Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74882
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการแตกของเม็ดเลือดแดง ที่สัมผัสไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์กับอัตราส่วนของวิตามินอีต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรัง |
Other Titles: | Correlation of Hydrogen Peroxide Hemolysis and Vitamin E/Total Lipids Ratio in children with Chronic Liver Disease |
Authors: | ทิวรรก์ ศรีรุ่งโรจน์ |
Advisors: | ยง ภู่วรวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โรคเรื้อรังในเด็ก เม็ดเลือดแดง วิตามินอี ไขมันในเลือด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ Chronic diseases in children Erythrocytes Vitamin E Blood lipids Hydrogen peroxide |
Issue Date: | 2539 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง H2O2 Hemolysis Test กับ Vitamin E/Total lipids ratio ในการประเมินภาวะของวิตามิน E และหาความชุกของการขาดวิตามิน E ในผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ศึกษา ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร ผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรัง 32 คน (อายุ 2 เดือน - 11 ปี 11 เดือน) ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะได้รับการตรวจร่างกายและตรวจเลือด วิธีการศึกษา ตรวจ H2O2 Hemolysis Test (Modified Honwitt et al. technique), serum vitamin E (HPLC) และ total lipids (Colorimetric method), หาความสัมพันธ์ระหว่าง H2O2 Hemolysis กับ Vitamin E/ total lipids ratio และหาความชุกของการขาดวิตามิน E โดยวินิจฉัยการขาดวิตามิน E เมื่อ vitamin E/total lipids < 0.6 mg/gm ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ของ H2O2 Hemolysis และ Vitamin E/total lipids ratio มีความสัมพันธ์กันน้อย (r=-.3220 p = 0.072) แต่ถ้าแบ่งตามกลุ่มผู้ป่วยอายุ < 1 ปี พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน (r=-.7107, p=0.009) และไม่มีความสัมพันธ์กันในกลุ่มผู้ป่วยอายุ ≥ 1 ปี (p=-.2109, p = 0.372) ส่วนความชุกของการขาดวิตามิน E ในผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรังคิดเป็น 84.4% และไม่พบความแตกต่างของการขาดวิตามิน E ระหว่างกลุ่มที่ ได้รับวิตามิน E โดยการรับประทาน (n = 19) และไม่ได้รับวิตามิน E (n = 13) (p = 0.065) ถึงแม้จะพิจารณาแบ่งกลุ่มตามความรุนแรงของโรคแล้วก็ตาม แต่พบว่าถ้าระดับ bilirubin ≥ 10 mg/dl นั้นจะพบการขาดวิตามิน E ในผู้ ป่วยทุกราย บทสรุป H2O2 Hemolysis Test สามารถใช้ประเมินภาวะของวิตามิน E ได้เช่นเดียวกับ Vitamin E/total lipids ในผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรังที่อายุ < 1 ปี ส่วนในผู้ป่วยที่อายุ ≥ 1 ปี จำเป็นต้องศึกษาต่อไปถึงการตรวจที่ เหมาะสมและควรเฝ่าระวังการขาดวิตามิน E ในผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับวิตามิน E และให้การ รักษาที่เหมาะสมโดยควรพิจารณาถึงการใช้วิตามิน E ในรูปแบบฉีดหรือรูปแบบรับประทานชนิดที่ละลายน้ำได้ เพื่อป้องกันความพิการทางระบบประสาทในผู้ป่วยเด็กโรคตับเรื้อรังในประเทศไทย |
Other Abstract: | Objective To analyse the correlation between H2O2 Hemolysis Test and Vitamin E/total lipids ratio and find prevalence of vitamin E deficiency in children with chronic liver disease Design Cross-sectional descriptive study Setting Department of Pediatrics, Chulalongkorn Hospital Patients 32 Children with chronic liver disease (age 2 months - 11 years 11 months) were examined and taken blood sample. Methods Examination of H2O2 Hemolysis Test (by Modified Horwitt et al. technique), serum vitamin E (by HPLC) and total lipids (by colorimetric method) were done and analysed the correlation between H2O2 Hemolysis and Vitamin E / total lipids ratio. Prevalence of vitamin E deficiency was calculated (criteria was vitamin E/total lipids ratio < 0.6 mg/gm) Results Partial correlation between H2O2 Hemolysis Test and vitamin E/ total lipids ratio (r=-.3220, p = 0.072) is observed. There are significant correlation (r=-.7107, p =0.009) in infants (age < 1 yr.), but no significance in children (age ≥ 1 yr.) (r=-.2109, p = 0.372). Prevalence of vitamin È dificency is 84.4% and no difference between oral vitamin E-treated group and non vitamin E-treated group (n = 13) (p=0.065), eventhough we analysed in different severity of disease. All of the patients that have total bilirubin ≥ 10 mg/dl, have vitamilj E deficiency. Conclusions H2O2 Hemolysis Test can be used as a measurement for evaluation of vitamin E status in infants (age < 1 years) with chronic liver disease, but in group of children (age ≥ 1 year) need further study. Surveillance and proper management of vitamin E deficiency should be done to prevent neurologic complication. Intramuscular and water-soluble form of vitamin E should be considered to be used in cholestatic children in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74882 |
ISBN: | 9746365827 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thiwan_sr_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 831.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 670.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 739.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 728.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 888.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 792.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thiwan_sr_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 749.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.