Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75095
Title: การศึกษาเปรียบเทียบผลของวิธีวิเคราะห์ความลำเอียง ของข้อสอบทีแตกต่างกัน 4 วิธี
Other Titles: Comparative study of results from four different item bias detection approaches
Authors: สุรศักดิ์ อมรรัตน์ศักดิ์
Advisors: ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้อสอบ -- ความเที่ยง
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีความลำเอียงของข้อสอบ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง วิธีวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบ 4 วิธี และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการคัดเลือกก่อน และหลังการศึกษาความลำเอียงของข้อสอบในด้านจำนวนผู้ได้รับการคัดเลือก สัดส่วนของชาย: หญิง ที่ได้รับ การคัดเลือก และความเที่ยงของแบบสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วิธีวิเคราะห์ความลำเอียงแต่ละวิธีค้นพบจำนวนข้อที่ลำเอียงแตกต่างกัน โดยวิธีโค้งลักษณะข้อสอบที่มีพารามิเตอร์ 3 ตัวพบจำนวนข้อสอบที่ลำเอียงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน ส่วนวิธีแปลงค่าความยากของข้อสอบเป็นวิธีที่พบจำนวนข้อที่ลำเอียงน้อยที่สุด 2. วิธีวิเคราะห์ความลำเอียงทั้ง 4 วิธีมีความสัมพันธ์ในทางบวกซึ่งกันและกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของดัชนีความลำเอียงระหว่างวิธีวิเคราะห์ทั้ง 4 วิธี มีค่าสูงมาก กล่าวคือมีค่า r อยู่ระหว่าง .7535 ถึง .9921 3. วิธีคะแนนดิบกับวิธีรวมคะแนนแบบอื่น ๆ อีก 5 วิธี มีจำนวนผู้ได้รับการคัดเลือกแตกต่าง กันประมาณ 4% ถึง 24% ส่วนวิธีแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐานที่ปกติกับวิธีรวมคะแนนแบบอื่น ๆ อีก 4 วิธี มีจำนวนผู้ได้รับการคัดเลือกแตกต่างกันประมาณ 6% ถึง 23% 4. หลังจากตัดข้อสอบข้อที่มีความสำเอียงในแต่ละวิธีวิเคราะห์ออกไป พบว่าสัดส่วนของผู้สอบหญิงที่ได้รับการคัดเลือกมีค่าใกล้เคียงกับสัดส่วนของผู้สอบชาย ส่วนในเรื่องความเที่ยงของแบบสอบนั้นพบว่า ค่าความเที่ยงของแบบสอบลดลงกว่าแบบสอบเดิมเล็กน้อย
Other Abstract: The purpose of this research is to study item bias indices, the correlation coefficients of the four different item bias detection approaches and to compare the discrepancy between the results of competitive test before and after the study of item bias detection, in terms of the number of people who pass the tests, the male-female ratio of those who pass the tests, and the reliability of the tests. The results of the research are the following. 1. Each item bias detection approach detects different numbers of biased items. The Three-parameter Item Characteristic Curve method detects the largest number of biased items, followed by the Analysis of Variance. The Transformed Item Difficulty method detects the smallest number of biased items. 2. All four different item bias detection approaches have strong positive relationships with one another at .001 level of significance. The correlation coefficients (r) are between 0.7535 and 0.9921. 3. According to different scoring methods, different percentages of applicants pass the examination, the variation between using raw scores and five other scoring methods ranges from 4 to 24 per cent. In comparing normalized T-score with four other methods, the variation ranges from 6 to 23 per cent. 4. After biased items are eliminated, the proportion of women and men who pass the examination are about the same. However, the reliability of the tests are slightly lower than those of the original tests.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75095
ISBN: 9745691097
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasak_am_front_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_ch1_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_ch2_p.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_ch3_p.pdf826.14 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_ch4_p.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_ch5_p.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_am_back_p.pdf11.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.