Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73488
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.authorณัฐชา อุเทศนันทน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2021-05-24T06:23:51Z-
dc.date.available2021-05-24T06:23:51Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73488-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุตั้งแต่ 35 – 59 ปี จำนวน 263 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.64 ± 7.19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้ความเครียด มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดสุขภาวะทางจิตของ และ มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.60, p < .001), ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.11, p < .05) ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .001) ในขณะที่ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.00, p = .98) และการสนับสนุนทางสังคมก็ไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้เช่นกัน (b = -.00, p = .51) นอกจากนี้ ความเครียด ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตร้อยละ 50 (R² = .50, p < .001) โดยความเมตตากรุณาต่อตนเองมีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .51, p < .01) การสนับสนุนทางสังคม มีน้ำหนักในการทำนายรองลงมา (β = .19, p < .001) ในขณะที่ความเครียดมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = -.16, p < .001)en_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to examine relationships among stress and psychological well-being in middle adult with self-compassion and social support as moderators. Participants were 263 individuals with age range from 35 to 59 years old. Their mean age was 45.14 ± 7.19 years old. Research instruments were the perceived stress scale, the Self-compassion scale, the Multidimensional scale of perceived social support and Psychological well-being scales. The data was analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and Multiple regression analysis. Findings revealed that stress was significantly and negatively correlated with self-compassion (r = -.60, p < .001). Stress significantly and negatively correlated with social-support (r = .11, p < .05). Stress significantly and negatively correlated with psychological well-being (r = .53, p < .001). Self-compassion did not moderate the relation between stress and psychological well-being (b = -.00, p = .98). Social support did not moderate the relation between stress and psychological well-being (b = -.00, p = .51). Further, Stress, Self-compassion and Social support significantly predicted Psychological well-being and accounted for 50 percent of the total variance (R² = .50, p < .001) The most significant predictors of the Psychological well-being is Self-compassion (β = .51, p < .001) followed by Social support (β = .19, p < .001), and Stress (β = -.16, p < .01) respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.761-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุขภาวะ-
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)-
dc.subjectเมตตาและกรุณา-
dc.subjectWell-being-
dc.subjectStress (Psychology)-
dc.subjectCompassion -- Religious aspects -- Buddhism-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับen_US
dc.title.alternativeRelation between stress and psychological well-being in middle adults with self-compassion and social support as moderatorsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArunya.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.761-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Psy_5977609238_Nutcha Ut.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.