Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73704
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล | - |
dc.contributor.author | ธันยพร เชี่ยวพานิชย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-06-04T08:21:43Z | - |
dc.date.available | 2021-06-04T08:21:43Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73704 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่คาดว่ามีอิทธิพลต่อยอดขายที่ทำ โปรโมชันซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ยอดขายอย่างเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มสินค้า เพื่อ เพิ่มความแม่นยำของการพยากรณ์ให้กับธุรกิจในการจัดการระดับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่ศึกษาเป็นของบริษัทค้าปลีกแห่งหนึ่งที่มีการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านรูปแบบสาขาที่แตกต่างกัน นั่นคือ Department Store, Extra Store และ Hypermarket ตั้งแต่เดือน มีนาคม ปี 2559 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2561 ของสินค้า 4 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องนอนกลุ่มหมอนและหมอนข้าง สินค้า ประเภทเครื่องนอนกลุ่มผ้านวมและผ้าปูที่นอน สินค้าประเภทพลาสติกกลุ่มกล่องอเนกประสงค์ และ สินค้าประเภทพลาสติกกลุ่มอุปกรณ์ไม้แขวน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิง เส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มสินค้ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายที่แตกต่างกัน ดังนั้นธุรกิจจึงไม่สามารถใช้ปัจจัยเดียวกันในการพยากรณ์ทุกกลุ่มสินค้าได้ ส่งผลให้มีตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์แต่ละ กลุ่มสินค้าแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์จะสามารถพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ ได้ทั้งสิ้น 12 ตัวแบบสำหรับแต่ละกลุ่มสินค้าเมื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบสาขาที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นจึง ทำการคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ด้วยการใช้ตัวแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ความ ถดถอยเชิงพหุทั้ง 12 ตัวแบบเปรียบเทียบกับการพยากรณ์ด้วยประสบการณ์แบบดั้งเดิม พบว่าเมื่อมีการ นำตัวแบบไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์สำหรับแต่ละกลุ่มสินค้าที่จัดจำหน่ายผ่านสาขาที่มีรูปแบบที่ แตกต่างกัน สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ลงได้ โดยสินค้าประเภทพลาสติกกลุ่ม อุปกรณ์ไม้แขวนมีค่าความคลาดเคลื่อนลดลงโดยเฉลี่ยมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 36.44 เนื่องจากเป็น กลุ่มสินค้าที่มีค่าสัมประสิทธ์การตัดสินใจที่มีการปรับค่าแล้วที่ได้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์สูงที่สุด โดยเฉลี่ยร้อยละ 91 นั่นหมายความว่าตัวแปรหรือปัจจัยที่ถูกคัดเลือกเข้าสู่สมการสำหรับสินค้ากลุ่มนี้ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของยอดขายโดยเฉลี่ยได้สูงถึงร้อยละ 91 | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the relationship of factors which are expected to impact promotional sales and this will lead to develop a suitable forecasting model for each product category. The result of this research will improve the accuracy of forecasting sales so that the business can manage inventory level effectively. The case study of a retailer who sales variety of products through different type of branches such are Department Store, Extra Store and Hypermarket. This study focuses on 4 product categories of General Merchandise consist of Pillow and Bolster, Bed Set, Container and Storage and Hanger, covering March 2016 to February 2018. Multiple Linear Regression Analysis was applied in this research. The results show that there were different factors which impact promotional sales in each product category thus the business cannot consider the same factors to forecast all categories. The result of the relationship analysis by Multiple Linear Regression Analysis found that there were different forecasting model in each product group when it was sold in different store format which can be developed 12 models. After that, the models were applied in order to verify forecasting accuracy by comparing with traditional forecast. It was found that applied the models can reduce forecasting error which Hanger (Plastic) has the highest error reduction which accounted for 36.44% in average because this category got the highest Adjusted R Square (91%) from Multiple Linear Regression Analysis which means that the selected factors into these models can explain the change in promotional sales by 91% in average. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.641 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมการขาย | - |
dc.subject | พยากรณ์การขาย | - |
dc.subject | Sales promotion | - |
dc.subject | Sales forecasting | - |
dc.title | ตัวแบบการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่ทำการส่งเสริมการขาย | en_US |
dc.title.alternative | Forecasting Model for Promotional Sales | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.641 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Gr_6087150520_Thanyaporn Ch.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.