Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74989
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ | - |
dc.contributor.advisor | ธีระ เกรอต | - |
dc.contributor.author | มาลี วิศวาจารย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-08-22T06:30:35Z | - |
dc.date.available | 2021-08-22T06:30:35Z | - |
dc.date.issued | 2531 | - |
dc.identifier.isbn | 9745693723 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74989 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาการใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าโรงงานสุราในการผลิตก๊าซชีวภาพ ทำโดยใช้ถังหมัก รูปทรงกระบอกติดตั้งในแนวนอน ถังหมักทำด้วยเหล็กไร้สนิมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.33 เมตร ยาว 0.60 เมตร ลักษณะเป็นแบบกวนสมบูรณ์ น้ำกากส่าที่ใช้นำมาจากโรงงานสุรา จังหวัดอยุธยา พารามิเตอร์ ควบคุมที่ศึกษา ได้แก่ อัตราการรับสารอินทรีย์ และระยะเวลาเก็บกักน้ำทิ้ง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อแปรอัตราการรับสารอินทรีย์ในช่วง 2.31 ถึง 7.41 กก. COD ต่อลบ.ม. - วัน และระยะเวลาเก็บกักน้าทิ้งในช่วง 6.67 ถึง 11.11 วัน อัตราการรับสารอินทรีย์ ที่ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพสูงสุด คือ 5.52 กก.COD ต่อลบ.ม. -วัน ที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำทิ้ง 11.11 วัน โดยให้ปริมาณก๊าซชีวภาพ 0.31x10 -3 ลบ.ม.ต่อ กก.COD ที่ป้อนเข้าสู่ระบบ หรือ 0.58% 10 -2 ลบ.ม. ต่อ กก.COD ที่ถูกกำจัดก๊าซชีวภาพที่ได้มีก๊าซมีเทนร้อยละ 65.5 และมีประสิทธิภาพการกำจัด COD ร้อยละ 54 ปริมาณ COD ที่ถูกกำจัดเท่ากับ 2.98 กก.ต่อลบ.ม. - วัน และเมื่อแปรระยะเวลาเก็บกักน้ำทิ้งในช่วง 6.67 ถึง 13.33 วัน ที่อัตราการรับสารอินทรีย์คงที่ 5.43 กก.COD ต่อ ลบ.ม. -วัน พบว่าการผลิตก๊าซชีวภาพ และประสิทธิภาพการกำจัด COD มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเก็บกักน้ำทิ้งที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลา เก็บกักน้ำทิ้งที่ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพสูงสุดได้แก่ 13.33 วัน ซึ่งให้ปริมาณก๊าซชีวภาพ 0.37x 10 -2 ลบ.ม. ต่อ กก.COD ที่ป้อนเข้าสู่ระบบ หรือ 0.55% 10 -2 ลบ.ม.ต่อ กก.COD ที่ถูกกำจัด ก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นมี ก๊าซมีเทนร้อยละ 67.5 และประสิทธิภาพการกำจัด COD ร้อยละ 68.0 | - |
dc.description.abstractalternative | The utilization of distillery slop on biogas production was studied by using the horizontal cylindrical digester. The digester was made of stainless-steel having a diameter of 0.33 m. and a length of 0.60 m. It was a completely mixed type. The slop from Ayuthaya Distillery was used as raw wastewater. The control parameters studied were organic loading and hydraulic retention time. The experimental results showed that, when organic loading was varied in the range of 2.31 to 7.41 kg .COD/m3-day and hydraulic retention time was varied in the range of 6.67 to 11.11 days, the organic loading of 5.52 kg.COD/ m3-day with hydraulic retention time 11.11 days could produce the heighest amount of biogas which was 0.31x10-2 m.3/kg.COD applied or 0.58x10-2 m.3 /kg. COD removed. The biogas contained methane gas of 65.5 percent. The efficiency of COD removal was 54 percent. The amount of COD removed was 2.98 kg./m3-day. And when hydraulic retention time was varied in the range of 6.67 to 13.33 days while keeping a constant organic loading of 5.43 kg.COD/ m3-day, it was found that the biogas production and COD removal efficiency were increased with the increase of hydraulic retention time. The hydraulic retention time which gave the heighest amount of biogas was 13.33 days. The amount of biogas produced was 0.37x10-2 m.3/kg.COD applied or 0.55x10-2 m.3/kg .COD removed. The biogas contained methane gas of 67.5 percent. And the efficiency of COD removal was 68.0 percent. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.108 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ของเสียจากโรงงานสุรา | en_US |
dc.subject | ก๊าซชีวภาพ -- การผลิต | en_US |
dc.title | การใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าโรงงานสุราในการผลิตก๊าซชีวภาพ | en_US |
dc.title.alternative | Utilization of distillery slop on biogas production | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1988.108 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Malee_wi_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 719.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 675.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Malee_wi_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.