Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74383
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรอนงค์ กังสดาลอำไพ-
dc.contributor.advisorอายุตม์ ธรรมครองอาตม์-
dc.contributor.authorสุนันทา วังโสภณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-07-07T07:45:58Z-
dc.date.available2021-07-07T07:45:58Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745775681-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74383-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractภาวะโลหิตจางเนื่องจากการขาดสารอาหารเป็นปัญหาทุโภชนาการที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กซึ่งพบอุบัติการค่อนข้างสูงกว่าการขาดสารอาหารอื่นภาวะโลหิตจางนี้จะรักษาโดยการให้รับประทานยาเหล็กแต่เนื่องจากผลข้างเคียงของยาทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่ยอมรับประทานยา อย่างไรก็ตามมีรายงานที่พบว่าวิตามินซีสามารถเพิ่มการดูดซึมของเหล็กประเภทไม่ใช่ฮีมได้ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมวิตามินซี ต่อประสิทธิภาพในการบำบัดภาวะโลหิตจางโดยการให้เหล็ก สถานที่ศึกษาคือสถานสงเคราะห์เด็กบ้านราชวิถี โดยทำการสำรวจภาวะโลหิตจางของเด็กวัย 6-14 ปี 420 ราย พบว่ามี 35 ราย (ร้อยละ 8.33) ที่อยู่ในภาวะโลหิตจางเริ่มแรกและมีเพียง 2 รายจาก 35 ราย (ร้อยละ 5.71) ที่อยู่ในภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก จากนั้นเด็กทั้ง 35 รายถูกสุ่มแบ่งเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้ได้รับยาต่างๆ กัน เป็นเวลา 1 เดือนโดยกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มควบคุมไม่ได้รับยาใดๆ เลย; กลุ่มที่ 2 ได้รับยาเหล็ก เฟอร์รัสซัลเฟตในขนาดต่ำคือ 300 มิลลิกรัม 1 เม็ด; กลุ่มที่ 3 ได้รับยาเหล็กเฟอร์รัลซัลเฟต 1 เม็ด ร่วมกับวิตามินซี 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด; กลุ่ม 4 ได้รับยาเหล็กเฟอร์รัสเฟตในขนาดสูงถึง 300 มิลลิกรัม 2 เม็ดและกลุ่มที่ 5 ได้รับยาเหล็กเฟอร์รัสซัลเฟต 2 เม็ดร่วมกับวิตามินซี 100 มิลลิกรัม 1 เม็ดเมื่อครบ 1 เดือนก็ทำการเจาะเลือดมาตรวจวัดระดับฮีมาโตคริต ฮีโมโกลบินและซีรัมเฟอร์ริตินนำค่าผลต่างเฉลี่ยของค่าเหล่านี้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาจะมีระดับฮีมาโตคริต ฮีโมโกลบินและซีรัมเฟอร์ริตินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อนำกลุ่มที่ได้รับยามาเปรียบเทียบกันพบว่ากลุ่มที่ 5 ให้ผลการรักษาดีกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต การรักษาโดยให้ยาเหล็ก 1 เม็ดควบกับวิตามินซี 1 เม็ด (กลุ่มที่ 3) ให้ผลการรักษาดีกว่าการให้ยาเหล็ก 2 เม็ด (กลุ่มที่ 4) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สรุปได้ว่าการเสริมวิตามินซีให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการดูดซึมของเหล็กประเภทไม่ใช่ฮีมจึงทำให้ผลการบำบัดภาวะโลหิตจางดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เสริม ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงต่ออาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ของเหล็ก จึงควรรับประทานเหล็กในขาดต่ำร่วมกับวิตามินซี-
dc.description.abstractalternativeNutritional anemia is one of the major nutritional problems in Thailand. The most common type of nutritional anemia is iron deficiency anemia. In such cases, iron supplementation is a routine treatment. However, in some patient unwanted side-effects or even rejection may occur. Vitamin C (ascorbic acid) has been shown to play a significant role in enhancing the intestinal absorption of dietary non-heme iron. This studies were design to evaluate the effects of vitamin C supplementation on iron treatment for anemia. Nutritional status of iron in 420 children, age 6-14 years old, from Rajavidhi Orphanage Home were evaluated. Thirty-five children (8.33 percent) were borderline anemia, 2 in 35 (or 5.71 percent) were identified as iron deficiency anemia. All borderline anemic children were randomly assigned into 5 groups. Group 1 serves as a control group. Each children in 2-5 was supplemented daily for one month with the following; group 2 received 300 mg ferrous sulphate; group 3 received 300 mg ferrous sulphate and 100 mg L-ascorbic acid; group 4 received 600 mg ferrous sulphate and group 5 received 600 mg ferrous sulphate and 100 mg L-ascorbic acid. The response to these therapy was evaluated from the calculated mean differences of hematocrit, hemoglobin and serum ferritin, before and after one month treatments and compared to the control group. Iron status of the treatment groups were significantly improve when compared to the control groups. Groups 5 gave the best response. The response of group 3 was better than group 4 but was not significant different (p<0.05). This study shows that treatment with ferrous sulphate at low dose supplemented with Vitamin C can be as effective as high dose.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิตามินซีen_US
dc.subjectเลือดจางในเด็กen_US
dc.subjectVitamin Cen_US
dc.subjectAnemia in childrenen_US
dc.titleผลของการเสริมวิตามิน ซี ต่อการบำบัดด้วยเหล็ก ในเด็กที่เป็นโลหิตจางระยะเริ่มแรกen_US
dc.title.alternativeEffect of vitamin C supplementation on the response to iron treatment in borderline anemic childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอาหารเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOranong.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunantha_wa_front_p.pdf980.2 kBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch1_p.pdf743.01 kBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch2_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch3_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch4_p.pdf963.71 kBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch5_p.pdf768.58 kBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_ch6_p.pdf674.28 kBAdobe PDFView/Open
Sunantha_wa_back_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.