Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74304
Title: การพัฒนารูปแบบการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนชนบท
Other Titles: The development of conscientization for rural community development model
Authors: ประเสริฐ กิติรัตน์ตระการ
Advisors: ทิศนา แขมมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tisana.K@chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาชุมชน -- ไทย
การพัฒนาชนบท -- ไทย
การสร้างจิตสำนึก
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Community development -- Thailand
Conscientization
Rural development -- Thailand
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนชนบทมีสมมุติฐานคือ หลังการทดลองใช้รูปแบบ คนในชุมชนจะมีจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและการสร้างจิตสำนักเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบ (2) การยกร่างรูปแบบและการปรับปรุงรูปแบบก่อนการทดลองใช้ (3) การทดลองใช้รูปแบบในสถานการณ์จริงของชุมชนอีสาน 1 ชุมชน (4) การประเมินผลเพื่อปรับปรุงรูปแบบหลังการทดลองใช้ สาระสำคัญของรูปแบบ รูปแบบนี้สร้างขึ้นโดยมีจุดหมายเพื่อให้ผู้นำชุมชนนำไปใช้ในการพัฒนาคนในชุมชนชนบทให้มีจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนที่ตนอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นและมีแนวความคิดที่เป็นหลักการในการสร้างรูปแบบคือการทำกิจกรรมพัฒนาที่จะส่งผลต่อการพัฒนาจิตสำนึกของคนในชุมชน จะต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชน คนในชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของและส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่ การใช้รูปแบบ มี 3 ขั้นตอน คือ (1) ผู้นำชุมชนได้รับการกระตุ้นให้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการสร้างจิตสำนึก (2) ผู้นำชุมชนศึกษาความรู้และกระบวนการสร้างจิตสำนึก (3) ผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนดำเนินกิจกรรมสร้างจิตสำนึกร่วมกับตัวแทนชาวบ้านใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 80 ชั่วโมงใน 16 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน ผลการวิจัย หลังการทดลองใช้รูปแบบพบว่า คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนมากขึ้น แสดงออกโดยมีความรู้ เจตคติและพฤติกรรมสอดคล้องกับหลักการและกระบวนการพัฒนาชุมชนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยและการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านมซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ ถือว่ารูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยพบว่า กระบวนการของรูปแบบมีส่วนทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความกล้าคิดและคิดเป็น และได้ขอค้นพบความจริงเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนว่า ชาวบ้านสนใจและต้องการกิจกรรมพัฒนาที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยที่กิจกรรมนั้นจะต้องไม่หลายวิถีชีวิตของชุมชน
Other Abstract: The purpose of this research was to develop a model of conscientization for the rural community. It was aimed that the conscience for community development of the rural people will increase after using the model. (The conscience for community development would be determined by the congruency of knowledge attitude and behavior of the people with the principle and process of community development.) The research procedures were as follows: 1) Studying basic data on community development and conscientization 2) Drafting the model and improving it before the experiment 3) Testing model by implementing it in a rural community 4) Evaluating and revising the model. The Model’s Components were as follows: Purpose. This model was prepared for the village leaders to work with their people in the community in a way that helped increasing their conscientization for community development. Principles. The conscience for community development of community people will be increased if their development project was in accordance with their way of life relevant to the community needs and problems, and provided opportunity for a true participation. Processes. The model consisted of three main activities: 1) The village leaders were stimulated to the model 2) The village leaders got knowledge of conscientization and community development processes 3) The village lenders implemented community development processes in their selected projects. Results. After the experiment, people involved in using the model had knowledge, attitude and behaviors which were more congruent with the community development principles and processes than before the experiment, their satisfaction in using the model was at the highest level. It was also found that the processes in the model encouraged the people involved to think critically. Moreover, the people in the community expressed interest and need for the kind of activities or projects which will increase the income of the families, and those activities or projects should not interfere with or destroy their ordinary ways of living.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74304
ISBN: 9745773336
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_ki_front_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_ch1_p.pdf985.31 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_ch2_p.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_ch3_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_ch4_p.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_ch5_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_ki_back_p.pdf7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.