Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73794
Title: Effects of hypertonic and hypotonic saline infusion on renal functions in induced hyperthyroid and hypothyroid dogs
Other Titles: ผลของการฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิคและฮัยโปโทนิค ต่อการทำงานของไตสุนัข ที่ชักนำให้อยู่ในภาวะฮัยเปอร์ธัยรอยด์และฮัยโปธัยรอยด์
Authors: Suwanna Songsataya
Advisors: Narongsak Chaiyabutr
Prapa Loypetjra
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: Kidneys
Dogs -- Anatomy
ไต
สุนัข -- กายวิภาค
Issue Date: 1984
Publisher: Chulalongkorn University.
Abstract: ผลการทำงานของไตขณะฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิคและฮัยโปโทนิคเข้าหลอดเลือดแดงของไตโดยตรง ในสภาวะฮัยเปอร์และฮัยโปธัยรอยด์ ใช้สุนัขพันธ์ทางเพศผู้จำนวน 17 ตัว แบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม, กลุ่มฮัยโปธัยรอยด์ (ผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ออก ทั้งสองข้าง) และกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์ (ฉีดแอล-ธัยร็อกชื่น 0.1 มก.ต่อ กก. น้ำหนักตัวต่อวัน ทางใต้ผิวหนังเป็นเวลา 1 สัปดาห์) จากการศึกษาระบบไหลเวียนเลือดในกลุ่มฮัยโปธัยรอยด์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าอัตราการไหลของเลือดออกจากหัวใจ (CO), ปริมาณเลือดในร่างกาย (BV), ความดันเลือดแดงเฉลี่ย (MAP), ความต้านทานรวมของหลอดเลือดส่วนปลาย (TPR) และอัตรา การไหลของปัสสาวะ (v) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) อัตราการกรองของไต (GFR) และปริมาณเลือดที่ไหลผ่านไต (RBF) ลดลงโดยเฉลี่ย 10% และ 21% ตามลำดับ ความต้านทานของหลอดเลือดไต (RVR) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 5% ในขณะที่การขับทิ้งของเกลือโซเดียมทางปัสสาวะ (U[sibscriptNa]V) ลดลงโดย เฉลี่ย 11% แต่การขับทิ้งของเกลือโปตัสเซียม (U[sibscript]KV), คลอไรด์ (U[sibscript]ClV), แคลเซียม : (U[sibscript]CaV) และอินออร์แกนิค ฟอสฟอรัส (U[sibscript]PiV) ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า CO เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 54%, HR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.01) GFR และ RBP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 16% และ 52 แต่ RVR ลดลงโดยเฉลี่ย 19% U[sibscriptNa]V, U[sibscript]ClV , U[sibscript]CaV และ U[sibscript]Piv เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 111%, 205%, 114% และ 93% ตามลำดับ ในขณะที่ V และ U[sibscript]KV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลการฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์ โทนิคเข้าหลอดเลือดแดงของไต พบว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมในหลอดเลือดแดงของไตเพิ่มขึ้น 2.67 + 1.81 (Mean + S.D.) µ Eg/ml/min จากการทดลองในสุนัขกลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังฉีดในไต เดียวกัน พบว่า อัตราการไหลของปัสสาวะ การขับทิ้งของเกลือโซเดียม โปตัสเซียม และคลอไรดทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในไตด้านทดลอง (P < 0.05) ส่วนอัตรา การกรองของไต ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 13% และ 9% ในขณะที่การ ขับทิ้งของเกลือแคลเซียมและอินออร์แกนิค ฟอสฟอรัสทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ค่าความ ต้านทานของหลอดเลือดไตลดลงโดยเฉลี่ย 5% ค่า renal fraction เพิ่มขึ้น ความดันเลือดแดงเฉลี่ยและอัตราการกรองของไตด้านทดลองเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ แสดงว่ามีการขยายตัวของหลอดเลือดภายในไตด้านทดลอง (local vasodilatation) ส่วนการทำงานของไตด้านตรงข้ามพบการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขณะฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิค ผลของการฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิคในสุนัขกลุ่มฮัยโปธัยรอยดโดยเปรียบเทียบ กับผลก่อนและหลังฉีดในไตเดียวกัน ผลปรากฏว่า V, UₙₐV, UClV , UCaV และ UPiv และ RVR ในไตด้านทดลองเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 63%, 40%, 15%, 59% 11% และ 24% ตามลำดับ แต่ UCa V และ RBF ลดลงเล็กน้อยขณะที่ GPR ในไตทั้งสองด้านลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า UNaV ในไตด้านตรงข้ามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ส่วน REF, UKV, UClV, UCa V และ UPiv เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การลดลงของ GFR และ RBE ในไตด้านทดลองของสุนัขกลุมฮัยโปธัยรอยด์ในขณะฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์ โทนิคนั้นไม่พบ ความสัมพันธ์ที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ CO, MAP และ TPR ผลการทดลองนี้ แสดงว่า มีการหดตัวของหลอดเลือดภายในไต (local vasoconstriction) ผลของการฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิคในกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยดโดยเปรียบเทียบ : ผลก่อนและหลังฉีดในไตเดียวกัน พบวา V, UNaV, UClV, U CaV และ UPiV ในไต ด้านทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วน GFR, REP