Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73925
Title: การศึกษาคุณค่าทางสุนทรียภาพด้านผังเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีนครศรีธรรมราชและภูเก็ต
Other Titles: Study of aesthetic value for urban planning : a case study of Nakhon Si Thammarat and Phuket
Authors: สรรเพชญ นนทภักดิ์
Advisors: เดชา บุญค้ำ
ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เมือง -- การตกแต่งให้สวยงาม
ผังเมือง
Urban beautification
City planning
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาทางวัตถุในเมืองอย่างขาดความคิดคำนึงทำให้เกิดการสูญเสียคุณค่าทางสุนทรียภาพและไม่เป็นการยกระดับจิตใจ ภูมิปัญญาของมนุษย์ในอันที่จะอยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่างสอดคล้องกับภาวะสมดุลย์ของธรรมชาติ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเมือง แนวทางและทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณค่าทางสุนทรียภาพของเมือง ประกอบด้วยเรื่ององค์ประกอบของชุมชนเมือง ที่ว่าง ทัศนภาพ สารรูป วิธีสภาพแวดล้อมที่สนองตอบต่อการใช้งาน ทฤษฎีพื้นที่อาคาร-ที่ว่าง ทฤษฎีความเชื่อมโยง ทฤษฎีสถานที่ และ ระบบนิเวศน์ของเมือง จากกรณีศึกษาพบว่า (1) ความเด่นชัดขององค์ประกอบทางกายภาพ ลักษณะภูมิประเทศและวัฒนธรรมของชุมชน (2) การมีมุมมองและลักษณะแวดล้อมที่เหมาะสม และ (3) การมีความหมายจากองค์ประกอบของเมืองตามสภาพของสังคมนั้น ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเมือง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดสุนทรียภาพในชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองภูเก็ต ด้วยเหตุนี้จึงได้มีเป้าหมาย นโยบายในการวางผังเมืองเพื่อให้เกิดสุนทรียภาพของเมืองโดย (1) อนุรักษ์สถานที่และกิจกรรมที่เด่น ๆ นั้น (2) เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเช่น การกำหนดการใช้ที่ดิน อัตราส่วนพื้นที่อาคารปกคลุมดิน อัตราส่วนที่เว้นว่างที่เหมาะสม (3) เชื่อมโยงองค์ประกอบของเมืองทั้งในด้านกายภาพและทัศนภาพ และ (4) เสริมสร้างชีวิตเมืองเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมที่เด่นชัดของเมือง ผลที่ได้จากการสังเคราะห์กรณีศึกษา ก่อให้เกิดเกณฑ์ที่จะเป็นแนวทางสรุปสำหรับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในการวางผังทางสุนทรียภาพดังนี้ (1) พิจารณาสิ่งที่มีความเด่นชัด (2) วิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพของเมือง (3) สรุปคุณค่าทางสุนทรียภาพ (4) รับทราบปัญหาและคาดการณ์แนวโน้ม (5) ตั้งเป้าหมายในการวางผังทางสุนทรียภาพ และ (6) การวางผังทางสุนทรียภาพ โดยมีเงื่อนไขว่าเกณฑ์เหล่านี้อาจมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของท้องถิ่นได้
Other Abstract: Material developments without ponderosity in urban have lost aesthetic value and have not raised the level of mind, human intelligence for living in social community with natural balance. The purpose of this study is to prevent and to solve those urban problems. The conceptions and theories that have been used in analyse aesthetic value of urban comprise Components of urban community, Space, Townscape, Image, Responsive environments, Figure-ground theory, Linkage theory, Place Theory and Urban ecology. The result of the study shows that (1) brightness of physical components, geographic characters and culture of community (2) appropriate vision and environment and (3) meaning from history and culture of urban society are the elements of aesthetic value in Nakhon si thammarat and Phuket. Thus the target and policy in planning for aesthetic value of urban are (1) conservation of dominate places and activities (2) good environment supported (e.g. restrict landuse, Floor Area Ratio, Open Space Ratio etc.) (3) physical and visual linkage and (4) urban life supported for dominate culture. The results from synthesis a case study lead to be criteria guidelines for local officers in aesthetic planning as follows (1) consider brightness things (2) analytical physical components (3) summarize aesthetic value (4) know problems and trend (5) place target for aesthetic planning and (6) place aesthetic plan. These criteria are under condition that could be change for harmony of local situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73925
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanpet_no_front_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch1_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch2_p.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch3_p.pdf8.45 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch4_p.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch5_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_ch6_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Sanpet_no_back_p.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.