Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74709
Title: | บทบาทของวุฒิสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 |
Other Titles: | Role of the senate in the legislative process : a case study of the Senate According to the Thai Constitution B.E. 2521 |
Authors: | อำนาจ ชุณหะนันทน์ |
Advisors: | วิษณุ เครืองาม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วุฒิสภา -- อำนาจหน้าที่ วุฒิสภา -- ไทย นิติบัญญัติ -- ไทย Legislation -- Thailand |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญสองประเภทใหญ่ ๆ คือ อำนาจหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาถึงอำนาจหน้าที่และบทบาทของวุฒิสภาในทางนิติบัญญัติอัน ได้แก่ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาจากสภาผู้แทนราษฎรโดยจำกัด เฉพาะในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เฉพาะวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั่นเอง ทั้งนี้ได้ย้อนไปพิจารณาถึงแนวความคิดทั่วไป, กำเนิดและวิวัฒนาการของวุฒิสภาไทยที่ผ่านมาและประการสำคัญก็คือ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของการมีวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทำการวิจัยว่า วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แสดงบทบาทตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูเออย่างไรและเพียงใด ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือจำกัด ขีดความสามารถของวุฒิสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำผลของการปฏิบัติงานของวุฒิสภาในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน มาศึกษาวิจัยประกอบกับได้ทำการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่าง โดยคัดเลือกร่างพระราชบัญญัติบางฉบับในแต่ละกรณีมาทำการศึกษา ซึ่งพบว่า วุฒิสภาได้เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่เข้าสู่การพิจารณาเป็นส่วนใหญ่ มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นส่วนน้อย และมีการยับยั้งร่างกฎหมายในบางฉบับเท่านั้น ร่างพระราชบัญญัติส่วนใหญ่ที่ขึ้นไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภานั้น ส่วนใหญ่เป็นร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ แม้วุฒิสภาจะมีข้อจำกัดทั้งทางด้านตัวบุคคล, ด้านเวลาและอำนาจหน้าที่ แต่วุฒิสภาก็ยังสามารถทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้ดีพอสมควร แม้บางครั้งวุฒิสภาอาจเป็นเป้าแห่งการวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งสื่อมวลชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนโดยเฉพาะในกรณีที่วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายไปในแนวทางที่ขัดแย้งกับสภาผู้แทนราษฎร แต่โดยส่วนรวมแล้วบทบาทของวุฒิสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญด้วยการทำหน้าที่เป็นสภากลั่นกรองร่างกฎหมายต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร แม้การใช้อำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ วุฒิสภาก็มิได้ใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อมุ่งหมายจะคัดค้านความเห็นของสภาผู้แทนราษฎรโดยปราศจากเหตุผลเสียทีเดียว แต่มีน้ำหนักที่สภาผู้แทนราษฎรและมหาชนเองก็รับฟัง |
Other Abstract: | According to the Constitution, the Senate have two major functions, being part of the legislative process and control of the Executive. This thesis is to study function and role of the Senate in the legislative process and within the past 10 years only. In other words, it is a case study of the Senate created under the present constitution. Emphasis is also placed on general concept of the bicameral assembly, origin and development of the Thai Upper House and, specifically, rationale behind the recognition of the Senate in the present constitution. The questions as to whether the Senate Has played its role in accordance with such rationale, and whether there are any factors behind its success and failure will be analyzed. Selected cases of the Senate's role in the legislative process is made and it is found that most bills were approved by the Senate without amendment, come bills were amended and few bills were Vetoed. However most, if not all, bills passing the House to the Senate for its decision were initiated by the Government. Inspite of limitations on personality and capacity of its members, time and function, the Senate can play its legislative role quite satisfactory. It may be under heavy criticism sometimes, especially when its decision was in conflict with that of the House. However, generally speaking, the Senate's role in the legislative process is in accordance with the rationale and justification behind its creation. Its veto power which have been used sometimes is not without any reason because in most of the cases as analyzed here even the House and the public have agreed with it. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74709 |
ISBN: | 9745764116 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amnat_ju_front_p.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnat_ju_ch1_p.pdf | 783.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnat_ju_ch2_p.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnat_ju_ch3_p.pdf | 5.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnat_ju_ch4_p.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnat_ju_ch5_p.pdf | 999.41 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.