Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73762
Title: ความต้องการการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 9
Other Titles: Needs for instructional supervision of mathematics teachers in the secondary school in educational region nine
Authors: สนิท วงศ์แสงตา
Advisors: ยุพิน พิพิธกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การนิเทศการศึกษา
ครูคณิตศาสตร์
Supervised study
Mathematics teachers
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ขยงการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความต้องการ การนิเทศการสอนของครู คณิตศาสตร์ในด้านหลักสูตร เนื้อหาวิชา วิธีการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล 2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอนและวุฒิการศึกษาต่างกัน ตลอดจนครู คณิตศาสตร์ที่เคยได้รับการอบรมและไม่เคยได้รับการอบรม วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด เป็นแบบตรวจคำตอบ แบบเลือกตอบแบบ มาตราส่วนประเมินค่า และแบบให้ตอบโดยเสรี ภายใต้หัวข้อที่กำหนด แล้วส่งแบบสอบถามไปยังครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 400 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตการศึกษา 9 จำนวน 38 โรงเรียน แบบสอบถามที่นำมาวิจัยจำนวน 365 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.25 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศการสอนของครู โดยการทดสอบค่าที่ แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัย 1. ครู คณิตศาสตร์ ต้องการการนิเทศการสอนในด้านหลักสูตร เนื้อหาวิชาวิธีการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก 2. เมื่อเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศการสอนด้านหลักสูตร เนื้อหาวิชา วิธีการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล ของครูคณิตศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอน และวุฒิการศึกษาต่างกัน ตลอดจนครู คณิตศาสตร์ที่เคยได้รับการอบรมและไม่เคยได้รับการอบรม ในแต่ละด้าน จะเห็นว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 แต่เมื่อพิจารณารายข้อของทั้ง 5 ด้าน ปรากฏผลดังนี้ 2.1 ครูคณิตศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีความต้องการในการนิเทศการสอนเกี่ยวกับเรื่อง การอธิบายชี้แจงเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตรคณิตศาสตร์ การแนะนำส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำการวิเคราะห์จุดหมายหลักสูตร จุดประสงค์ของหมวดวิชา และรายวิชา เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับความถูกต้องของเนื้อหา การส่งเสริมให้ครู ผู้สอนลาศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ทำการสอน เทคนิคการใช้สื่อการสอนในการฝึกฝนและทบทวนบทเรียนของผู้เรียน การสร้างแบบทดสอบที่วัดพฤติกรรมด้านสติปัญญาขั้นต่างๆ ได้แก่ความรู้ความจำเกี่ยวกับการคิด คำนวณ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ และการแนะนำส่งเสริมให้ครู ผู้สอนทำการวิเคราะห์แบบทดสอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2.2 ครู คณิตศาสตร์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความต้องการในการนิเทศการสอนเกี่ยวกับเรื่อง การแนะนำส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำการวิเคราะห์จุดหมายหลักสูตรจุดประสงค์ของหมวดวิชา และรายวิชาเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดทำแผนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้การตัดสินใจเรื่องความยาก-ง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลา การส่งเสริมให้ครูผู้สอนลาศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ทำการสอน และการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนที่เป็นกิจกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เช่น การสอนแบบแก้ปัญหา การวิเคราะห์สังเคราะห์ แบบอุปนัย-นิรนัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2.3 ครู คณิตศาสตร์ที่เคยได้รับการอบรมและไม่เคยได้รับการอบรมมีความต้องการในการนิเทศการสอน เกี่ยวกับเรื่องการแนะนำชี้แจงเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผล เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน แยกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Other Abstract: Purposes : 1. To study the needs for supervision of mathematics teachers concerning curriculum, content, teaching methods, instructional materials and measurement and evaluation 2. To compare the needs for supervision between mathematics teachers who had different experiences, educational degrees and between trained and untrained groups. Procedure : A questionnaire consisting of check list, multiple choice, rating scale and open - ended questions was constructed by the researcher. The questionnaire was then distributed to 400 mathematics teachers in 38 government secondary schools in educational region nine. Three hundred and sixty five responses or 91.25 percent of the questionnaire were returned. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t – test. The findings : 1. The needs for supervision of mathematics teachers concerning curriculum, content, teaching methods, instructional materials and measurement and evaluation were at the high level. 2. The comparisons of the needs for supervision concerning curriculum, content, teaching methods instructional materials and measurement and evaluation of mathematics teachers who had different experiences, educational degrees and between trained and untrained groups were significantly different at the 0.05 level, but the results of the five aspects mentioned above when separately analyzed were as follows: 2.1 The needs for supervision of mathematics teachers who had different experiences were significantly different at the 0.05 level in the following topics; the explanation of mathematics curriculum structure, cuiding and encouraging teachers to analyze the aims of the curriculum, objectives of the subject group and each subject in order to write learning objectives, giving advice for the proper content, encouraging teachers to study at the higher level relating to the subject taught, techniques of using instructional materials for lesson revision for students, and advising of test analysis. 2.2 The needs for supervision of mathematics teachers who had different levels of educational degrees were significantly different at the 0.05 level in the following topics; guiding and encouraging teachers to analyze the aims of the curriculum, the objectives of the subject group and each subject in order to write learning objectives, encouraging teachers to study of the higher level relating to subject taught, and giving advice concerning teaching methods with the emphasis on emphasized teacher - student activities, namely, problem solving method, analytic - synthetic method and inductive - deductive method. 2.3 The needs for supervision of mathematics teachers between trained and untrained groups relating to advice in measurement and evaluation in order to improve the instruction was significantly different at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.20
ISSN: 9745631744
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.20
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanit_vo_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.7 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_ch1_p.pdfบทที่ 11.58 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_ch2_p.pdfบทที่ 24.44 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_ch3_p.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_ch4_p.pdfบทที่ 414.38 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_ch5_p.pdfบทที่ 52.96 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_vo_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.