Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73381
Title: ภาพลักษณ์ของสมณะและความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาของญี่ปุ่นใน อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ
Other Titles: The image of bonzes and Japanese Buddhist Beliefs in Uji Shūi Monogatari
Authors: ยอดสวรรค์ อิกูจิ
Advisors: อรรถยา สุวรรณระดา
สิริมนพร สุริยะวงศ์ไพศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Attaya.S@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศรัทธา (พุทธศาสนา)
พุทธศาสนาในวรรณกรรม
พุทธศาสนา -- ญี่ปุ่น
Faith (Buddhism)
Buddhism in literature
Buddhism -- Japan
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของสมณะและความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาของญี่ปุ่นในนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ ที่มีสมณะเป็นตัวละครหลัก ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครสมณะมีภาพลักษณ์หลากหลายมีทั้งภาพลักษณ์ด้านบวกเช่น เป็นบุคคลผู้มีความเชื่อถือและยึดมั่นศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่และปฏิบัติตามคำสอนทางพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดและด้านลบ เช่น การประพฤติผิดศีลของพระโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังมีภาพลักษณ์ด้านอื่น ๆ เช่น เป็นบุคคลผู้ที่มีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดว่าเป็นผู้ประกอบกรรมดีหรือชั่วเพราะมีภาพลักษณ์ทั้งด้านบวกและลบในเรื่องเดียวกัน ส่วนในประเด็นความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่พบในนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในพุทธศาสนามหายานในนิกายต่าง ๆ ที่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาในสมัยเฮอันจนถึงสมัยคะมะกุระตอนต้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นช่วงที่มีการแต่งและรวบรวมนิทานเรื่องเล่า อุจิฌูอิ โมะโนะงะตะริ ลักษณะของความเชื่อสะท้อนออกมาในเชิงของวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องการขอฝน การสวดมนต์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยเป็นการใช้พุทธศาสนาเพื่อหวังผลในชาติปัจจุบันและชาติหน้ามากกว่าความเชื่อที่เป็นแก่นแท้ของปรัชญาพุทธศาสนาในลักษณะที่เป็นสากล ซึ่งสอนให้ผู้คนเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การกระทำความดีละเว้นความชั่ว การละอายและเกรงกลัวต่อบาป ความเชื่อส่วนใหญ่ที่พบในนิทานเป็นความเชื่อของสมณะในพุทธศาสนานิกายเท็นดะอิ (Tendai) นิกายฌิงงน (Shingon mikkyō) และนิกายโจโดะฌู (Jōdo) นอกจากนี้ยังพบความเชื่อในนิกายโจโดะฌินฌู (Jōdo Shin) นิกายฮซโซ (Hossō) นิกายคุฌะ (Kusha) และความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีการผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมในลัทธิชินโตแบบฌุเง็นโด (Shugendō) และอมเมียวโด (Onmyōdō) อีกด้วย
Other Abstract: This dissertation aims to study the image of the Bonzes and Japanese Buddhist Beliefs in Uji shūi Monogatari. Regarding to the study in Uji shūi Monogatari, the findings showed They owned various characters which not only represent the positive images but also the negative images representing their beliefs. For examples, positive images show what should be strictly followed according to their deep faith in the Buddhism’s doctrines. The negative images, on the other hand, show forbidden principles they had applied against the Buddhism’s doctrines. In addition, there are also other images which are difficult to interpret due to their ambiguity. Moreover, the religious beliefs in Buddhism in the story of claimed that most of the beliefs involved are with a ritual ceremony in Mahayana Practices, Having the beliefs in term of culture such as pray for rain or for treating illnesses by have shown the purpose of Buddhism practices to attain the achievement for present life and also into the next life. The practices have apparently demonstrated the profitable lifestyle rather than traditional beliefs in Buddhism as its actual substance in the aspect of “Karma”. The conservative of religious beliefs are like The most Buddhism beliefs found in the telling story were in Tendai Practice, Shingon Practice and Jōdo Practice which involve the positive image of the monks in these practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73381
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1049
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1049
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Art_5880519722_Yordsawan Ig.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.