Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7423
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วราภรณ์ บวรศิริ | - |
dc.contributor.advisor | สุชาติ ตันธนะเดชา | - |
dc.contributor.author | ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-07-07T09:58:03Z | - |
dc.date.available | 2008-07-07T09:58:03Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745321869 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7423 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับสาขาศิลปะและการออกแบบ 2. วิเคราะห์องค์ประกอบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของคณะที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะและการออกแบบ 3. เพือพัฒนาระบบสารสนเทศและเกณฑ์มาตรฐานสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับสาขาศิลปะและการออกแบบ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสาขา หัวหน้าสาขา อาจารย์ผู้สอน และนิสิตนักศึกษาของสถาบันตัวอย่างที่ทำการเรียนการสอนศิลปะและการออกแบบ 6 สถาบันในปีการศึกษา 2547 โดยกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสำรวจคือ หัวหน้าสาขาจำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ได้แก่หัวหน้าสาขา จำนวน 30 คน อาจารย์ ผู้สอนจำนวน 168 คน และนิสิตนักศึกษา จำนวน 274 คน รวม 472 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์คือผู้บริหารสาขา 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัจจุบันของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสาขา แบบสอบถามหัวหน้าสาขา อาจารย์ผู้สอน และนิสตนักศึกษา แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสาขา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรมทางสถิติ SPSS ผลวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบัน แต่ละสาขาจะมีการเตรียมกายภาพห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โดยยึดจำนวนนิสิตนักศึกษาที่สามารถรับได้แต่จะพบว่ามีปัญหาเรื่องการขาดแคลนพื้นที่ และอัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์สูง และห้องบรรยายที่เหมาะสมกับสาขาจะมีความจุ 30 และ 60 คน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสาขามีดังนี้ ปัจจัยทางการศึกษา 9 ตัว ได้แก่ ปรัชญาของสาขา หลักสูตร การจัดองค์การ อาจารย์และบุคลากร การจัดการเรียนการสอน นิสิตนักศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอนงบประมาณ และพื้นที่อาคาร ส่วนปัจจัยทางสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพมี 4 ด้าน ได้แก่ด้านหน้าที่ใช้สอย ด้านรูปแบบ ด้านเทคโนโลยีและด้านทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงความต้องการของผู้ใช้งานทุกฝ่าย 3. ระบบสารสนเทศสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับสาขาศิลปะและการออกแบบ แบ่งเป็น 1. สิ่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางการศึกษา 9 ตัว ปัจจัยทางสถาปัตยกรรม 4 ด้าน และความต้องการของผู้ใช้กายภาพ 2. กระบวนการใช้วิธีการจัดทำรายละเอียดโครงการทางสถาปัตยกรรมและมาตรการควบคุมการแก้ไขแบบ ซึ่งเป็นมาตรการที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องจัดทำเป็นสัญญาและผังแม่บทในการลดการแก้แบบ 3. ผลผลิตเป็นระบบสารสนเทศและเกณฑ์มาตรฐานสภาพแวดล้อมทางกายภาพสาขาศิลปะและการออกแบบ 4. ผลลัพธ์ได้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของสาขาศิลปะและการออกแบบที่เหมาะสม เนื่องจากมีมาตรการควบคุมการออกแบบจัดทำเป็นสัญญาและผังแม่บท ในด้านการศึกษาเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสาขา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางพร้อมเรียนได้ทุกเวลา และได้เกณฑ์มาตรฐานเป็นเรื่องของข้อมูลด้านห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการห้องบรรยาย 30 คน 60 คน และ 100 คน ควรจัดพื้นที่ต่อคนเท่ากับ 1.50 ตร.ม. 1.10 ตร.ม. และ 1.00 ตร.ม. ตามลำดับ ส่วนห้องปฏิบัติการออกแบบเบื้องต้นและชั้นสูงควรจัดพื้นที่ต่อคนเท่ากับ 5.00 ตร.ม.ห้องปฏิบัติการวาดรูปและงานปั้นควรจัดพื้นที่ต่อคนเท่ากับ 4.00 ตร.ม. และ 6.00 ตร.ม. ตามลำดับและได้ข้อมูลความต้องการอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาต่างๆ ผลจากการวิจัยทำให้ได้ระบบสารสนเทศสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสาขาศิลปะและการออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมกับสาขา และเป็นแนวทาง กระบวนการ ในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสาขาอื่นๆ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research were 1. to study the present situation, problems and need of physical environment in Arts and Design Programs, 2. to analyze the factors of physical environment in Art and Design fields of study, 3. to develop the information system and standard of physical environment for Art and Design Programs. Population in this study consisted of dean, head of department, lecturer and student. Samples consisted of 6 institutes, which offered Arts and Design fields in 2004. The samples for surveying form were 24 heads of department. The samples for questionnaires form were 472 persons consisted of 30 heads of department, 168 lecturers and 274 students. The samples for interviewing form were 12 deans. Research tools were present environment physical survey form, questionnaires form and interviewing form. Statistical analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, and factor analysis. The research results indicated: 1. The present physical environment in Art and Design fields provides lecture rooms and workshops based on the number of received students. The problems were the lacking of space and high ratio of students per faculty staff while the suitable sizes of lecture room for these fields were 30 persons and 60 persons respectively. 2 The physical environment education factors consisted of nine variables: 1) Philosophy, 2) Curriculum, 3) Organization and Administration, 4) Faculty and Staff, 5) Instruction Management, 6) Student, 7) Equipment, 8) Budgeting ,and 9)Building Area. The physical environment architectural factors were Function, Form, Technology and Economy and User's Need. 3. The physical environmental information system for Art and Design Programs was divided into 4 parts as follow: 1. Input consisted of nine education factors, four architectural factors and user's need. 2. The process using Architectural Programming Process and Drawing Revised Control Standard which were the agree-praticapant measure. Moreover the process had to be in Term of References and MasterPlan which decreased the major amendment. 3. Output was the physical environmental information on system for Art and Design Programs and Physical Environmental Standard. 4.Outcome was the Physical Environmental for Arts and Design Programs owing to terms of reference and master plan, creating of concurrent learning among fields of study; promoting learners' center for studying at any time. The standard for lecture room and workshop room data. For basic and advanced design workshop area should be 5.00 sq.m. per person, Painting and Sculpture workshop area should be 4.00 sq.m. and 6.00 sq.m. per person respectively and the data of special workshop educational equipment was obtained. The result of the study shows the physical environment information system for Arts and Design fields, which can also be used as a guideline for other field of Arts. | en |
dc.format.extent | 2843890 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.910 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา | en |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา -- สิ่งอำนวยความสะดวก | en |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | การบริหารทรัพยากรกายภาพ | en |
dc.title | การพัฒนาระบบสารสนเทศสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับสาขาศิลปะ และการออกแบบในระดับอุดมศึกษา | en |
dc.title.alternative | The development of physical environmental information system for art and design in higher education | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Varaporn.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Suchart.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.910 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paikarn.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.