Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74362
Title: การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชีในการวัดความเสี่ยง ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : เปรียบเทียบธุรกิจการเงินกับธุรกิจอุตสาหกรรม
Other Titles: Analysis of accounting information for the risk measurement of set companies : a comparison between finance and manufacturing industries
Authors: สุธา ดีวงกิจ
Advisors: พรสิริ ปุณเกษม
สันติ ถิรพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Sunti.T@Chula.ac.th
Subjects: การวัดความเสี่ยง
การลงทุน
หลักทรัพย์
ข้อมูลทางการบัญชี
อัตราผลตอบแทน
งบการเงิน
ธนาคารและการธนาคาร
ตลาดเงิน
อุตสาหกรรม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลการวิจัยในอดีต พบว่าข้อมูลทางการบัญชีสามารถอธิบายความเสี่ยงของผลตอบแทนในการลงทุนในหลักทรัพย์ได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประการแรกเพื่อวิเคราะห์ว่าค่าวัดความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีรายการใดมีนัยสำคัญในการอธิบายความเสี่ยงของผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวัตถุประสงค์ประการที่สองเพื่อค้นหาตัวแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยง โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจการเงินกับธุรกิจอุตสาหกรรม ค่าวัดความเสี่ยงของผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ และความเสี่ยงรวม สำหรับปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เลือกศึกษามี 8 ปัจจัย คือ ขนาดของกิจการ โครงสร้างของเงินทุน สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร ความแปรปรวนของกำไร อัตราการเติบโตของกิจการ อัตราการใช้ค่าใช้จ่ายประจำในการดำเนินงานและนโยบายการจ่ายเงินปันผล การทดสอบนัยสำคัญของปัจจัยบงชี้ความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีอาศัยวิธีการทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุและการวิเคราะห์ปัจจัย การศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชี ในการอธิบายความเสี่ยงของผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นบันได ผลการวิจัยพบว่า กรณีธุรกิจการเงิน ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่มีนัยสำคัญได้แก่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ และความแปรปรวนของกำไร กรณีธุรกิจอุตสาหกรรม ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ ได้แก่ ขนาดของสินทรัพย์ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน และ อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ จากการวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์ พบว่าข้อมูลทางการบัญชีมีคุณค่าในการอธิบายความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบได้ดีกว่าความเสี่ยงที่เป็นระบบสำหรับบริษัทในธุรกิจการเงินและธุรกิจอุตสาหกรรม ในธุรกิจการเงิน พบว่าตัวแบบของความเสี่ยงที่เป็นระบบมีปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญประกอบด้วยอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และความแปรปรวนของกำไร สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่าขนาดของยอดขายและอัตราส่วนทุนหมุนเวียนปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญของตัวแบบดังกล่าว ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงที่วิเคราะห์ได้จากผลการศึกษาคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในการนำไปใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของหลักทรัพย์ที่จะเลือกลงทุนและตัวแบบปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงอาจนำไปใช้ในการคำนวณค่าวัดความเสี่ยงเปรียบเทียบระหว่างหลักทรัพย์ของกิจการได้
Other Abstract: Previous research suggested that accounting information could explain the risk of investment in securities. The objectives of the research are two fold. Firstly, the significance of accounting risk measures to determine investment risk are analyzed. Secondly, the models for significant accounting risk measures that optimally explain the market determined risk measures are explored. The accounting risk measures and models are also compared between finance and manufacturing industries. The market risk measures consist of the systematic risk, the unsystematic risk, and the total risk. The accounting risk measures can be categorized into 8 factors. They are the firm size, the capital structure, liquidity, profitability, earnings variability, growth, operating leverage, and the dividend policy. The hypotheses for the significance of accounting risk measures are tested using statistical multiple regression and factor analyses. The stepwise regression is analyzed for variables selection of the accounting risk measure models. The results of the study show that for the finance industry, significant accounting risk measures are return on assets, assets’ growth and earnings variability. For the manufacturing industry, assets’ size, current ratio, and assets’ growth are significant. The study finds the models for accounting risk measures can explain the unsystematic risk better than the systematic risk in both finance and manufacturing industries. The unsystematic risk factor model for finance industry’s shows long-term debt to equity ratio, return on assets, and earnings variability as significant factors; while the model for manufacturing industry illustrates the sales size and current ratio as the most significant factors. The investors can use accounting risk measures in evaluating the risk of interested securities for their investment decisions. The accounting risk measure models can also be used to assess and compare the risk between securities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: บัญชีดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74362
ISSN: 9745845825
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutha_de_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ979.95 kBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_ch1_p.pdfบทที่ 11.47 MBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_ch2_p.pdfบทที่ 22.02 MBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_ch3_p.pdfบทที่ 31.33 MBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_ch4_p.pdfบทที่ 42.22 MBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_ch5_p.pdfบทที่ 51.32 MBAdobe PDFView/Open
Sutha_de_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.