Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73863
Title: การพัฒนาระบบเก็บข้อมูลของเครื่องร่างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ
Other Titles: Development of the data acquisition system for photogrammetric plotter
Authors: สนธยา สุธัมมสภา
Advisors: สุยุชน์ สัตยประกอบ
สุทธิพงศ์ วิญญูประดิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสำรวจด้วยภาพถ่าย -- เครื่องมือและอุปกรณ์
การจัดการฐานข้อมูล
Photogrammetry -- Equipment and supplies
Database management
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานด้านวิศวกรรมสำรวจ เครื่องโฟโตแกรมเมตริกพลอตเตอร์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญประเภทหนึ่งใช้สำหรับร่างแผนที่คอนทัวร์จากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางอากาศเป็นภาพถ่ายคู่ซ้อน ซึ่งเครื่องสามารถจัดหาระดับความสูงได้จุดต่าง ๆ(บนแผนที่ที่ร่างด้วยเครื่องดังกล่าวประกอบด้วยค่าพิกัดฉากคาทีเชียล ๓ ค่า คือ ค่าเอ็คซ์ ค่าวาย และค่าแซด สำหรับงานโมเดลหนึ่ง ๆ จะมีจุดพิกัดฉากเป็นจำนวนนับพันจุด การที่จะเก็บข้อมูลของจุดต่าง ๆ ไว้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานด้านสำรวจต่อไปนั้น จำเป็นต้องมีเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ดาต้าเอควิสิชั่นซีสเต็ม ไว้สำหรับบันทึกข้อมูลค่าพิกัดฉากลงบนหน่วยความจำสำรองเทปแม่เหล็กหรือจานแม่เหล็กซึ่งจะส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง หรือเครื่องดังกล่าวจะส่งข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงก็ได้แล้วแต่ชนิดของเครื่อง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำการศึกษาและพัฒนาระบบ เก็บข้อมูล (อิเลคทรอนิคส์ เอควิสิชั่นชีสเต็ม ) ของเครื่องร่างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (โฟโตแกรม เมตริก พลอตเตอร์) รุ่นเอ ๙ โดยส่งข้อมูลค่าพิกัดฉากตรงไปยังเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เดครุ่น ๑๑/๒๔ พร้อมกับแสดงค่าบนไดโอด เปล่งแสงชนิด ๗ ส่วน การพัฒนาระบบดังกล่าวได้แบ่งขั้นตอน เป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการศึกษาลักษณะสัญญาณที่ออกจากเครื่องร่างแผนที่ ซึ่งเกิดจากเครื่องแปลรหัสจาก เพลาหมุน ซึ่งเป็นระบบการให้กำเนิดสัญญาณดิจิตอลแบบหนึ่ง ลักษณะสัญญาณได้จากแต่ละแกน (เอ็คซ์ วาย แซด ) เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม ๒ คลื่น ซึ่งมีเฟสต่าง กัน π / ๒ หรือเท่ากับ ๙๐ องศา โดยลักษณะการต่างเฟสระหว่าง ๒ คลื่นนี้จะแสดงค่าบวก ลบของค่าพิกัดนั้น ๆ จากการศึกษาได้พัฒนาสร้างระบบวงจรนับคลื่นสัญญาณ เป็นค่ารหัสบี ซี ดี ขึ้น ๓ ชุด สำหรับค่า เอ็คซ์ วาย และ แซด ส่วนที่สองคือ การออกแบบและสร้างวงจรแสดงค่าพิกัดฉาก ๘ ตัวเลข โดยใช้ไดโอด เปล่งแสงชนิด ๗ ส่วน มีทั้งหมด ๔ ค่า คือ ค่าพิกัดฉาก เอ็คซ์ วาย แซด และ เอ็น ซึ่ง เป็นค่าลำดับที่จุดของค่าพิกัดฉากนั้น ส่วนที่สามคือ การออกแบบวงจรแซด – ๘๐ ไมโคร โปรเซสเซอร์ เพื่อส่งข้อมูลพิกัดฉากและค่าลำดับของจุด ไปยัง เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีความละเอียดตัว เลขของแต่ละค่าเท่ากับ ๘ ตัวเลข ส่วนที่สี่ คือการพัฒนาโปรแกรมควบคุมทั้งหมด ตั้งแต่การนับคลื่นเป็นรหัส บี ซี ดี การแสดงค่าบนไดโอด เปล่งแสงชนิด ๗ ส่วน จนกระทั่งส่งค่าพิกัดฉาก ๓ ค่า และค่าลำดับที่จุดไปยัง เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ จากการศึกษาปรากฏว่าระบบเก็บข้อมูลของเครื่องร่างแผนที่ทางอากาศสามารถส่งผ่านข้อมูลค่าพิกัดฉากไปให้ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และค่าที่แสดงบนไคโอด เปล่งแสงช่วยให้การอ่านค่าพิกัดของจุดต่าง ๆ ง่ายขึ้น ทำให้การทำงานกับเครื่องร่างแผนที่ทำได้รวดเร็วและมีความถูกต้องสูง การศึกษาและพัฒนาระบบเก็บข้อมูลของเครื่องร่างแผนที่ทางอากาศครั้งนี้ได้ใช้งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งทำให้ประหยัด เงินของประ เทศที่จะซื้อเครื่องระบบเก็บข้อมูลจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงมากเข้ามาใช้
Other Abstract: In the field of survey engineering, Photogrammetric plotter is well known for the precision equipment to produce a contour map from aerial stereo photograph. Cartesian coordinate is measured in x, y and z, which the thousands of coordinates are collected for each one of the model (one couple of stereo photograph). Electronic data acquisition system is the essential system which is used to collect these coordinates data and load them to auxiliary storage such as magnetic tape, flexible disk, or send directly to the computer depending on the ability of each system. These recorded data is further retrieved and processed in many survey engineering applications. The thesis is supported by the Department of Survey Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University. The project is subjected to study and develop an electronic data acquisition system which is able to get coordinate data from Photogrammetric plotter Model A9 and sends directly to mini computer DEC 11/24 and also display coordinate values on 7-segment LED display. The development procedure is divided into 4 steps. First step is to study the pattern and characteristic of output signals, generated by shaft encoders (digitisers) which are attached to Photogrametric Plotter rotating axis x, y and z. The signal of each axis is a couple of square waves which are different 90 degrees in phases, the difference of phases of both waves will be a plus or minus. According to above information, BCD counter circuit is developed to get X, y and z coordinate. Second step is to design and develop 7-segment LED display circuit which displays x, y, z and N in 8 digits of each. N is an identification number of measured coordinate. Third step is to design and develop z-80 microprocessor control circuit which controls data transmission from the system to the computer in 8 digits significant. Forth step is to develop control program and routines to handle signal counting into BCD code, 7-segment decoding and display, and transmit x, y, z coordinate and N values to minicomputer. From this study, the Data Acquisition System of Photogrammetric Plotter can transmit the coordinate data to computer correctly and with 7-segment LED display can improve speed and accuracy of Photogrannetric Plotter operation. The total cost of the projectis about 30,000 Baht, This saves a lot of money to buy an expensive system from abroad.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73863
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1985.5
ISBN: 9745642584
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1985.5
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sondhaya_su_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.08 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch2_p.pdfบทที่ 22.44 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.25 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch4_p.pdfบทที่ 411.28 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch5_p.pdfบทที่ 55.74 MBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_ch6_p.pdfบทที่ 6876.77 kBAdobe PDFView/Open
Sondhaya_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก7.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.