Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74667
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โภคิน พลกุล | - |
dc.contributor.advisor | ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ | - |
dc.contributor.advisor | ชาญวิทย์ ยอดมณี | - |
dc.contributor.author | สุจิน ซื่อสุวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-23T05:34:34Z | - |
dc.date.available | 2021-07-23T05:34:34Z | - |
dc.date.issued | 2532 | - |
dc.identifier.isbn | 9745699144 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74667 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ว่า หลักกฎหมายไทยในเรื่องความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการในปัจจุบัน มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อข้าราชการหรือไม่ โดยได้นำแนวกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมัน มาเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยต่อไป ผลการวิจัยพบว่า การที่ประเทศไทยไม่มีหลักกฎหมายมหาชนในเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ได้นำหลักกฎหมายเอกชน คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ ก่อให้เกิดผลเสีย คือ 1. ทำให้ข้าราชการต้องรับผิดต่อเอกชนผู้เสียหายในละเมิดจากการกระทำทางปกครองทุกกรณีแม้หน่วยราชการในฐานะแทนรัฐอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมด้วยก็ตาม แต่ความรับผิดชอบของหน่วยราชการเป็นเพียงความรับผิดแทนไปก่อนเท่านั้น การที่ข้าราชการต้องรับผิดในละเมิดเป็นส่วนตัวเช่นนี้ ก่อให้เกิดผลเสียต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการ ความเกรงกลัวต่อความรับผิดอาจทำให้ข้าราชการที่สุจริตไม่กล้าตัดสินใจและชะลอการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือจะพยายามปัตภาระความรับผิดชอบไปยังผู้อื่นถ้ามีโอกาส อันส่งผลถึงประสิทธิภาพของหน่วยราชการซึ่งกระทบกระเทือนถึงประเทศชาติใดยส่วนรวม 2. การให้หน่วยราชการมีสิทธิไล่เบี้ยจากข้าราชการได้เต็มจำนวน แม้ในกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อธรรมดา โดยไม่ยอมให้มีการแบ่งสรรหรือเฉลี่ยความรับผิดระหว่างหน่วยราชการในฐานะแทนรัฐกับข้าราชการ รวมทั้งการกำหนดให้ข้าราชการผู้ต้องรับผิดหลายคนในหนี้ที่แบ่งแยกไม่ได้ ต้องรับผิดร่วมกันและแทนกันในลักษณะลูกหนี้ร่วม ทำให้ข้าราชการอาจต้องรับผิดเกินกว่าการกระทำความผิดได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวในลักษณะที่รัฐควรจัดให้มีกฎหมายสาระบัญญัติในเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครองขึ้น โดยแบ่งแยกขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐกับข้าราชการและกำหนดขอบเขตการฟ้องไล่เบี้ยในกรณีต่าง ๆ ให้เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีหน่วยราชการในฐานะแทนรัฐเพื่อความรับผิดสำหรับการกระทำในทางปกครองของข้าราชการได้โดยตรง ไม่ว่าความผิดนั้นจะมีลักษณะเป็นความผิดส่วนตัวของข้าราชการหรือความผิดของหน่วยงานก็ตามส่วนในเรื่องสิทธิไล่เบี้ยของหน่วยราชการต่อข้าราชการ ควรให้มีเฉพาะการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และหากรัฐมีส่วนบกพร่องก็ให้มีการแบ่งเฉลี่ยความรับผิดระหว่างรัฐกับข้าราชการด้วย นอกจากนี้ ในกรณีมีข้าราชการผู้ต้องรับผิดหลายคน รัฐจะต้องพิจารณาแยกความรับผิดของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงการกระทำ ตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบด้วย ไม่ควรใช้หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้แต่ละบุคคลรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมเช่นในปัจจุบัน | - |
dc.description.abstractalternative | The Objective of this thesis is to analyze whether the present Thai Laws concerning Tort Liability of the Government Officers are suitable and just for the government officers and to what degree by comparing these laws with those of England, the United States of America, France and Germany to find a way to improve the Thai Laws. The outcome of the research shows that since Thailand does not have special public law principles to deal with this matter but adapts private law principles to be used instead, disadvantages arise. 1. The government officers must be liable to compensate an individual who suffers damage caused by an administrative act in all cases. Even though the government unit, as representative of the government, may be charged as co-defendant, but its liability is only to first compensate for the government officers' behalf. The fact that the government officers must personally be liable in tort has a bad result on their morale. Being afraid of their liability, honest government officers may be unable to decide and refrain from performing their duties or try to put the responsibility on someone else if there is a chance to do so. This may have an effect on the efficiency of the government unit which in turns effects the nation as a whole. 2. By giving the government unit the rights of recourse against the government officers in full, even in the case of ordinary negligence, without letting the government unit as representative of the government share the liability with them; and by stating that in case of indivisible debt several government officers must be jointly liable as co-debtors which may cause them to be bound to make compensation more than the wrongful act they did. This thesis proposes ways to solve the aforesaid problems: the government should organize to have substantive law regarding the liability of the administration by dividing the limits of responsibility of the government and the government officers and determining a proper and just limitation of the right of recourse in different cases, especially by allowing the injured person to directly file a lawsuit against the government unit as representative of the government for the liability caused by the government officers 'administrative act no matter whether such wrongful act is committed by the government officers personally or by the government unit. As for the right of recourse of the government unit against the government officers, it should exist only in case of wrongful act committed intentionally or grave negligence. And of the government is also at fault there should be a share of liability between the government and the government officers. Moreover, in case of several government officers sharing the compensation, the government must differentiate each individual's liability. by considering his act, position and responsibility. It should not employ the Civil and Commercial Code by letting each individual be liable as co-debtors like at present. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข้าราชการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en_US |
dc.subject | การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง | en_US |
dc.subject | กฎหมายปกครอง -- ไทย | en_US |
dc.subject | นิติกรรมทางการปกครอง | en_US |
dc.subject | Public officers -- Law and legislation -- Thailand | en_US |
dc.subject | Judicial review of administrative acts | en_US |
dc.subject | Administrative law -- Thailand | en_US |
dc.subject | Administrative acts | en_US |
dc.title | ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ | en_US |
dc.title.alternative | Tort ltability of the covernment officers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujin_se_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch0_p.pdf | 880.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch1_p.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch2_p.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch3_p.pdf | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch4_p.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_ch5_p.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujin_se_back_p.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.