Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73752
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีรพงษ์ รามางกรู | - |
dc.contributor.author | สุจิตรา บัวใบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-06-08T08:03:29Z | - |
dc.date.available | 2021-06-08T08:03:29Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.issn | 9745631515 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73752 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en_US |
dc.description.abstract | ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแม้อัตราการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในแต่ละปีจะมีอัตราค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ประเทศก็ยังคงประสบปัญหาด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจและฐานะการเงิน ดังจะเห็นได้จากประเทศที่มีการขาดดุลการค้า และดุลบัญชีเงินสะพัดติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากในภาครัฐบาลและภาคเอกชนมีการใช้จ่ายเกินกำลังทรัพยากรที่มีอยู่ ทำให้ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศก่อให้เกิดหนี้สินปีละหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรเร่งระดมเงินออมภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งในการศึกษาวิจัยในที่นี้ได้ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการออมของครัวเรือนในเขตเมืองและเขตชนบทของภาคต่างๆ โดยศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสามารถในการออม, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออม, รูปแบบการออมที่อยู่ในความนิยม, เหตุผลและวัตถุประสงค์ในการออม ตลอดจนอุปสรรคของการออม เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายชักชวนและกระตุ้นให้ครัวเรือนออมทรัพย์กับสถาบันการเงินมากขึ้น และออมทรัพย์กับตลาดการเงินนอกระบบลดลง วิธีการศึกษาในที่นี้ ได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้ตารางทางสถิติ และสร้างแบบจำลองพฤติกรรมการออมของครัวเรือน และแบบจำลองความต้องการออมในลักษณะต่างๆ ที่อยู่ในความนิยมของครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยความต้องการออมในรูปเงินสด ความต้องการออมในรูปเงินฝากธนาคารออมสินและสลากออมสิน ความต้องการออมในรูปเงินผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ และความต้องการออมในรูปกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยในการศึกษาได้ใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามโครงการระดมเงินออมปี 2523 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาวิเคราะห์สรุปได้ว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีสัดส่วนการออมในรูปของการถือสินทรัพย์ทางการเงินในระบบต่อสินทรัพย์ทางการเงินรวมสูงกว่าสินทรัพย์ทางการเงินนอกระบบทั้งนี้ ยกเว้นในเขตชนบทของ กทม. และ 3 จังหวัดรอบนอกที่มีสัดส่วนการถือสินทรัพย์ทางการเงินนอกระบบสูงกว่าในระบบ ซึ่งรูปแบบของสินทรัพย์ทางการเงินในระบบที่อยู่ในความนิยม ได้แก่ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ กรมธรรม์ประกันชีวิต เงินฝากธนาคารออมสินและสลากออมสิน ส่วนรูปแบบของสินทรัพย์ทางการเงินนอกระบบได้แก่ การเล่นแชร์ และเงินให้กู้ยืม สำหรับเหตุผลสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจออมรูปแบบต่างๆ ได้แก่ สถานที่ตั้งของสถาบันการเงิน, ความสามารถในการถอนเงิน, ความมั่นคงของสถาบัน และผลตอบแทนที่ได้รับ โดยในการออมนั้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือเพื่อไว้ใช้ยามชราและเจ็บป่วย เพื่อการศึกษา และเพื่อป้องกันการสูญหาย ส่วนอุปสรรคที่ไม่ทำการออมกับสถาบันการเงิน ได้แก่ รายได้ต่ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเกี่ยวกับความไม่เข้าใจวิธีการออมกับสถาบันการเงิน สำหรับค่าความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม (APS) นั้น ปรากฏว่าใน กทม. และ 3 จังหวัดรอบนอก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นมีค่า APS ในเขตเมืองเท่ากับชนบท ส่วนภาคอื่นๆ ค่า APS ในเขตเมืองสูงกว่าเขตชนบท อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเฉพาะกรณีที่ครัวเรือนมีรายได้อยู่ระหว่าง 600-10,000 บาท พบว่า APS ในเขตเมืองจะสูงกว่าเขตชนบทเฉพาะใน กทม. และ 3 จังหวัดรอบนอกกับภาคใต้เท่านั้น ส่วนในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APS ในเขตชนบทสูงกว่าเขตเมือง สำหรับค่า MPS พบว่าภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นที่มีค่า MPS ในเขตชนบทสูงกว่าเขตเมืองส่วนภาคอื่นๆ พบว่าในเขตเมืองสูงกว่าเขตชนบท สำหรับผลการวิเคราะห์แบบจำลองพฤติกรรมการออมโดยใช้วิธีทางเศรษฐมิติ พบว่าในทุกภาค รายได้และขนาดของครัวเรือนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือน โดยรายได้มีความสัมพันธ์ในทางบวก และขนาดครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทางลบ ส่วนปัจจัยที่กำหนดความต้องการออมในรูปแบบต่างๆ ของครัวเรือนนั้น พบว่า รายได้, จุดมุ่งหมายในการออมเพื่อป้องกันการสูญหาย, ผลตอบแทน และสถานที่ตั้งของสถาบันมีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการอธิบายความต้องการออมดังกล่าวของครัวเรือน นอกจากนี้ในการศึกษานี้ยังได้วิเคราะห์แบบจำลองออมของครัวเรือนโดยจำแนกตามชั้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนและชั้นรายได้ด้วย กรณีจำแนกตามชั้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนพบว่า ความโน้มเอียง, เฉลี่ยในการออมของครัวเรือนในแต่ละภาคส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์อย่างแน่ชัดกับช่วงชั้นอายุ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นไปตามสมมติฐานวัฎจักรชีวิต (life cycle hypothesis) สำหรับกรณีจำแนกตามชั้นรายได้พบว่า เมื่อระดับรายได้เพิ่มขึ้น ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออมจะเพิ่มขึ้นตาม อนึ่ง ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยในที่นี้ คาดว่านอกจากจะใช้เป็นแนวทางในการวางมาตรการระดมเงินออมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการพัฒนาตลาดการเงินในระบบให้ขยายกว้างออกไป เพื่อจะได้ลดบทบาทของตลาดการเงินนอกระบบให้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | It has shown that at though economic development of Thailand in the past increased the country’s growth at high rate, the country still faces difficulties relating to economic stability and financial crisis. In this respect, the deficit in trade balance and in current account has continued for many years because of over-expenditures