Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73805
Title: The effects of captopril and enalapril on digoxin pharmacokinetics in Thai patients with heart failure
Other Titles: ผลของแคปโตพริลและอีนาลาพริล ต่อเภสัชจลนศาสตร์ของดิจ๊อกซิน ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวชาวไทย
Authors: Somratai Ratisoontorn
Advisors: Duangchit Panomvana Na Ayudhya
Poonchai Chitanuntavitaya
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: ดิจอกซิน -- เภสัชจลนศาสตร์
แคปโตพริล
อีนาลาพริล
Digoxin -- Pharmacokinetics
Captopril
Heart failure -- Chemotherapy
Enalapril
Issue Date: 1994
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: As concurrent use of digoxin with the ACE inhibitor is common, the effects of captopril and enalapril on the steady-state pharmacokinetics of digoxin in Thai patients with heart failure were studied. Twentyseven patients admitted in Rajvithi Hospital with congestive heart failure (NYHA class 2 and 3) were divided into 3 groups. The digoxin group received digoxin once daily, the enalapril group received digoxin once daily together with enalapril (2.5-10 mg/d) and the captopril group received digoxin once daily together with captopril (25-50 mg/d). Plasma digoxin concentrations were measured at 0,0.5,1,2,3,4,8,12, and 24 hour. Pharmacokinetic parameters were calculated mainly by computer programs. Both captopril and enalapril did not show a significant effect or a suggestive trend for any interaction with steady-state digoxin pharmacokinetics. The mean value of elimination rate constant, distribution rate constant, and absorption rate constant estimated from RSTRIP program were 0.01±0.02, 0,50±0.28, and 1.73±2.43 (/hour) respectively. The correlation of creatinine clearance and digoxin clearance was poor (r=-0.29). The serum digoxin concentration of eight patients (29.63%) were within the therapeutic range (0.8-2.0 ng/ml) while seventeen patients (62.96%) were within the range of 0.5-2.5 ng/ml. predicted trough concentrations were estimated from different pairs of serum digoxin concentrations. The predicted concentrations estimated from two serum concentrations, at about 8 and 12 hour after the last dose, were least difference from the measured values (p=0.68). If only one serum concentration was used for the estimation, the concentration obtained 8 hour was shown to be more accurate than those obtained from 4 or 12 hour. From this study, dosage reduction are not necessary for congestive heart failure patients with normal renal function, concurrently use of digoxin with either captopril or enalapril.
Other Abstract: เนื่องจากพบว่าการใช้ยาดิจ๊อกชินร่วมกับ ACE inhibitor ได้บ่อย จึงทำการศึกษาถึงผลกระทบของยาแคปโตพริล และอีนาลาพริลที่มีต่อเภสัชจลนศาสตร์ของดิจ๊อกชินในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวชาวไทย โดยแบ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถีด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (NYHA class 2 และ 3) จำนวน 27 รายออกเป็น 3 กลุ่มที่ 1 ได้รับดิจ๊อกชินในขนาดคงที่วันละ 1 ครั้ง, กลุ่มที่ 2 ได้รับดิจ๊อกชินร่วมกับอีนาลาพริลในขนาด 2.5-10 มิลลิกรัมต่อวัน, และกลุ่มที่ 3 ได้รับดิจ๊อกชินร่วมกับแคปโตพริลในขนาด 25-50 มิลลิกรัมต่อวัน ระดับยาดิจ๊อกชินในเลือดจะถูกวัดที่เวลาต่าง ๆ ได้แก่ 0,0.5,1,2,3,4, 8,12 และ 24 ชั่วโมง หลังได้รับยาและถูกนำไปคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางเภสัชจลนศาสตร์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่พบว่ามีปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างแคปโตพริลหรืออีนาลาพริลกับเภสัชจลนศาสตร์ของดิจ๊อกชิน ค่าเฉลี่ยของอัตราคงที่ของการขจัดดิจ๊อกชิน, อัตราคงที่ของการกระจายตัวของดิจ๊อกชินและอัตราการคงที่ของการดูดซึมดิจ๊อกชินเท่ากับ 0.01±0.2, 0.50±0.28 และ 1.73±2.43 ต่อชั่วโมงตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์ระหว่าง creatinine clearance และ digoxin clearance เท่ากับ -0.29 ผู้ป่วยจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 29.63) มีระดับยาในเลือดอยู่ในช่วงที่ให้ผลในการรักษา (0.8-2.0 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) ขณะที่ผู้ป่วยจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 62.96) มีระดับยาในเลือดอยู่ในช่วง 0.5-2.5 นาโนกรัมต่อมลิลิลิตร ระดับยาในเลือดที่เจาะที่เวลาต่าง ๆ กันได้ถูกนำมาทำนายระดับยาต่ำสุดในเลือดเปรียบเทียบกับระดับยาต่ำสุดที่วัดได้จริง พบว่าระดับยาที่คำนวณได้โดยใช้ระดับยาดิจ๊อกชินในเลือด 2 ค่าคือค่าจากชั่วโมงที่ 8 และชั่วโมงที่ 12 แตกต่างจากระดับยาที่ได้จริงน้อยที่สุด (p=0.68) ถ้าใช้ข้อมูลระดับยาในเลือดเพียงค่าเดียวในการทำนาย ข้อมูลชั่วโมงที่ 8 จะใช้ได้แม่นยำกว่าข้อมูลชั่วโมงที่ 4 และข้อมูลชั่วโมงที่ 12 ไม่พบความจำเป็นที่จะต้องลดขนาดใช้ของยาดิจ๊อกชินในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวชาวไทยที่ใช้ยาดิจ๊อกชินร่วมกับแคปโตพริลหรืออีนาลาพริล
Description: Thesis (M.sc) --Chulalongkorn University, 1994
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73805
ISSN: 9745838497
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somratai_ra_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ994.42 kBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_ch1_p.pdfบทที่ 1691.27 kBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_ch2_p.pdfบทที่ 21.41 MBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_ch3_p.pdfบทที่ 3774.78 kBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_ch4_p.pdfบทที่ 41.8 MBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_ch5_p.pdfบทที่ 5633.7 kBAdobe PDFView/Open
Somratai_ra_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก838.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.