Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74519
Title: การสำรวจการตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรม โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: Survey of judgement of seriousness of crimes by pupils and stndents in Bangkok Metropolis
Authors: อุสา สุทธิสาคร
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: ความก้าวร้าว
อาชญากรรม -- ไทย
อาชญากรรมในสื่อมวลชน -- ไทย
Aggressiveness
Crime -- Thailand
Crime in mass media -- Thailand
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจการตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรม 12 ประเภท โดยนักเรียนนิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ศึกษาความแตกต่างของการตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมตามตัวแปรอิสระ 13 ตัวแปร คือ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทของสังกัดของสถานศึกษาประเภทของสื่อมวลชนที่ใช้รับข่าวอาชญากรรม ความถี่ของการรับข่าวอาชญากรรม การเคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม การมีผู้รู้จักคุ้นเคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม การศึกษาของบิดา – มารดา อาชีพของบิดา-มารดา รายได้ต่อเดือนของทุกคนในครอบครัวรวมกัน และระยะเวลาของการอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและศึกษาตัวแปรอิสระที่ทำนายการตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมได้อย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียน นิสิต นักศึกษาตัดสินอาชญากรรมด้านเพศว่าร้ายแรงที่สุด 2. เมื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยในตัวแปรอิสระ 13 ตัวแปร พบว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษาตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมเฉลี่ยจากทุกประเภทแตกต่างกันในตัวแปรเหล่านี้คือ 2.1 เพศ นักเรียน นิสิต นักศึกษาเพศหญิง ตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมเฉลี่ยจากทุกประเภทสูงกว่านักเรียน นิสิต นักศึกษาเพศชาย (p <.001) 2.2 ระดับการศึกษา นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี ตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมเฉลี่ยจากทุกประเภทสูงกว่า นักเรียน นักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี (p <.05) 2.3 ประเภทของสังกัดของสถานศึกษา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาลตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรม เฉลี่ยจากทุกประเภทสูงกว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาในสถานศึกษาเอกชน (p <.01) 2.4 ประเภทของสื่อมวลชนที่ใช้รับข่าวอาชญากรรม นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่รับข่าวอาชญากรรมจากทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมเฉลี่ยจากทุกประเภทสูงกว่า นักเรียนนิสิต นักศึกษาที่รับข่าวอาชญากรรมจากหนังสือพิมพ์อย่างเดียว (p <.01) 3. ตัวแปรอิสระที่ทำนายการตัดสินความร้ายแรงของอาชญากรรมเฉลี่ยจากทุกประเภทของนักเรียนนิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีนัยสำคัญ คือเพศ (β = .14) และประเภทของสื่อมวลชนที่ใช้รับข่าวอาชญากรรม (β = .13) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหูคุณ = .19 (p <.001)
Other Abstract: The purposes of this research were to survey the judgments or seriousness of twelve types of crimes by pupils and students in Bangkok Metropolis, to study the differences of these judgments according to thirteen independent variables: sex, educational level, type of institution, type of mass media recived, frequency of crime news recived, crimes' victimization, acquaitanceship with crimes' victims, father's and mother's educational levels father's and mother's occupations, family income and duration of living in Bangkok, and to study the independent variables which significantly predict the judgment of seriousness of crimes. Results indicate that 1. Pupils and students judge sex crimes to be the most serious type. 2. Pupils and students judge the seriousness of crimes, averaging from the twelve types, significantly different according to the following variables: 2.1 Sex: Females judge the seriousness of crimes significantly higher than males. (p <.001) 2.2 Educational level: Undergraduate students judge the seriousness of crimes significantly higher than pupils. (p <.05) 2.3 Type of institution: Pupils and students in the government's institutions judge the seriousness of crimes significantly higher than pupils and students in non-government's institutions. (p <.01) 2.4 Type of mass media received : Those who recieve crime news from newspaper and television judge the seriousness of crimes significantly higher than those who recieve only from newspaper. (p<.01) 3. The independent variables which significantly predict the judgment of seriousness of crimes, averaging from twelve types, are sex (β=.14) and type of mass media recieved (β=.13) with a multiple correlation of, 19. (p <.001)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74519
ISBN: 9745697974
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usa_su_front_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Usa_su_ch1_p.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Usa_su_ch2_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Usa_su_ch3_p.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Usa_su_ch4_p.pdf863.97 kBAdobe PDFView/Open
Usa_su_back_p.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.