in government and private sectors. This led to the widening of the gap of the between saving and investment, and then attributed to the borrowing of over ten billion bahts a year from abroad. Consequently, it is necessary for the government to mobilize the domestic saving. The aim of the study of “Analysis of Household Saving Behavior in Urban and Rural Areas” is to analyse household’s behavior in urban and rural areas of the country by examining the saving capability, influential factors to savings, favourite pattern of saving the reason and purpose of saving including the difficulty in saving in order to lay down the guideline for promoting and stimulating households to familiarize themselves with financial institutions in the organized money market. The method employed in this study is Ordinary Least Squares Analysis which is performed on the primary data from the “Survey of Saving Mobilization Project, 1980” by Bank of Thailand. The models of household’s behaviours and of demand for savings in various forms were constructed in the study. The main findings can be summarized as the majority of households is holding financial assets in the organized money market in proportion greater than those in the unorganized money market. However, the rural areas of Bangkok and three peripheral provinces have a higher proportion in holding financial assets in the unorganized money market than those in the organized money market. The favourite patterns of holding assets in the organized money market consists of bank deposits, life insurance policies, government savings bank deposits and government savings bank lotteries, while those in the unorganized money market are of the sharing system and informal loan. The study shows that the main reasons for decision makers in selecting the saving patterns are the location, security, stability, and liquidity of the financial institutions and the rate of return on investment. The main purposes of household’s savings are for expenditure in old-age, the time of sickness, education and prevention of loss. It is interesting to note that the difficulties of household savings to the financial institutions are low income level, and lack of knowledge on the financial institutions. In the case of average propensity to save (APS) finds out that the urban areas of Bangkok and three peripheral provinces and the North-Eastern region are equal as their rural areas. APS in urban areas of another regions are higher than rural areas. However, in the case study of income level between 600-10,000 bahts, APS in urban areas or Bangkok and three peripheral provinces and the South region are higher than rural areas. But APS in urban areas of the other regions are lower than in the rural areas. Besides this, the value of MPS in the rural areas of the central and the North-Eastern regions are higher than the urban areas. For the other regions find out that MPS in the urban areas is higher than the rural areas. The Model’s empirical results show that the varibles, income and size of household, play an important role in determination of household saving behavior. It shows that income and saving have the positive correlation. But the correlative between household size and saving are negative. In the case of demand for saving in various is forms in all regions of the country appears that income, the purposes of saving in expenditure for old-age, the time of sickness, education and for prevention of loss including rate of return and location of financial institutions play a significant statistical role in the explanation of the mentioned demand for savings. Besides this, the model of the demand for household savings classified by age class of household head and income class shows that the average propensity to save in each region is not cleary influenced by age class of household head. Therefore, it cannot be concluded that the analysis is in line with life cycle hypothesis. On the contrary, it shows that if the income level increases, the average trend of saving variably increases too. To sum up, it is expected that the result from the study is used as the guideline not only for setting up the measure for saving mobilization for economic development but also the improvement of stability and efficiency of financial institutions in order to support and expand these institutions in the organized money market and at the same time to narrow the roles of the unorganized money market. Hence, it strengthens the stability of the country’s economy. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.17 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การออมกับการลงทุน | en_US |
dc.subject | เงินฝากธนาคาร | en_US |
dc.subject | Saving and investment | en_US |
dc.subject | Bank deposits | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์พฤติกรรมการออมของครัวเรือน ในเขตเมืองและเขตชนบท ของประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The analysis of household saving behavior in urban and rural areas of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1984.17 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchitra_bu_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 14.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_ch1.pdf | บทที่ 1 | 5.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_ch2.pdf | บทที่ 2 | 24.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_ch3.pdf | บทที่ 3 | 16.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_ch4.pdf | บทที่ 4 | 35.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_ch5.pdf | บทที่ 5 | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suchitra_bu_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 58.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.