Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75190
Title: | ปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต |
Authors: | กุลนิษฐ์ จตุรงคโชค |
Advisors: | ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suphasit.T@Chula.ac.th |
Subjects: | การลงทุนและส่งเสริมการลงทุน วิสาหกิจ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผู้ประกอบการในประเทศไทยจากร้อยละ 99 ของวิสาหกิจไทยนั้นเป็น SMEs การจ้างงาน ของ SMEs มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 82 โดยสัดส่วนของ GDP ที่มาจาก SMEs เป็นจํานวนถึงร้อยละ 42 SMEs จึงเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สําคัญที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจึงมี มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากหลายหน่วยงาน ซึ่งมีเพียงสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีการออกมาตรการพิเศษในการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตโดยให้สิทธิและประโยชน์ที่เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มาตรการที่ส่งเสริมของ กรมส่งเสริมกลับมีหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ไม่เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถได้เข้าถึงการสนับสนุนได้อย่างจริงจัง เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนศึกษา หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อจํากัดในการขอรับสิทธิและประโยชน์ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ เป็นอุปสรรคในการยื่นขอรับการสนันสนุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การยื่นขอของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตของกรมส่งเสริมการลงทุน จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ การยื่นขอรับการส่งเสริมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง และ ไม่เป็นไปตามนโยบาย ทําให้วิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถเข้ารับการสนับสนุนได้อย่าง ที่คาดหวัง เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อกําหนดการให้สิทธิและประโยชน์มีความยุ่งยากซับซ้อน และ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ตอบสนองถึงข้อจํากัดและอุปสรรคของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต่างกัน เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการยื่นขอรับการส่งเสริม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขโดยให้มีการแยกหลักเกณฑ์การ พิจารณาสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยลดหย่อนในการ จัดทําตัวชี้วัด ยกเว้นการจัดทําข้อมูลสนับสนุนเชิงเทคนิค และลดหย่อนหลักเกณฑ์การลงทุน เครื่องจักรที่เป็นอัตโนมัติบางส่วนได้ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการสนับสนุนอ ย่างจริงจังและเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยได้เติบโตเพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75190 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.126 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2019.126 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186153334.pdf | 855.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.