Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา หงษ์ไกรเลิศ-
dc.contributor.authorสิวาพร ธนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-01T07:42:17Z-
dc.date.available2021-06-01T07:42:17Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745820423-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73654-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม 3 ระดับ คือ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ในจังหวัดปัตตานีผ่านทางระบบพรรคการเมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง แตกต่างหรือเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ในแต่ละกลุ่มผู้นำศาสนา และ/หรือผู้นำศาสนาที่มีสถานภาพแตกต่างกันจะมีลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะใดบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิดของผู้นำศาสนาเหล่านี้ต่อระบบพรรคการเมืองไทย การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาในสองวิธีใหญ่ๆ คือ การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่างๆ กับการออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์ผู้นำศาสนาแล้วนำมาประมวลผลสรุปวิเคราะห์ การนำเสนอผลการศึกษาจึงออกมาในรูปของการพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก ผลสรุปจากการศึกษาพบว่า ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีมีส่วนร่วมทางการเมืองหลายลักษณะแตกต่างกัน การมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ การเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการเลือกตั้ง เกี่ยวข้องกับผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งการเป็น “หัวคะแนน” และการช่วยเหลือสนับสนุนผู้สมัครและพรรคการเมืองบางพรรค สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผู้นำศาสนาอิสลามเป็นบุคคลสำคัญในชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้นำทางศาสนา ผู้นำเหล่านี้จึงมีอิทธิพลที่จะโน้มน้าวประชาชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง สนับสนุนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่งได้โดยใช้พิธีกรรมทางศาสนาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการโน้มน้าวประชาชนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีเหล่านี้ ก็มีความเข้าใจในระบบพรรคการเมืองแตกต่างกัน แต่โดยรวมนั้นเข้าใจในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากพรรคการเมืองมีบทบาทจำกัด ขาดการจัดตั้งองค์กรหรือสาขาพรรคในระดับท้องถิ่น บทบาทของพรรคการเมืองจึงแสดงออกโดยผ่านตัวแทนหรือผ่านทางผู้สมัครขอพรรคในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ความเข้าใจที่แตกต่างกันดังกล่าวนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนตัวที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรง แต่จะมีนัยสำคัญมาจากระดับความสนใจทางการเมืองที่แตกต่างกันของผู้นำศาสนาแต่ละคนมากกว่าen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are to find out how the three Islamic high leaders, Imam, Koteb, and Bilan in Pattani province, one of the four provinces in the South with most of people are Islamic, participate in political activities towards the political partry system and whether their different socio-economic status has influence on their different degrees in political participation and thoughts about Thai political party system. This thesis is descriptive study with two sources of data : documents and questionaires answered by the leaders. The study shows that the three Islamic high leaders in Pattani province have influence on election process. Political parties and candidates in election also need them to be their supporters and their "Huakanan" (canvassers of the candidates) if they want to win in election. Islamic people are faithful in traditional Islamism, so the three leaders are important or imfluential men in their communities. They are their leaders in doing any kind of public activities and in performing religious ceremonies. As for the relation of the three leaders' socio-economic status to their political participation, this study shows that lacking deep knowledge and thorough understanding in the role of political parties in democratic form of government, they participate in political activities for a short period of time during election campaign. This phenomenon is consistent with the aspects of Thai political parties : lacking of local organization and playing limited roles in each election campaign moslly aiming at being a government. So it may be concluded that their different interest in politics results in their different degrees in participating in political activities. That is to say their different levels of socio-economic status is not a distinct influence on their different degrees of political participation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้นำศาสนาอิสลาม -- กิจกรรมทางการเมืองen_US
dc.subjectพรรคการเมืองen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมืองen_US
dc.subjectMuslim religious leaders -- Political participationen_US
dc.subjectPolitical partiesen_US
dc.subjectPolitical participationen_US
dc.titleลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของผู้นำศาสนาอิสลามต่อระบบพรรคการเมืองในจังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternativePattern of political participation of Islamic Leaders toward poltical party system in Pattani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwaporn_th_front_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch1_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch2_p.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch3_p.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch4_p.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch5_p.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_ch6_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Siwaporn_th_back_p.pdf14.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.