Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74886
Title: ผลของการชี้แนะโดยใช้วาจาและการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียน ต่อการเพิ่มพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนของเด็กแยกตัว
Other Titles: Effects of verbal prompting and assignment of classroom manager role on increasing social interaction with peer of withdrawn children
Authors: รัศมี ดินประเสริฐสัตย์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การจัดการชั้นเรียน
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเด็ก
จิตวิทยาเด็ก
Classroom management
Social interaction in children
Child psychology
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะโดยใช้วาจาและการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียนต่อการเพิ่มพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนของเด็กแยกตัว ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กแยกตัวที่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจาจะมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนสูงกว่าเด็กแยกตัวที่ไม่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจา 2. เด็กแยกตัวที่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจาจะมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์หางสังคมกับเพื่อนในระยะที่ให้การชี้แนะโดยใช้วาจาสูงกว่าระยะที่ไม่ให้การชี้แนะโดยใช้วาจา 3. เด็กแยกตัวที่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจาร่วมกับการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียนจะมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนสูงกว่าเด็กแยกตัวที่ไม่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจาร่วมกับการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียน 4. เด็กแยกตัวที่ได้รับการชี้แนะโดยใช้วาจาร่วมกับการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียนจะมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์หางสังคมกับเพื่อนในระยะที่ให้การชี้แนะโดยใช้วาจาและการกำหนดบทบาทผู้จัดการชั้นเรียนสูงกว่าระยะที่ไม่ให้การชี้แนะโดยใช้วาจาและระยะที่ให้การชี้แนะโดยใช้วาจาแต่เพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนอัมพรไพศาล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 6 คนซึ่งมีความถี่ของพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนต่ำกว่าร้อยละ 50 ของเวลาที่ใช้ในการสังเกตในช่วงเวลาเล่นอิสระ 20 นาทีการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 5 ระยะใช้การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลังการทดลอง (ABCBC control group design) ใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 10 สัปดาห์โดยใช้เวลาระยะละ 2 สัปดาห์ในแต่ละระยะทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมในช่วงเวลาเล่นอิสระ 20 นาทีของแต่ละวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเป็นค่าร้อยละ
Other Abstract: The purpose of this study was to study the effects of verbal prompting and assignment of classroom manager role on increasing social interaction with peer of withdrawn children. Results show that: 1. The withdrawn children with verbal prompting obtained more social interaction with peer than the withdrawn children in the control group. 2. The withdrawn children on verbal prompting phase showed more social interaction with peer than the withdrawn children on baseline phase. 3. The withdrawn children with verbal prompting and assignment of classroom manager role showed more social interaction with peer than the withdrawn children in the control group. 4. The withdrawn children on verbal prompting and assignment of classroom manager role phase obtained more social interaction with peer than the withdrawn children on baseline and verbal prompting phase. Subjects were six withdrawn kindergarten students from Ampornpaisarn school, Amphur Pakkred, Nonthaburi who had the frequency of social interaction with peer less than 50% during the 20-min. free-play time of the observation. The experiment was devided into five phase according to ABCBC control group design. In each phase, the behaviors were observed and recorded each day within 20-min. free-play time. The data were then statistically analysed by computing percentage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74886
ISBN: 9745697397
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Russamee_di_front_p.pdf937.66 kBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_ch1_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_ch2_p.pdf901.42 kBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_ch3_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_ch4_p.pdf900.36 kBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_ch5_p.pdf713.26 kBAdobe PDFView/Open
Russamee_di_back_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.