Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7497
Title: องค์กรธุรกิจกับบทบาทการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของญี่ปุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์
Other Titles: Business organization and their roles in supporting of Japanese companies in Thailand : a case study of automotive industry
Authors: พาริณี ทรัพย์ทวี
Advisors: สามารถ เจียสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Samart.C@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมยานยนต์ -- ไทย
การลงทุนของต่างประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยเล็งเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ จะส่งผลดีหลายประการทั้งในด้านเศรษฐกิจ การจ้างงานและการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ตามมา อาทิเช่นเหล็ก, พลาสติก ยางยนต์ และการที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านยานยนต์นี้เองส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และการชักนำให้บริษัทผู้ผลิตชั้นนำต่างๆ เข้ามาสร้างฐานการผลิตในประเทศ รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการต่างๆ การลดความเข้มงวดและอัตราภาษี อีกทั้งทักษะความชำนาญและความละเอียดรอบคอบของคนงานไทยถือเป็นปัจจัยบวกที่ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามา ปัจจัยเสริมทั้งหมดเหล่านี้ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนสูงสุดในประเทศไทย เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านนวัตกรรมการผลิตและเงินทุน ยิ่งไปกว่านั้นนักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังมีส่วนทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ตามมากับอุตสาหกรรมยานยนต์ นั่นคือ การเพิ่มขึ้นของปริมาณผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยในรูปแบบที่เรียกว่า cluster ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีจำนวนมากถึง 709 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนเพื่อส่งให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ 386 แห่ง ส่งให้โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ 201 แห่ง และส่งให้โรงงานรถยนต์และรถจักรยานยนต์อีก 122 แห่ง นอกจากนี้การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐที่ตั้งเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนก็เป็นอีกหนึ่ง โอกาสที่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้แก่อุตสาหกรรม ยานยนต์ไทย เห็นได้จากการขยายฐานการลงทุนของบริษัทยานยนต์ใหญ่ๆ อย่าง Toyota, Isuzu และ Mitsubishi ที่มีแผนการผลิตรถกระบะ 1 ตัน ในประเทศไทยเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศ ดังเช่น กระบะ 1 ตัน ที่เป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ Toyota VIGO, Isuzu D-Max และ Mitsubishi TRITON เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์พัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถแบ่งได้ 3 ช่วงเศรษฐกิจ คือ Liberalization, Rehabitate, Global Sourcing ตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พบว่านโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ออกมาไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เนื่องจากนักลงทุนมีการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรธุรกิจเพื่อให้ข้อมูลกับรัฐบาล ดังนั้นไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไรก็ตามจึงไม่กระทบต่อนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความต่อเนื่องและกลายเป็น จุดดึงดูดให้มีการลงทุนเพิ่มในประเทศไทย นอกจากนั้นองค์กรธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เจรจาต่อรองกับรัฐบาล หรือเป็นหน่วยงานกลางแจ้งให้รัฐบาลรับทราบปัญหาและความต้องการของสมาชิกในกลุ่มผ่านกิจกรรมการประชุมสัมมนาระหว่างบุคลากรทางภาครัฐที่มีอำนาจตัดสินใจและนักลงทุนญี่ปุ่นเช่น การประชุมนัดพบธุรกิจญี่ปุ่นกับภาครัฐบาลไทยโดยสมาคมไทย-ญี่ปุ่น หรือการนัดเจรจาของผู้บริหารองค์กรธุรกิจอย่าง JETRO กับรัฐมนตรีของไทย เป็นต้น ดังนั้นความต่อเนื่องของนโยบายจากการสนับสนุนขององค์กรธุรกิจนี้เองทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในช่วงปี 2534- ปัจจุบัน เป็นอุตสาหกรรมที่มีความต่อเนื่องด้านการเจริญเติบโต อีกทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเอง ก็มีการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติจึงส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและซื้อขายชิ้นส่วนของภูมิภาค ตลอดจนเป็นฐานการผลิต (Base of Production) ที่สำคัญของญี่ปุ่นในปัจจุบัน
Other Abstract: Nowadays, automotive industry becomes a part important for Thai economic growth. Thus, Thai government emphasizes and set this kind of industry to be goal. Moreover, there is few advantages particular employment, tecnology developed and it would benefit to other industries such as steel, plastic chemical and tire manufactories. In addition, government also realizes that automotive industry can pull capital inflow from foreign investors. As foreign investment promotion policy will persuade top producer companies to construct base of production in Thai, including convenience procedures and tax reduced. Especially, Thai employee skill is also the factor which invites foreign investors. All the factors which we have seen can influence the growth of motor-craft industry in Thai. As we know that Japan is the most investment automotive industry in Thai, because of the advantage of innovation producing and more capital. Moreover, Japanese investor can create other industries which are related to automotive industry. For instance, the increasing of 709 spare part investors in Thai as cluster that can result. The 122 spare part investors are supported to automobile and motorcycle production factories. The 386 spare part investors are supported to automobile factories and the 201 spare part investors are supported to motorcycle production factories. When we consider the developing of automotive industry in Thai, there are three economic features as following Liberalization, Rehabilitate and Global Sourcing. They were depended on politic era. However, we also found that automotive industry policy, is now not much relied on political part. As the result of car industry organization, is to provide the government information. Thus, when politic is changed, will not effect to car industry policy. In addition, this point can persuade much more investors to invest in our country. Although, another point of car industry, is to negotiate or inform the problem to government when they need help under name of automotive industry association. Thus, the continuity of this support policy can keep stability growth since 1991-2005. The spare part investors in Thailand will continue to developing of the employee skill to support the investment from the foreign investor. Finally, Thailand is the center of production and trade of spare part for the investor especially for Japanese investor.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7497
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.189
ISBN: 9745323926
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.189
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parinee.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.