และ UV ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ และพบ ว่า RVR ในไตทั้งสองด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) แต่ CO, MAP และ TPR เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยขณะฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิค ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการหดตัว ของหลอดเลือดภายในไตทั้งสองด้าน (local vasoconstriction) : ผลการศึกษาขณะ ฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์โทนิคในสุนัขทดลองทั้งสามกลุ่ม พบว่ามีการชักนำให้เกิดการขับ ปัสสาวะมากขึ้น (diuresis) ในไตด้านทดลอง เนื่องจากมีการเพิ่มของ V และ UNaV การฉีดสารละลายเกลือชัยโปโทนิคเขาทางหลอดเลือดแดงของไตโดยตรง พบว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมในหลอดเลือดแดงของไตลดลง 2.87 + 1.94 (Mean + S.D.) Eq/ml/min จากผลการทดลองในสุนัขกลุ่มควบคุมโดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังฉีดในไต เดียวกัน พบว่า RBF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มของ RVR อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ในไตทั้งสองด้าน สวน GPR ลดลงเพียงเล็กน้อย จากการทดลองในกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์ ผลปรากฏว่า GFR ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในไตทั้งสอง ด้าน (P < 0.05) โดยสัมพันธ์กับค่า RVR ซึ่งเพิ่มขึ้นในขณะที่ RBF ลดลงเล็กน้อย สำหรับอัตราการไหลของปัสสาวะและการขับทิ้งของเกลือต่าง ๆ ทางบัสสาวะในไตทั้งสองด้าน ของสุนัขกลุ่มควบคุมและกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยดลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ ยกเว้น 1” ซึ่งเพิ่มขึ้น เล็กน้อยในไตด้านตรงข้ามของสุนัขกลุ่มควบคุม ผลการทดลองดังกล่าว แสดงว่า มีการหดตัว ของหลอดเลือดภายในไตทั้งสองด้านขณะฉีดสารละลายเกลือชัยโปโทนิคในสุนัขกลุ่มควบคุมและ กลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์ ส่วนผลการทดลองในสุนัขกลุมศัยโปธัยรอยด์เมื่อฉีดสารละลายเกลือ ฮัยโปโทนิคนั้น พบว่า V และ UNaV ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) ในขณะที่ GFR, RBF, UClV, UCaV และ UPiV ลดลงเล็กน้อยในไตด้านทดลองโดยสอดคล้องกับค่า RVR ซึ่งเพิ่มขึ้น สำหรับไตด้านตรงข้ามพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเล็กน้อย ผลการทดลอง นี้พบว่า มีการหดตัวของหลอดเลือดภายในไตด้านทดลองของสุนัขกลุ่มฮัยโปธัยรอยด์ขณะฉีดสาร ละลายเกลือชัยโปโทนิคเช่นเดียวกับสุนัขกลุ่มควบคุมและกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์ เนื่องจากมีการเพิ่มของ RVR จากผลการทดลองนี้ บ่งชี้ว่าไตเป็นตัวตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้ภายในไตเอง (primary effector) ขณะฉีดสารละลายเกลือฮัยเปอร์ โทนิคและฮัยโปโทนิคเข้าทางหลอด เลือดแดงของไตโดยตรงในสุนัขกลุ่มฮัยโปธัยรอยดและกลุ่มฮัยเปอร์ธัยรอยด์ ส่วนกลไกการ เปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น ยังไม่มีหลักฐานที่ระบุอย่างชัดเจนว่าเนื่องจากการเปลี่ยน แปลงของระดับฮอร์โมนภายในไต (intrarenal hormonal changes) และ/หรือจาก ตัวควบคุมอื่น ๆ ภายในไต (intrarenal regulators)
Other Abstract: The effects of hypertonic and hypotonic saline intrarenal infusion on renal functions were studied in experimental hypothyroid and hyperthyroid dogs. Seventeen adult male mongrel dogs were devided into three groups : group I as control, group II as hypothyroidism (by surgical thyroidectomy) and group III as hyperthyroidism (by daily subcutaneous injection of L-thyroxine 0.1 mg/kg for 1 week). Either hypertonic (537 mOsm/kg) or hypotonic (27 mOsm/kg) saline was directly infused into the left or right renal artery at the rate of 2.0 ml/min instead of the isotonic saline solution (290 mOsm/kg) as in the control group. The contralateral kidney was used to compare with the other one throughout the experimental peroid. The present study showed that cardiac output (co), blood volume (BV), mean arterial pressure (MAP) and total peripheral resistance (TPR) did not change significantly in hypothyroid group but heart rate (HR) decreased significantly compared with the same state of the control group. Glomerular filtration rate (GFR) and viii renal blood flow (RBF) decreased by approximately 10% and 21% respectively but renal vascular resistance (RVR) increased by approximately 5%. The urinary excretion of sodium ( UNaV ) decreased by approximately 11% whereas the urinary excretion of potassium (UKV), chloride (UCiV), calcium ( UCaV) and inorganic phosphorus (UPiV) changed slightly. In the hyperthyroid animal, there was a significant increase in HR while no significant alterations of BV, MAP and TPR were observed. Co increased by approximately 54% as compared with the control state of the control animal. GFR and RBF increased by approximately 16% and 52% respectively but RVR decreased by approximately 