Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74606
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | ธนากร จงวิลาสลักษณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-21T04:40:52Z | - |
dc.date.available | 2021-07-21T04:40:52Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746392239 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74606 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองการออกแบบโครงสร้างเพื่อรับแรงลม และแผ่นดินไหวในประเทศไทย ตามสกาหภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และลักษณะการก่อสร้างในประเทศไทย การศึกษาจะใช้วิธีการหาแรงเทียบเท่าเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีสถิตย์ที่สะดวกและรวดเร็วแทนวิธีพลศาสตร์ที่ยาก และเสียเวลามากกว่า เริ่มแรกของการวิจัยได้กำหนดลักษณะโครงสร้างอาคารที่สอดคล้องกับวิธีการก่อสร้างในประเทศไทยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาคารตํ่ามีความสูงไม่เกิน 10 ชั้น และกลุ่มอาคารสูงซึ่งแยกเป็น 3 ระดับ คือ 20 ชั้น 30 ชั้น และ 40 ชั้นเพื่อศึกษาความถี่ธรรมชาติของอาคารด้วยวิธีการทางพลศาสตร์ ซึ่งสามารถแปลงเป็นคาบของโครงสร้างได้ แล้วจึงนำไปวิเคราะห์หาการสนองตอบทางโครงสร้างในรูปของการขยับตัว แรงเฉือน และแรงดัดจากแรงลม และแรงจากแผ่นดินไหว ได้กำหนดการพัฒนาแบบจำลองในการหาแรงสถิตเทียบเท่าแทนวิธีทางพลศาสตร์นั้น ได้กำหนดตัวแปรหลักด้วยความสูงของอาคารและสติฟเนสของโครงสร้าง ขอบข่ายของการศึกษาได้กำหนดให้ระบบโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก น้ำหนักของโครงสร้างแต่ละชั้น และความสูงระหว่างชั้นเท่ากันตลอดความสูงของอาคาร ผลของการศึกษาคาบของโครงสร้างพบว่าความสูงมีอิทธิพลสูงสุด และสติฟเนสโครงสร้างมีอิทธิพลเป็นรอง และการศึกษามิได้พิจารณาตัวแปรจากน้ำหนักหรือมวลของโครงสร้าง ซึ่งคาบของโครงสร้างตามความสูงอาจคาดคะเนอย่างง่ายที่ 0.10 วินาทีต่อชั้น หรือ 0.028 วินาทีต่อเมตร หรือสามารถคำนวณให้ละเอียดขึ้นจากสูตร T = 0.034 H096 เมื่อ T คือ คาบของโครงสร้างมีหน่วยเป็นวินาที และ H คือ ความสูงของอาคารมีหน่วยเป็นเมตร และคาบของโครงสร้างตามสติฟเนสของโครงสร้าง อาจพิจารณาในสัดส่วนของผนังรับแรงเฉือนต่อโครงเฟรม ด้วยตัวคุณเทียบกับคาบเมื่อให้ผนังรับแรงเฉือนทั้งหมด การพัฒนาแบบจำลองสำหรับแรงลมได้ใช้สเปกตรัมความเร็วลมของ Hino แทนลักษณะลมในประเทศไทยร่วมกับพฤติกรรมทางโครงสร้างทางพลศาสตร์ด้วยคาบของโครงสร้าง สามารถศึกษาลักษณะการกรรโชกของลมที่มีผลต่อการสนองตอบทางโครงสร้างแล้วกำหนดตัวประกอบการกรรโชกโดยจัดให้เป็นฟังก์ชันของความสูง สเปกตรัมของแรง และความดันของลม และได้สร้างกราฟเพื่อการออกแบบตามสัดส่วนความกว้างต่อความสูง ( b / H ) หาแรงลมสถิตเทียบเท่า ผลของการศึกษาการตอบสนองทางโครงสร้างในรูปของการขยับตัวแรงเฉือน และแรงดัดพบว่าได้ผลคล้องจองกับที่ในทุกระดับความสูงของอาคาร ยกเว้นเฉพาะในกรณีของอาคารสูงเกินกว่า 40 ชั้นที่มีความคลาดเคลื่อนของแรงดัดเกินกว่า 20 % การพัฒนาแบบจำลองแรงจากแผ่นดินไหวด้วยสเปกตรัมความเร่งของนพดลร่วมกับการคาดคะเนลาบทางโครงสร้างตามวิธีที่กำหนด จะสามารถหาแรงเทียบเท่าจากแผ่นดินไหวแปรตามความสูงได้ การวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีสถิตย์จะให้ค่าสนอง ตอบทางโครงสร้างในรูปของการขยับตัวแรงเฉือน และแรงตัด ที่ความสูงอาคาร 10 ชั้น, 20 ชั้นและ 30 ชั้น ให้ผลคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 % แต่สำหรับอาคารสูง 40 ชั้นความคลาดเคลื่อนของแรงเฉือนและแรงดัดเกินกว่า 15 % จึงอาจพิจารณาใช้การวิเคราะห์แบบ พลศาสตร์แทน ผลจากการศึกษาวิจัยแบบจำลองของแรงลมและแผ่นดินไหวในประเทศไทยจะสามารถเสนอแนะเป็นข้อกำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารได้ด้วยความปลอดภัย สำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 40 ชั้น | - |
