Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75005
Title: สถานภาพและบทบาทของสตรีในครอบครัวจีนในสังคมไทยปัจจุบัน กรณีศึกษากลุ่มอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Status and role of women in the chinese family in contemporary Thailand : Case studies of a conservative group in Bangkok Meteopolis
Authors: เตือนพิศ ชัยพรหมประสิทธิ์
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supang.C@Chula.ac.th
Subjects: สตรีจีน -- ไทย
สตรี -- ไทย
ชาวจีน -- ไทย
สิทธิสตรี
ครอบครัว
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
สตรี -- ภาวะสังคม
บทบาททางสังคม
การผสมกลมกลืนทางสังคม
Women -- Thailand
Chinese -- Thailand
Women's rights
Women -- Social conditions
Assimilation ‪(Sociology)‬
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของสตรีจีนในชีวิตประจำวันภายในครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบันว่ามีสถานภาพและบทบาทเป็นเช่นใด ศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้สถานภาพ และบทบาทของสตรีในครอบครัวจีนมีสถานภาพเป็นเช่นในปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาถึงทัศนคติท่าที่และความคาดหวังของสตรีจีนที่มีต่อ เรื่องสถานภาพและบทบาทของตนในครอบครัว ข้อมูลที่นามาใช้ในการศึกษานี้ได้มาจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดจากสตรีจีน แต้จิ๋วที่มีภูมิล่า เนาอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตพระนคร และเขตสัมพันธ์วงศ์ โดยได้เลือกสุ่มกลุ่มกรณีศึกษาขึ้นมาทั้งหมด 20 ครัวเรือนในจำนวนนี้มีสตรีจีนแต้จิ๋วที่อยู่ในขอบเขตที่ทำการ สัมภาษณ์ได้ 31 ราย ผลการวิจัยพบว่า สตรีจีนในปัจจุบันมีสถานภาพและบทบาทที่สูงขึ้นกว่าเดิมในบางเรื่อง สตรีรุ่น ใหม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เท่าเทียมบุรุษ มีสิทธิในการเลือกคู่สมรสเอง สามารถประกอบอาชีพนอกบ้านได้ มีโอกาสในการเที่ยวเตร่นอกบ้านเพิ่มขึ้น มีส่วนในการอบรมปกครองและเลี้ยงดูบุตร สตรีมีอำนาจในการตัด สินใจเกี่ยวกับกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น นอกจากนี้ในบางครอบครัวสตรียังเป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้จ่าย เงินในครอบครัว อย่างไรก็ตามแม้สตรีจีนจะเป็นที่ยอมรับในครอบครัวมากขึ้น แต่ก็มีข้อผูกพันในสองประการ คือบุตรชายยังคงมีความสำคัญมากกว่าบุตรสาว ทั้งนี้เพราะบุตรชายจะเป็นผู้สืบทอดวงศ์ตระกูลต่อไป ในขณะที่ บุตรสาวไม่มีบทบาททางด้านนี้ ทำให้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สมบัติและการรับมรดกตกอยู่แก่บุตรชายทั้ง หมด และถึงแม้สตรีจีนจะมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในการช่วยเหลือครอบครัวเพิ่มขึ้น แต่หน้าที่ในการทำงาน บ้านก็ยังคงเป็นภาระรับผิดชอบของสตรีแต่เพียงผู้เดียว ในแง่ปัจจัยที่มีผลต่อสถานภาพของสตรี การวิจัยครั้งนี้ได้พบว่าระดับการศึกษา อายุ ระดับรุ่นอายุ การประกอบอาชีพ และรูปแบบของระบบครอบครัวและเครือญาติ ทำให้สถานภาพและบทบาทของสตรีใน ครอบครัวจีนแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจนั้นไม่พบว่าก่อให้เกิดความ แตกต่างในสถานภาพและบทบาทของสตรีในครอบครัว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกรณีศึกษาเกือบทั้งหมดมีฐานะ เศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่มีความแตกต่างกัน สตรีจีนมีทัศนคติและความคาดหวังว่าจะมีสถานภาพและบทบาทในครอบครัวเท่าเทียมกับบุรุษ สตรี ต้องการอิสระเสรีภาพทั้งในด้านความคิดเห็นและการดำเนินชีวิด สตรีต้องการให้บุรุษยอมรับในความสามารถ และตระหนักถึงความสำคัญของสตรีที่มีต่อครอบครัว นอกจากนี้สตรียังมีความคาดหวังว่าบุรุษควรที่จะช่วยงาน ในบ้านบ้างเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของสตรี เหมือนอย่างที่สตรีได้แบ่งเบาภาระทางเศรษฐกิจจากบุรุษ
Other Abstract: The purpose of this research is to study the status and role of women in everyday life in Chinese family, conditions which cause their present status and role and their expectation regarding their own status and role. Data used in this study were obtained by interview and close observation of Teachiu Chinese women who live in Pomprab Satrupai , Bangrak, Yannawa, Pranakorn and Sampanthawong Districts. Twenty families have been selected through personal network. Thirty one Teachiu Chinese women from these families were interviewed. The research suggests that younger generation of Chinese women have better status and role in the family. They have equal access to education compared with men and have right to select their own husband. They can earn their living by working outside and can go out sometimes for personal entertainment. Women have got more right for rearing children and decision making in family activity. Furthermore, in some families, women control the budget of the family. However, Chinese women are deprived of two opportunities. Firstly, Chinese parents still pay more attention to their son rather to their daughter because the son will be successor for the family but not the daughter. Therefore, the son will inherit all properties. Secondly, although Chinese women have improved their economic role to help their families, they are to be responsible for all house work. Regarding various factors which affect women's status, educational level, age, generation, occupation, family structure and kinship differentiate the status and role of women in Chinese family. It is found out that economic factor does not affect women's status in this study. This may be due to the fact that all case studies are from middle range income and therefore no variation exists. Chinese women expect to have the same status in their family as men have. They need freedom in decision making and having their own life style. They need men's recognition of their ability and their contribution to the family. Furthermore, women hope to receive men's help in the house work in order to minimize their burden.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75005
ISBN: 9745689726
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teunpit_ch_front_p.pdf917.2 kBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch1_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch2_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch3_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch4_p.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch5_p.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_ch6_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Teunpit_ch_back_p.pdf741.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.