19%. UNAV, UCIV, UcaV and UpiV increased by approximately 111%, 205%, 114% and 93% respectively whereas UV increased significantly. Infusion of hypertonic saline solution, raising sodium concen tration in that renal artery to 2.67 + 1.81 (Mean ± S.D.) uEq/ml/min, caused a significant increase in V, UNaV, UK V and UPiV of the infused kidney in the control animals. GFR and RBF increased by approximately 13% and 9% whereas RVR decreased by approximately 5%. U CaV and U.PiV increased slightly. The rise in renal fraction despite a non-significant change in RBF, GFR and MAP during hypertonic saline infusion in the control animals showed that there was a vasodilatation of the infused kidney. The renal hemodynamics of the contralateral kidney did not change markedly as compared with the control state of the same kidney. Effect of hypertonic saline solution on the infused kidney in the hypothyroid animals caused an increase in v, UNAV, UCIV, UcaV and UpiV and RVR by approximately 63%, 40% 15%, 59%, 11% and 24% respectively but UCaV decreased slightly as compared with the control state of the same kidney. GFR decreased significantly in the both kidneys. UKV increased markedly in the contralateral kidney while RBF, UK, UCIV, UcaV and UpiV changed slightly. A reduction in GFR and RBF of the infused kidney since co, MAP and TPR did not changed significantly showed a local vasoconstriction during hypertonic saline infusion in the hypothyroid animals. Hypertonic saline infusion was administered into the hyper thyroid animals caused a slight increase in UNAV, UCIV, UcaV and UpiV of the infused kidney. GFR, RBF and U V decreased insignificantly as compared with the control state of the same kidney. RVR increased markedly in the both kidneys indicated that there was a local vasoconstrictions of the kidneys during hypertonic saline infusion in the hyperthyroid animals. Effects of hypertonic saline infusion induced diuresis of the infused kidney judging from an increase in V and UNaV in three groups. Infusion of hypotonic saline solution lowering renal arterial plasma sodium concentration to 2.87 ± 1.94 (Mean ± S.D.) uEq/ml/min, caused a significant increase in RVR whereas a significant decrease in RBF of both kidneys in the control animals. GFR decreased slightly in the both kidneys. During hypotonic saline infusion in the hyper thyroid animals, GFR decreased markedly in the both kidneys that related to an increase in RVR. RBF decreased insignificantly in the both kidneys. The urinary excretions of electrolytes and the rate of urine flow were not significantly decreased in the both kidneys of the control and hyperthyroid animals except the slight increase in U V of the contralateral kidney in the control animals. These results showed that there was a local vasoconstriction of the both kidneys in the control and hyperthyroid animals during hypotonic saline infusion. In the hypothyroid animals, hypotonic saline infusion caused a significant decrease in V and UKV whereas a slight decrease in GFR, RBF, UCIV, UcaV and UpiV of the infused kidney. RVR was increased slightly. The contralateral kidney did not changmarkedly. Effect of hypotonic saline infusion has been shown that there was a local vasoconstriction of the infused kidney judging from an increase in RVR in all groups of the animals. These results suggest that kidneys can function as primary effector to the hypertonic and hypotonic saline solutions introduced directly into them. The mechanisms of physiological changes in the hyperthyroid and hypothyroid animals are not clear, the possibility may be the intrarenal hormonal changes and/or the intrarenal regulators.
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1984
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73794
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.22
ISSN: 9745638269
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.22
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_so_front_p.pdfCover and abstract2.4 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch1_p.pdfChapter 1762.13 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch2_p.pdfChapter 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch3_p.pdfChapter 31.3 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch4_p.pdfChapter 416.79 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch5_p.pdfChapter 51.31 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_back_p.pdfReference and appendix3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.