dc.description.abstractalternative | This research is to develop force model for wind and earthquake conforming to the geographies, meteorologic and construction conditions in Thailand. The equivalent static loading can be use for structural analysis more convenience by static method instead of the dynamic one which take more time and complication. The study has categorized the building structure in two groups ; lowrise building of maximum storey at 10 and highrise building of 3 sub-groups of 20, 30 and 40 stories. Dynamic characteristics by means of natural frequency and period of the structures have been determined with principal parameters of building height and structural stiffness. Weight or mass of the structure are assumed to be uniformed and equal lumped trough-out building height. Period of the structure has found to be more influenced by building height then the structure stiffness. Structural period can be estimated by rule of thumb as 0.010 sec/floor or 0.028 sec/meter, or by more accurate formula as T = 0.034 H0.96 where T = structural period (sec.) and H = building height (meter). The lateral stiffness of structure as ratio of shearwall to frame has found to have minor influence on the structural period. However, they may be taken into consideration by factors as proposed. Development of wind load model has employed the wind speed spectrum proposed by Hino [5] to study structural response in Thailand under dynamic character of structural periods as proposed. Gust factor can be determined in accordance with building height, force spectrum and wind pressure. The design chart for equivalent static force has been proposed in terms of building height and aspect ratio (b/H). The structural responses as lateral drift, base shear and maximum moment have been compared between the static and dynamic analysis. The results have shown that the response agree well in each cases expect the building of 40 stories show large discripency for flexure up to 20 %. Earthquake load model has adopted earthquake spectrum developed by Noppadon [14] to normalize acceleration spectrum comprising with dynamic characteristic of structural period, then the design charts and equivalent static can be determined. To evaluate the structural responses, both static and dynamic analysis has carried out. The result has shown that all cases are well agree, but the 40 stories building may require sophisticate dynamic analysis since flexure and shear have exceed 15% tolerance. Force models for wind and earthquake in Thailand can be proposed for Building Control Regulation to be used accurately and safely for buildings less than 40 stories height. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.380 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การออกแบบโครงสร้าง | en_US |
dc.subject | การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว | en_US |
dc.subject | การออกแบบต้านทานแรงลม | en_US |
dc.subject | ลม -- ความเร็ว | en_US |
dc.subject | แผ่นดินไหว | en_US |
dc.subject | Structural design | en_US |
dc.subject | Wind resistant design | en_US |
dc.subject | Winds -- Speed | en_US |
dc.subject | Earthquakes | en_US |
dc.title | การศึกษาแบบจำลองสำหรับแรงลมและแรงแผ่นดินไหว สำหรับพระราชบัญญัติควบคุมอาคารในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | A study on wind and earthquake model for Thai Building Control Regulation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1997.380 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanakorn_jo_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 651.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tanakorn_jo_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 917.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.