on 3E's health care principle of overweight adolescent in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuchitra.Su@Chula.ac.th,sukonthasab@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1114-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Spo_5878410739_Thesis_2018.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.