Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74780
Title: การศึกษาวิธีหาพิกัดตำแหน่งบนผิวโลกจากสัญญาณดาวเทียมดอปเปลอร์
Other Titles: Study of position-on-earth determination from Doppler Satellite data
Authors: สุรศักดิ์ ลี้เกื้อกูล
Advisors: ชูเกียรติ วิเชียรเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พิกัดภูมิศาสตร์
การทำแผนที่
การรังวัด
ดาวเทียมในการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
Geographical positions
Cartography
Surveying
Artificial satellites in remote sensing
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีหาค่าพิกัดตำแหน่งจากข้อมูลการรับสัญญาณดาวเทียมแบบโครงข่ายของฝ่ายรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยระบบดาวเทียม กรมที่ดิน โดยตรวจสอบถึงความเหมาะสมของการคำนวณหาค่าพิกัดตำแหน่งบนพื้นหลักฐานดาวเทียมจากการคำนวณแบบทรานสโลเคชั่นและแบบโครงข่ายและนำมาคำนวณเปลี่ยนเป็นพื้นหลักฐานอินเดียน 2518 โดยใช้พารามิเตอร์ 3 ค่า เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณกับค่าพิกัดของกรมแผนที่ทหาร การคำนวณแบบทรานสโลเคชั่นให้ค่าต่างสูงสุด ทางทิศเหนือ 0.839 เมตร ทางทิศตะวันออก 0.989 เมตร ส่วนแบบโครงข่ายทางทิศเหนือ 0.828 เมตร ทางทิศตะวันออก 0.934 เมตร พบว่าการคำนวณทั้งสองแบบให้ค่าพิกัดตำแหน่งที่มีความคลาดเคลื่อน อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ในงานคำนวณของกรมที่ดินได้ ผลจากการศึกษาวิธีหาพิกัดตำแหน่งบนผิวโลกจากสัญญาณดาวเทียมช่วยในการพิจารณาเลือกวิธีการคำนวณ ที่เหมาะสมที่ให้ค่าพิกัดตำแหน่งที่ดี มีความคลาดเคลื่อนน้อยมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในงานรังวัดและทำแผนที่ เช่น การสร้างเส้นวงรอบจะมีหมุดควบคุมค่าพิกัดทางราบอยู่ในบริเวณที่สามารถทำการรังวัดได้สะดวก เป็นผลให้ความคลาดบรรจบอยู่ในเกณฑ์รังวัดชิ้นสามประเภทหนึ่ง และการทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่จากภาพถ่ายทางอากาศ มีค่าพิกัดตามมุมภาพถ่ายที่ต้องการได้รวดเร็ว
Other Abstract: The objective of this study is to determine the position on the earth's surface from Transit satellite data for Department of Lands (DOL) survey projects. The computation of position was carried out by two different methods, namely, Trans location Method and Network Adjustment Method on satellite datum. The results of computation were investigated and transformed to Indian Datum 1975 by using 3 transformation parameters. The comparison between these results and the values of Royal Thai Survey Department yielded maximum different 0.839 m. in northing and 0.989 m. in easting for translocation method and 0.828 m. and 0.934 m. in northing and easting respectively for network adjustment method. The result of comparison for both translocation and network adjustment methods are suitable for position determination for DOL applications. The results of this study can be use as guidelines for selecting the appropriate method for determination of position on the earth' s surface to meet requirements on accuracies, expenses, and operating time in establishing photo control points, and horizontal control points for DOL third order traverses.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74780
ISBN: 9745766658
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasak_le_front_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch1_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch2_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch3_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch4_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch5_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_ch6_p.pdf860.26 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_le_back_p.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.